magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by ratana (Page 4)
formats

การให้บริการสู่ความเป็นเลิศ

“คำว่า” Services” แยกอักษรออกเป็นความหมายดังนี้ S = Smile           แปลว่า  ยิ้มแย้ม E = enthusiasm   แปลว่า  ความกระตืนรือร้น R = rapidness     แปลว่า  ความรวดเร็ว ครบถ้วน มีคุณภาพ V= value            แปลว่า  มีคุณค่า I = impression    แปลว่า  ความประทับใจ C= courtesy        แปลว่า  มีความสุขภาพอ่อนโยน E =  endurance    แปลว่า  ความอดทน เก็บอารมณ์ S = Satisfaction   แปลว่า  ความพึงพอใจ ข้อคิดในการให้บริการสู่ความเป็นเลิศ ต้องสนใจและใส่ใจความต้องการของผู้ใช้บริการ ต้องสร้างสิ่งดี แปลกและแตกต่างให้ดีขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ต้องป้องกันปัญหาขาดตกบกพร่องจากการให้บริการ ต้องใช้กริยา

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บักทึกปกขาวทีวีรักษ์โลก

งานมหกรรม “ทีวีรักษ์โลก 360 องศา Save the world EXPO 2013” ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2556 ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี  ภายใต้แนวคิด  “Learn to live in the world of change” เพื่อให้ประชาชนคนไทยเรียนรู้ถึงวิกฤตการด้านสิ่งแวดล้อมเข้าใจว่าปัญหาเกิดจากเหตุปัจจัยใดบ้างและสามารถทำได้ คือนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการและยั่งยืน เพื่อเป็นสัญลักษณ์การขับเคลื่อนสังคมและประเทศ ในการหาแนวทางการอยู่รอดของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน บันทึกทีวีรักษ์โลก 360 องศา เพื่อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติในงานทีวีรักษ์โลก 360 องศา แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ คือ มนุษย์ สร้างและรักษาสมดุลธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กำหนดเป้าหมายเพิ่มปริมาณน้ำ ในกฎหมาย ลดใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดผังเมืองคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างระบบการขนส่งสาธารณพื้นฐาน และรณรงค์ให้ประชาชนใช้ ส่งเสริมการใช้ดัชนีความสุข ควบคู่ไปกับดัชนีรายได้มวลรวมผลผลิตประชาชาติ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)

การสัมมนา เรื่อง ความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น โรคอาหารเป็นพิษจากจุลินทรีย์ก่อโรคและอันตรายทางเคมี เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขสำาคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของประชาชน และเป็นอุปสรรคสำาหรับการค้าอาหารระหว่างประเทศที่ทำาให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้น ระบบความปลอดภัยของอาหารที่มีประสิทธิภาพจึงจัดว่าเป็นเรื่องที่สำาคัญและเป็นประเด็นท้าทายสำาหรับทั้งผู้ผลิต และหน่วยงานรัฐที่ดูแลความปลอดภัยอาหาร ความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งของการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของประชาคมอาเซียน และเป็นการเร่งให้เกิดโอกาสขนาดใหญ่ต่ออุตสาหกรรมอาหารของไทยเป็นอย่างยิ่งโดยสินค้าอาหารของอาเซียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลกอาเซียนจึงเน้นความสำาคัญเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยของอาหารรวมถึงการจัดทำาระบบการรับรองสินค้าอาหารและเกษตรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างระบบและกระบวนการในการควบคุมคุณภาพของอาหารและมีความปลอดภัยมากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน วิทยากรประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) – ( 563 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เสียหาย

การสัมมนา เรื่อง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เสียหายวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น ปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยกำลังถูกคุกคามอย่างมาก ทั้งผลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้เร่งฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมและเสียหายให้กลับคืนมา โดยความร่วมมือจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเทคโนโลยีและนำไปใช้ให้อย่างเป็นรูปธรรม วิทยากรประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐ จากการบรรยายในครั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้นำแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูมาใช้แก้ปัญหามาใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น การฟื้นฟูป่าโดยการโปรยเมล็ดจากอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดจิ๋ว (Micro-UAV) การส่งเสริมการปลูกป่า การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การใช้เทคโนโลยีในการติดตามสภาวะของสิ่งแวดล้อมช่วยให้ได้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง – ( 89 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Information Literacy ในมิติของอาเซียน

การสัมมนา เรื่อง Information Literacy ในมิติของอาเซียน วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น Information Literacy ในมิติของอาเซียน ใประกอบด้วย 2 หัวข้อ คือ  การรู้สารสนเทศ :แนวคิด การศึกษา และวิจัยในประเทศไทย และกลุ่มประชาคมอาเซียนโดย ศ.ดร.ชุติมา สัจจานันท์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  การรู้สารสนเทศในยุคดิจิทัล : นโยบายและมุมมองในมิติเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย ดร. กษิติธร ภูภราดัย สวทช. วิทยากรทั้งสองท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนี้เป็นอย่างมาก – ( 709 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้รับการสถาปนาขึ้นตามพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พุทธศักราช 2540 ให้เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีระบบบริหารงานเป็นอิสระอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พันธกิจสำคัญคือ การพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดไปสู่กิจกรรมการวัดต่างๆ ในประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาแก่สังคมไทย  โดยมีวัตถุประสงค์ หน่วยวัดของชาติได้รับการสถาปนาและพัฒนาให้เพียงพอตามความต้องการของผู้ใช้บริการในประเทศ และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ บุคคลากรด้านมาตรวิทยาได้รับการพัฒนา และสามารถปฏิบัติภาระหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นองค์กรหลักในการประสานความร่วมมือด้านมาตรวิทยาของชาติทั้งในและต่างประเทศ ส่งเสริมความเข้มแข็งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ทดสอบ และสอบเทียบระดับทุติยภูมิให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและจำนวนที่พอเพียงต่อ ความต้องการของประเทศ กิจกรรมการวัดต่างๆในประเทศมีความถูกต้องเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ กลุ่ม เป้าหมายผู้ใช้บริการมาตรวิทยาอันได้แก่ กลุ่มบุคคลผู้อยู่ในระบบงาน กลุ่มบุคคลผู้จะเข้าสู่ระบบงานในอนาคต และกลุ่มบุคคลทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของระบบมาตรวิทยา เพื่อให้สังคมไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กลุ่มเป้าหมายภาคอุตสาหกรรมได้รับการสนับสนุนในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานให้มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดการค้าโลกสูงขึ้น รัฐบาลสามารถใช้มาตรวิทยาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nimt.or.th แหล่งที่มา: สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.nimt.or.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 29 มีนาคม 2556)– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ทนน้ำท่วมฉับพลัน “กข51”

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

กรมการข้าวได้ประกาศรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ “กข51” ทนน้ำท่วมฉับพลันซึ่งเป็นข้าวพันธุ์แรกที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกและได้รับการรับรองพันธุ์ ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ “กข51” เป็นข้าวที่ได้จากการพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ105 ให้มีลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. โดยไบโอเทคร่วมกับ สํานักวิจัยและพัฒนาข้าวกรมการข้าว โดยได้นําข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 ผสมพันธุ์กับข้าวสายพันธุ์ IR49830-7-1-2-2 ซึ่งมีคุณสมบัติทนน้าท่วมฉับพลัน ข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ “กข51” ถือเป็นหนึ่งในความสําเร็จในโครงการ “การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสวทช. โดยไบโอเทคและกรมการข้าว ที่ดําเนินการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตต้านทานโรคและแมลง ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม แต่ยังคงคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์เดิม ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-digital-content ที่มา : BIOTEC Newsletter. 1-15 มีนาคม 2556– ( 98 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานกลางด้านการกำกับดูแล เฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ ตลอดจนเสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมทั้งบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเกิดความปลอดภัยสูงสุด ทั้งกับตัวผู้ใช้และประชาชนทั่วไปเป็นสำคัญ  พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหนึ่งในองค์กรกำกับการใช้พลังงานปรมาณูที่เป็นเลิศในอาเซียน (To be one of the excellent nuclear regulatory bodies in ASEAN) พันธกิจของหน่วยงาน พัฒนากฎหมาย และเสนอแนะนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณู เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม กำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้พลังงานปรมาณูให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เสริมสร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็งในการวิจัยและพัฒนาด้านกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู ประสานงาน และดำเนินการด้านพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศด้านพลังงานปรมาณู เผยแพร่ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยจากการใช้พลังงานงานปรมาณูให้แก่ประชาชน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.oaep.go.th แหล่งที่มา: สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : //www.oaep.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2556).– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กรมวิทยาศาสตร์บริการ

กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศโดยเริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2434 จากการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. 2545 กรมวิทยาศาสตร์บริการอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นองค์กรเชี่ยวชาญและแหล่งอ้างอิงทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการของอาเซียน  บริการด้านการวิเคราะห์ทดสอบในระดับเชี่ยวชาญของประเทศ วิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะด้านการทดสอบที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยการบริหารจัดการเชิงรุกแบบบูรณาการภายใต้ระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี บริการต่างๆ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ บริการวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ การให้บริการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ทดสอบความชำนาญห้องปฎิบัติการทดสอบและสอบเทียบ บริการสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dss.go.th แหล่งที่มา: กรมวิทยาศาสตร์บริการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : //www.dss.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2556).– ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มหัศจรรย์คุณค่าจากผลไม้ไทย

มาบริโภคผลไม้กันเถอะ ประเทศไทยมีผลไม้หลากหลาย ผลไม้ไม่เพียงแต่อร่อย และยังมีคุณค่าต่อสุขภาพ ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้จัดทำกรอบการงานวิจัย 2 แนวทางคือ วิเคราะห์สารที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น คาโรทินอยด์ เฟลโวนอยด์ แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผลไม้มีสี และสารพวก dietary fiber ศึกษาผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการป้องกันโรคในผู้สูงอายุเช่น โรคหลอดเลือกอุดตัรน ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยความจำ ข้อมูลการวิจัยชี้ให้เห็นประโยชน์ของผลไม้ไทย ควรที่จะหันมาบริโภคผลไม้กันเถอะเพื่อสุขภาพที่ดี ประโยชน์ของผลไม้ไทยทีมีต่อสุขภาพ กล้วย…ช่วยเพิ่มไขมันดีในเลือด ทุเรียน..ลดไขมันในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน (ไม่ควรรับประทานทุเรียนร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์) ฝรั่ง..ลดเสี่ยงต่อหลอดเลือดอุดตัน – ( 107 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments