ปลูกพืชผักใน “โรงเรือน” ให้ได้คุณภาพ ได้ราคา

ปลูกพืชผักใน “โรงเรือน” ให้ได้คุณภาพ ได้ราคา

ดาวน์โหลดเอกสารปลูกพืชผักใน “โรงเรือน” ให้ได้คุณภาพ ได้ราคา ดาวน์โหลดแบบแปลนโรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ขนาด 6×24 เมตร สูง 4.8 เมตร  ชุดสื่อวิดีโอความรู้ “เทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืช”  ข้อควรรู้! พลาสติกโรงเรือน UV7% หมายถึง มีส่วนผสมของสารเพิ่มความทนทานต่อ UV ในเนื้อพลาสติก 7% พลาสติกโรงเรือนที่ผสมสารเพิ่มความทนทานต่อ UV มากกว่า จะทนทานต่อแสงแดดได้ยาวนานกว่า ทำให้พลาสติกทนทาน ใช้งานกลางแจ้งได้นาน ดังเช่น พลาสติกโรงเรือน UV7% เมื่อเทียบกับพลาสติกโรงเรือน UV3%    ตาข่ายกันแมลง ขนาดตาถี่มาก มีผลต่อการระบายอากาศและความชื้น ข้อควรคำนึง!  กรณีโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ ควรเลือกไม้ไผ่ที่รองรับน้ำหนักเหล็กได้และเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น

ชุดเทคโนโลยี สวทช. ที่บ้านหนองมัง

การเติบโตอย่างเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง บ้านหนองมัง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิต สร้างรายได้ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้สมาชิก ผลผลิตของกลุ่มฯ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคทั้งในและนอกพื้นที่ และยังจัดส่งผลผลิตให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในกรุงเทพฯ กลุ่มฯ จัดทำกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม หรือ PGS (Participatory Guarantee System) ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) และมีทายาทเกษตรกรและนักการตลาดรุ่นใหม่ที่บ่มเพาะความรู้เพื่อต่อยอดการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มฯ ให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน ชุดเทคโนโลยีที่ สวทช. ได้สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์โนนกลาง บ้านหนองมัง ได้แก่ โรงเรือนพลาสติกเพื่อการผลิตพืชผักคุณภาพ โครงสร้างโรงเรือน ออกแบบให้มี 2 ชั้น เพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทอากาศ เมื่ออุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงขึ้น อากาศลอยตัวออกทางช่องลมระหว่างหลังคาทั้ง 2 ชั้น ระบบบริหารจัดการโรงเรือน ดิน หัวใจของการปลูกพืช

วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง

วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง

สวทช. ทำงานในพื้นที่บ้านหนองมัง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี มาตั้งแต่ปี 2549 โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตการทำเกษตร โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมุ่งมั่นเปลี่ยนแนวทางการทำเกษตรจากเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ สวทช. ได้เติมเต็มความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมถ่ายทอดสู่เกษตรกร เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเกิด “ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง” ที่เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านเกษตรอินทรีย์จากผู้สนใจทั่วประเทศ สื่อประชาสัมพันธ์ > ข้อมูลสรุป: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง: ปลูกผักด้วยความรู้ผสานภูมิปัญญา > บทความ: พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ > บทความ: สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ > บทความ: ชุดเทคโนโลยี สวทช. ที่บ้านหนองมัง > บทความ: “เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” อีกย่างก้าวของ

พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ

พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ

ธรรมชาติของการรวมกลุ่มก่อเกิดจากคนที่มีความคิดอ่านคล้ายกัน ยอมรับในข้อกำหนดหรือแนวทางที่ตกลงร่วมกัน เช่นเดียวกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ที่หลอมรวมขึ้นจากสมาชิกผู้มุ่งมั่นทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี มีเจตจำนงแน่วแน่ในการลดใช้สารเคมี ปฏิเสธสารสังเคราะห์ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งผู้ผลิตผู้บริโภค สร้างระบบนิเวศที่สมดุล ควบคู่กับการสร้างอาชีพที่มั่นคง และเป็นแบบอย่างการเรียนรู้แก่ผู้สนใจ กว่าสมาชิกจาก 14 ครัวเรือนจะฝังรากบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ได้ แทบทุกคนเคยผ่านการทำเกษตรเคมีมาแล้ว บางคนต้องล้มป่วยเพราะผลจากการใช้สารเคมีอย่างหนักจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด ดังเช่น สุรทอน เหมือนมาต “ตอนทำเกษตรเคมีลงทุนเยอะ ทั้งทุน ทั้งสุขภาพ ทำไปทำมาไม่คุ้ม ตอนแรกดินยังดี แต่พอ 5 ปีขึ้นไปดินเริ่มเสีย พืชเริ่มเป็นโรค ยิ่งใช้สารเคมีหนัก จนมีอาการเหมือนมีลมดันในจมูกขึ้นไปสมอง หายใจไม่อิ่ม นอนก็ไม่อิ่ม ไม่เหมือนทำเกษตรอินทรีย์ใช้ลูกเก็บผักได้เพราะรู้ว่าปลอดภัย” ถวัลย์ ถีระทัน เป็นอีกคนที่ “เคยสนุกกับการทำเคมีและไม่รู้สึกว่าเป็นคนนำสารพิษมาให้ภรรยาและลูก” กระทั่งภรรยาแพ้สารเคมีอย่างหนักจนเข้าออกโรงพยาบาลประจำ จึงทดลองปลูกผักอินทรีย์ตามคำเชิญชวนของ ปิยะทัศน์ ทัศนิยม ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง หลังจากปลูกผักอินทรีย์ขายได้ 2 ปี ถวัลย์มีรายได้มากกว่าอาชีพขายเสื้อผ้าเร่ที่ทำอยู่เดิม แถมได้สุขภาพที่แข็งแรงของภรรยากลับมา

สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน

สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน

“เริ่มแรกเลยเราทำนาอินทรีย์ซึ่งทำยาก คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ท้อ ได้แต่บอกว่าให้ทำต่อ อดทน ทำนาอินทรีย์มันยากแต่เราได้บุญ ทำผักอินทรีย์ ผักที่ไม่มียา มันก็ได้บุญ” คือที่มาที่ไปของชื่อ “สวนปันบุญ” แห่งบ้านดอนแคน ต.ฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ แหล่งผลิตข้าวและผักอินทรีย์ซึ่งคนปลูกเชื่อมั่นว่าคือสิ่งดีๆ ที่อยากแบ่งปันนับตั้งแต่ก้าวแรกของการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญตั้งแต่ปลายปี 2555 ก่อนหน้านี้ชาวบ้านคุ้นชินกับการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาจนล้มป่วยด้วยโรคผิวหนัง สะเก็ดเงิน และโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดัน และมะเร็งซึ่งคร่าชีวิตคนในหมู่บ้านไปทีละน้อย กลายเป็นคำถามที่ สุจารี ธนสิริธนากร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ต้องการหาทางออกเพื่อเป็นทางเลือกทางรอดให้ชาวบ้านนับตั้งแต่ตัดสินใจลาออกจากการทำงานในกรุงเทพฯ เธอลงมือค้นหาคำตอบผ่านการทำงานวิจัยไทบ้านร่วมกับคู่ชีวิตและชาวบ้านที่สนใจ คำตอบที่ได้ในวันนั้น คือ การกลับมาทำนาแบบโบราณ หรือ การทำเกษตรอินทรีย์ เลิกการใช้สารเคมีโดยสิ้นเชิง แม้ทุกคนจะรู้ว่าดี แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรม สุจารี ยอมสละที่นาตัวเองให้เพื่อนสมาชิกทดลองปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี

ใช้เป็น ใช้จริง ใช้ “โรงเรือนพลาสติกปลูกพืช” อย่างมีความรู้

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ

“โรงเรือนปลูกพืช” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการเกษตรที่เกษตรกรให้ความสนใจมากขึ้น ด้วยตอบโจทย์ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ซึ่งรูปแบบโรงเรือนปลูกพืชมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดพืชและเงินทุนของเกษตรกร วิรัตน์  โปร่งจิต ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักสดและผลไม้แปรรูปบ้านหนองทราย อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา หนึ่งในเกษตรกรที่เห็นความสำคัญของการใช้โรงเรือนปลูกพืช ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกกว่า 3 ไร่ของเขา ติดตั้งโรงเรือนปลูกพืช 5 หลัง โดยเป็น “โรงเรือนพลาสติกเพื่อการผลิตพืชผักคุณภาพ” ของ สวทช. ถึง 4 หลัง สร้างรายได้จากการปลูกผักต่อเดือน 30,000-40,000 บาท/เดือน จากเดิมที่ได้ไม่ถึง 20,000 บาท/เดือน “แต่ก่อนไม่มีโรงเรือน ปลูกผักหน้าฝนไม่ค่อยได้ผลผลิต อย่างผักบุ้งเจอโรคราสนิม แต่พอปลูกในโรงเรือน ไม่เจอปัญหาและยังได้ราคาดีด้วย” โรงเรือนปลูกพืชหลังแรกของวิรัตน์เป็นโรงเรือนทรงหลังคาฟันเลื่อย หรือที่เรียกว่า หลังคา ก.ไก่ ซึ่งได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่น

โรงเรือนปลูกพืช

โรงเรือนปลูกพืช

จากสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอนของฤดูกาล ภัยธรรมชาติและการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช การนำ “เทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืช” มาปรับใช้ จึงเป็นทางเลือกที่ได้รับการตอบรับมากขึ้น เพราะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยได้ง่าย ลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช อีกทั้งยังวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นยำและได้ผลผลิตตามแผน ซึ่งเทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืชมีหลายรูปแบบ การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับงบประมาณ สภาพแวดล้อม และความรู้ของผู้ใช้ สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี “โรงเรือนพลาสติกเพือ่การผลิตพืชผักคุณภาพ” ที่พัฒนาโดย สวทช.  เป็นรูปแบบโรงเรือนสองชั้น ออกแบบโดยใช้หลักการลอยตัวของอากาศ เมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น จะไหลออกช่องระหว่างหลังคาล่างและหลังคาบนได้ทั้งซ้ายและขวา และดึงอากาศเย็นภายนอกเข้ามาแทนที่ภายในโรงเรือน เกิดการไหลเวียนอากาศแบบธรรมชาติ (natural flow) อีกทั้งการกระจายแสงที่ครอบคลุมทุกจุดในโรงเรือนพลาสติก ทำให้พืชได้รับแสงอย่างทั่วถึง ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงและการสร้างอาหารของพืช ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพภายใต้ระยะเวลาการเพาะปลูกที่สั้นลง นอกจากรูปแบบโรงเรือนของ สวทช. แล้ว สท. ยังได้สนับสนุนความรู้การใช้ “โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ” สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้การปลูกผัก ต้องการปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน