magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by ratana (Page 3)
formats

5 อ.ชะลอวัย

อาการไม่สดชื่น หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยตามร่างกาย นอนไม่ค่อยหลับ ฯลฯ ในการทางการแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย หรือ Anti-Aging Medicine เรียกอาการนี้ว่า ร่างกายเริ่มเกิดความเสื่อมเราสามารถชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ โดยทำได้ง่ายๆ แบบ 5 อ. อากาศ : ให้อยู่ในที่ที่อากาศบริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงมลภาวะมลพิษต่างๆ ทั้งรังสี UVA และ UVB ในแสงแดด ควันบุหรี่ รวมทั้งหาเวลาไปพักผ่อนสูดอากาศบริสุทธิ์นอกเมือง อาหาร : กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งและไขมันสูง ออกกำลังกาย : การออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพดี และแลดูอ่อนกว่าวัยอีกด้วย ควรจัดสรรเวลาออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ 150 นาที อารมณ์ : หัวเราะวันละนิดจิตแจ่มใส เป็นคำที่ใช้ได้ทุกๆ สมัย ถ้ามีความเครียด ปรับวิธีคิดหามุมบวก นั่งสมาธิ จะช่วยปรับคลื่นในสมองได้หลับสนิท และหาเวลานั่งสมาธิวันละ 5 นาที แอนไท – เอจจิ้ง : การแพทย์แนวรุกมุ่งเน้นการฟื้นฟูรักษาภาวะเสื่อมของอวัยวะต่างๆ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องพิมพ์แบบ 3-D ยังมุ่งเน้นกลุ่มผู้บริโภคที่ซื้อเพื่อเป็นของเล่นมากกว่าเพื่อการใช้ในโรงงาน

การใช้งานอย่างมากในเครื่องพิมพ์แบบ high-end 3 D เพื่อการผลิตต้นแบบออกมาและสามารถปรับปรุงชิ้นส่วนได้ตามที่ต้องการ แต่สิ่งที่ผู้ผลิตยังวิตกก็คือ การแสวงหาตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และภาวะเศรษฐกิจขาลงจะทำให้ผู้บริโภคหยุดการซื้อและเน้นในสิ่งที่เขาต้องการเท่านั้น สิ่งที่เป็นตัวจุดประกายความคิดคือ จำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ที่สามารถซื้อเครื่องพิมพ์แบบ 3-D ได้ โมเดลเครื่องพิมพ์ที่ต่างกันจำนวน 15 โมเดล  ได้บอกว่า นี่เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งต่อไปเลยทีเดียว สำหรับเครื่องพิมพ์ 3-D สำหรับผู้บริโภคธรรมดา มีโมเดลง่ายๆ ที่เรียกว่าโมเดลแบบ fused deposition คือการขึ้นรูปชิ้นงานแบบหลอมละลายเส้นพลาสติกแล้วฉีดผ่านหัวฉีด (Nozzle) และสร้างชิ้นงานที่ละชั้นโดยสามารถเลือกวัสดุที่เป็นเทอร์โมพลาสติกได้หลากหลาย เช่น ABS, PC, PPSF ชิ้นงานที่ได้มีความแข็งแรงสูงทนต่อความชื้นและความร้อนในสภาพการใช้งานทั่วไปได้ดี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/12514-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมิถุนายน2556. ค้นข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การบูรณาการความร่วมมือวิจัยเพื่อปรับปรุงฉคุณภาพผลไม้ฉายรังสีส่งออก

สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และสำนักงานที่ปรึกษาการ เกษตรต่างประเทศ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จับมือกับ U.S. Pacific Basin Agricultural Research Center กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) จัดการประชุมหารือเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผลไม้ไทยฉายรังสีส่งออก ระหว่างวันที่ 7-13 พฤษภาคม 2556 ณ ห้องประชุมกรมวิชาการเกษตร  ได้โจทย์การวิจัยและการทำแบบจำลองเพื่อแก้ปัญหาคุณผลไม้ฉายรังสีส่งออกที่พร้อมจะขับเคลื่อน ผลจาการประชุมดังกล่าว ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการนำปัญหาและโจทย์การวิจัยไปจัดทำโครงการวิจัยเพื่อรับทุนสนับสนุนและจัดทำโมเดล จำลองส่งออกในผลไม้ฉายรังสี เพื่อปรับปรุงคุณภาพผลไม้ฉายรังสี ส่งออกให้ดีขึ้น โดยความร่วมมือกับ U.S. Pacific Basin Agricultural Research Center อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/12514-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมิถุนายน2556. ค้นข้อมูลวันที่ 14

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แบตเตอรี่ที่มีความยืดหยุ่น

การใช้แบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จใหม่ได้จะก้าวหน้าไปอย่างไรหากแบตเตอรี่ดังกล่าวมีลักษณะที่บางเบา สามารถโค้งงอ ยืด และม้วนได้หรือแม้แต่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เปี่ยมไปด้วยพลังงาน และปลอดภัย แบตเตอรี่ที่มีความยืดหยุ่นสูงดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถออกแบบโดยไม่มีขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ที่สามารถพับเก็บในกระเป๋ากางเกงได้ แผ่นนำส่งยา (Drug delivery patches) ที่สามารถควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถยืดและติดได้ตามลักษณะสรีระของแขน ดังนั้น สินค้าต่างๆจะสามารถออกแบบให้เหมาะสมต่อการใช้งานได้ โดยมีความบางเบาแต่ยังสามารถรักษาความปลอดภัย และอาจจะสามารถนำไปช่วยพัฒนาการสร้างยานพาหนะไฟฟ้าและนวัตกรรมอื่นๆ ได้ในอนาคต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/12514-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมิถุนายน2556. ค้นข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มองโลกผ่านดวงตาของแมลง

การนำเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ไปใช้ในการผลิตเครื่องตรวจจับภาพที่มีลักษณะเหมือนดวงตาของแมลง เครื่องมือนี้จะเปิดทางไปสู่การผลิตเครื่องบินสำรวจขนาดจิ๋ว โดยทั่วไปแล้ว แมลงวันเป็นสัตว์ที่มนุษย์รังเกียจเพราะแมลงวันเป็นสัตว์นำโรคและก่อให้เกิดความรำคาญ แต่ในขณะเดียวกันแมลงวันก็ได้สร้างแรงบันดาลใจหลายๆ อย่างให้แก่มนุษย์ เมื่อ Rene’ Descartes ได้แรงบันดาลใจจากแมลงวัน ที่ไต่อยู่บนเพดานในการคิดค้นระบบพิกัดคาร์ทีเซียน (Cartesian coordinates) ซึ่งเป็นระบบทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยให้ผู้คำนวณสามารถนำเอาพีชคณิตไปประยุกต์ใช้ในเรขาคณิตได้ งานวิจัยชิ้นล่าสุดที่ได้แรงบันดาลใจจากแมลงชนิดนี้คืองานวิจัยของ Young Min Song และคณะวิจัยซึ่งเกี่ยวกับการนำเอารูปแบบ “ตารวม” (compound eyes) ของแมลงมาใช้ในกล้องดิจิทัล อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/12514-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมิถุนายน2556. ค้นข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผลงานสร้างสรรค์จากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ

การพิมพ์ 3 มิติ สามารถพิมพ์วัตถุออกมาได้โดยการสร้างหรือปูวัสดุที่ใช้ในการผลิตเป็นชั้นบางๆ หลายชั้นทับซ้อนกัน ชั้นวัสดุบางๆ จะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นตามรูปทรงที่ได้ออกแบบไว้ จนกลายเป็นวัตถุตามที่ต้องการ เครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติเพื่อ การพาณิชย์ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 โดย Charles Hull และมีชื่อว่า Stereolithographic 3-D printer ซึ่งเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ยังมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน หลังจากนั้น เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ก็มีการพัฒนา โดยปัจจุบันมีวิธีการพิมพ์ 3 มิติหลากหลายวิธี โดยมีรายละเอียดของเทคนิคการสร้างวัตถุที่แตกต่างกันไป  แม้ว่าผู้บริโภคที่สนใจจะสามารถซื้อหาเครื่องพิมพ์ 3 มิติไปใช้ ที่บ้านได้แล้ว แต่เครื่องพิมพ์ 3 มิติส่วนใหญ่ในปัจจุบันถูกใช้เพื่อพิมพ์วัสดุต้นแบบหรือสร้างแม่พิมพ์ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการผลิตจริง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติกำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ของเรามากขึ้นในทุกๆ วัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/12514-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Deep Learning

ด้วยความสามารถทางการคำนวณที่สูงขึ้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถจดจำวัตถุและแปลภาษาได้โดยทันทีเทคโนโลยี สาขาปัญญาประดิษฐ์กำลังฉลาดมากขึ้นในทุกวัน Ray Kurzweil นักเขียน นักประดิษฐ์ และนักอนาคตศาสตร์ชาวอเมริกัน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Google Kurzweil สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลขนาดใหญ่และความสามารถในการคำนวน (computing power) ของ Google ได้ ซึ่งเขาสามารถนำไปใช้ในโครงการวิจัยของเขาซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อพัฒนาความฉลาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้และเข้าใจ ภาษาธรรมชาติและสามารถทำการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง วิธีการฝึกฝนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสาขาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) นี้ เรียกว่า “Deep-learning” เทคนิค Deep-learning ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นเพื่อลอกเลียนการทำงานของระบบประสาทในสมองชั้นนอก (Neocortex) ซึ่งเป็นสมองส่วนหลักหรือร้อยละ 80 ของสมองที่ใช้ในการคิด โปรแกรมนี้จะเรียนรู้เพื่อจดจำเสียง ภาพ และข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/12514-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมิถุนายน2556. ค้นข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– (

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิธีการผลิตแบบ Additive

GE บริษัทผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังพัฒนาการผลิตแบบการพิมพ์ 3 มิติเพื่อการผลิตเครื่องบินเจ็ท บริษัท General Electric (GE) กำลังปฏิรูปการผลิตชิ้นส่วนครั้งใหญ่ โดยแผนกผลิตอุปกรณ์เครื่องบินของ GE ซึ่งเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุด ในตลาดเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินเจ็ทกำลังเตรียมการผลิตหัวจ่ายน้ำมันสำหรับเครื่องจักรของเครื่องบินรุ่นใหม่ โดยใช้วิธีการพิมพ์ชิ้นส่วนด้วยเลเซอร์แทนการผลิตด้วยการหล่อและเชื่อมโลหะ วิธีการใหม่นี้มีชื่อว่าการผลิตแบบ additive (ซึ่งเป็นการผลิตวัตถุโดยการเพิ่มชั้นโลหะบางๆ ทีละชั้น) ซึ่งวิธีการนี้อาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนอื่นๆ ต่อไป GE และ CFM International บริษัทร่วมลงทุนของ GE จะใช้หัวจ่ายน้ำมันที่ผลิตจากการพิมพ์ 3 มิติในเครื่องจักรของเครื่องบินเจ็ท LEAP ซึ่งจะเริ่มใช้งานในปลายปี พ.ศ. 2558 หรือต้นปี พ.ศ. 2559 โดยเครื่องยนต์หนึ่งตัวจะใช้หัวจ่ายน้ำมัน 10 – 20 ตัว ดังนั้น GE จึงต้องผลิตหัวจ่ายจำนวน 25,000 หัวต่อปี ในช่วงเวลา 3 ปี การผลิตแบบ Additive เป็นการผลิตด้วยวิธีการพิมพ์แบบสามมิติ ในระดับโรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าในปัจจุบัน วิธีการผลิตนี้ถูกใช้ในการผลิตชิ้นส่วนบางอย่าง เช่น อวัยวะเทียมและชิ้นส่วนต้นแบบ ในวงการวิศวกรรมและการออกแบบ แต่การนำเอาวิธีการผลิตนี้มาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนโลหะที่ใช้ในเครื่องยนต์ของเครื่องบินเจ็ทหลาย

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โครงการวิจัยด้านสมอง

โอบามาประกาศความตั้งใจในการพัฒนาเครื่องมือใหม่เพื่อการศึกษาวงจรประสาท การวิจัยด้านสมองกำลังเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้นในสหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ประกาศให้การสนับสนุนในการพัฒนาเครื่องมือขั้นสูงในการศึกษาการทำงานของสมองของมนุษย์ในเดือนเมษายน 2556 โดยการวิจัยด้านสมองจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Advancing Innovative Neuro-technology และมีงบประมาณ สนับสนุนถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีงบประมาณปี 2014 การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการวิจัยทางสมองแบ่งเป็นสามประเภท คือ การสร้างเครื่องมือในการตรวจวัดการทำงานของเซลล์ประสาททั้งหมดในวงจร  การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นเซลล์ประสาทเพื่อวัตถุประสงค์ในการทดลอง และการพัฒนาเครื่องมือเพื่อจัดเก็บ วิเคราะห์ และการเปิดให้ข้อมูลต่างๆ สามารถเข้าถึงได้สำหรับนักวิจัยทั้งหมด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1186—-62556 ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมิถุนายน2556. ค้นข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204  – ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ลักษณะขององค์กรที่บริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธื์

ลักษณะขององค์กรที่บริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธื์ มีพันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์กรที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยเน้นที่ผลผลิต และผลลัพธ์ ไม่เน้นกิจกรรรม หรือการทำงานตามกฎระเบียบ ผู้บริหารทุกระดับในองค์กรต่างมีเป้าหมายของการทำงานที่ชัดเจน และเป้าหมายเหล่านั้นสั้น กระชับ ไม่คลุมเครือ สามารถวัดเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถติดตามผลการปฎิบัติงานได้ การตัดสินใจจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานหรือโครงการต่างๆ พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก เจ้าหน้าที่ทุกคนตระหนักความดาดหวังขององค์กรและรู้ว่าผลงานที่เกิดขึ้นจะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ และทุกคนรู้สึกรับผิดชอบต่อผลงานของตน มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ การบริหารเงิน บริหารคน สู่หน่วยงานระดับล่าง เพื่อให้สามารถทำงานบรรลุผลได้อย่างเหมาะสม มีระบบสนับสุนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ อาทิ การมีระเบียบที่สั้นกระชับในเรื่องที่จำเป็นเท่านั้น มีระบบ IT สนับสนุนการทำงานให้รวดเร้ว มีวัฒนธรรมและอุดมการณ์ร่วมกันเพื่อทำงานที่สร้างสรรค์ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานมีขวัญกำลังใจดี เพราะได้การตอบแทนผลการประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของงาน รายการอ้างอิง: สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2556. “วิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับห้องสมุดยุคดิจิทัล”.  เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การพัฒนาบุคลากรงานบริการห้องสมุดและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง ห้องสมุด. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.– ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments