ดาวน์โหลดกำหนดการ
ตลาดนำการผลิต
นอกจากบทบาทการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลสู่เกษตรกรแล้ว การเชื่อมโยงภาคการผลิตสู่การตลาด เป็นอีกบทบาทที่สำคัญของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ที่จะตอบโจทย์เกษตรกร “ปลูกแล้วขายใคร” ขณะที่ตลาดต้องการ “ผลผลิตคุณภาพ มีของส่งสม่ำเสมอ” “ตลาดนำการผลิต” (Inclusive Innovation) เป็นกลไกการทำงานที่ สท. เชื่อมโยงภาคการผลิตสู่การตลาด โดยบูรณาการความร่วมมือแบบจตุภาคีจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาสังคม สร้างการเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิการผลิตให้เกษตรกรและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการของตลาด การดำเนินงานที่ผ่านมา สท. ได้ใช้กลไกตลาดนำการผลิตเชื่อมโยงกลุ่มเกษตรกรกับบริษัทเอกชนผู้รับซื้อ/แปรรูป โดยมีกระบวนการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อทำให้เกิดผลผลิตที่ตอบโจทย์ตลาด ขณะที่เกษตรกรพอใจกับราคารับซื้อและรายได้ที่จะเพิ่มขึ้น ดังตัวอย่างการดำเนินงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิตในมันสำปะหลังและถั่วเขียว เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ (หนังสือ ‘นวัตกรรม’ ขับเคลื่อนเกษตรและชุมชน) ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’ (หนังสือ
โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก CTAP
ผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดจากสมุนไพรพื้นบ้าน (นักวิจัย: น.ส.นริศา เหละดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์สเต็กเนื้อโคขุนโพนยางคำพร้อมปรุง (นักวิจัย: น.ส.วลัยพร เหมโส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) เทคโนโลยีเตาชีวมวลเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก้อนเชื้อเห็ด (นักวิจัย: ดร.บริสุทธิ์ จันทรวงศ์ไพศาล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจำหน่ายผักอินทรีย์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนอย่างยั่งยืน (นักวิจัย: ดร.อภิญญา วิสุทธิอมรกุล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) การยกระดับการผลิตโคเนื้อต้นน้ำของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง จ.อุบลราชธานี (นักวิจัย: ผศ.กฤษฎา บูรณารมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี)
สถานีเรียนรู้ (Training Hub)
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสถาบันการศึกษาในแต่ละภูมิภาคของประเทศ พัฒนาสถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร (Training Hub) โดยบูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญของบุคลากรของ สวทช. และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชนผ่านหลักสูตรการอบรมและกิจกรรม ณ สถานีเรียนรู้แต่ละแห่ง นอกจากนี้ สท. ยังได้พัฒนาจุดเรียนรู้ระดับชุมชน (Learning Station) ร่วมกับเกษตรกรในเครือข่ายการทำงานของ สท. เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถเข้าถึงความรู้และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น • สถานีเรียนรู้กลาง หรือ AGRITEC Station ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เป็นสถานีสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ • สถานีเรียนรู้ระดับภูมิภาค
กลไกการทำงานของ สท.
ด้วยภารกิจหลักของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มุ่งเน้นปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตรและชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น สอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สท. จึงมุ่งถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานและสร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกร/ชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีกลไกการทำงานหลัก ดังนี้ • พัฒนาเชิงพื้นที่มุ่งเป้าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Area Based Approach) สร้างกลไกและกระบวนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก (ภาครัฐ-เอกชน-ชุมชน) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกระดับการพัฒนาศักยภาพพื้นที่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนในมิติต่างๆ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ >> Read more • สถานีเรียนรู้ (Training Hub) แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill)
เสวนาออนไลน์ “รู้จัก-รู้ใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชอย่างมืออาชีพ”
คลิปวิดีโอย้อนหลัง https://youtu.be/3ujl7grRsPQ คำถาม-คำตอบจากเวทีเสวนา เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ การผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา แบคทีเรียปฏิปักษ์ (บีเอส, บีเอ) บิวเวอเรีย-เมตาไรเซียม อื่นๆ เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ Q: ปัจจัยใดที่ทำให้ชีวภัณฑ์ตายหรือไม่ได้ประสิทธิภาพ หลังจากฉีดพ่นไปแล้วA: อากาศร้อน แสงแดด การใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่เป็นชีวภัณฑ์นั้นๆ Q: จำนวนสปอร์ชีวภัณฑ์แบบผงกับแบบสดแบบไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากันA: สปอร์ในชีวภัณฑ์แบบสดมีประสิทธิภาพจัดการกับศัตรูพืชมากกว่าแบบผงหรือแบบแห้ง แต่จะมีอายุสั้นกว่า ทนกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้น้อยกว่าแบบผง Q: สารชีวภัณฑ์สามารถเป็นสารกลายพันธุ์ในมนุษย์ได้หรือไม่A: อาจจะส่งผลต่อมนุษย์ ถ้าสารชีวภัณฑ์นั้นเป็นสารสกัดหรือสารพิษที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อระบบในร่างกายมนุษย์ด้วย แต่ถ้าเป็นชีวภัณฑ์ของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีชีวิตและผ่านการตรวจสอบพิษวิทยาแล้ว ทั้งหมดไม่มีผลต่อมนุษย์ Q: สารชีวภัณฑ์กลุ่มจุลินทรีย์เป็นอันตรายต่อตัวห้ำ ตัวเบียนและผึ้งหรือไม่ A: การเลือกชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มาเพื่อใช้ในการจัดการศัตรูพืช จะต้องมีการทดสอบมาก่อนแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อ ตัวห้ำ ตัวเบียน ผึ้ง รวมถึงมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Q:
หลักสูตรอบรมออนไลน์ “ปลูกผักอย่างฉลาด ลดความเสี่ยง เลี่ยงขาดทุน”
ผักไม่โต ผักเป็นโรค หนอนกินผัก ผักเน่า ผักไม่สด ปลูกแล้วขายไม่ได้ ขายไม่หมด ฯลฯ สารพัดปัญหาที่คนปลูกผักต้องเคยเจอ …ทำอย่างไรจะจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ หลักสูตรอะไร เรียนเมื่อไหร่ เรียนกับใคร สมัครอย่างไร หลักสูตรอะไร “การบริหารความเสี่ยง” (Risk Management) เป็นกระบวนการที่หน่วยงาน/องค์กรใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทำให้คาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า เพื่อเตรียมวิธีการลดโอกาสและผลกระทบ เพื่อลดความสูญเสียและเพิ่มโอกาสความสำเร็จ การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นกระบวนการที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงการผลิตพืชผักจากปัญหาต่างๆ ได้ โดยต้องอาศัยทั้งองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์การปลูก เพื่อให้ “การผลิตผักทุกครั้ง ได้ผลผลิตทุกครั้ง” “การบริหารความเสี่ยงในการผลิตพืชผัก” คือ กระบวนการคิดและวางแผนที่เป็นระบบและต่อเนื่อง โดยทำตั้งแต่ก่อนปลูกเพื่อลดโอกาสการเกิดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ หรือควบคุมได้หรือประเมินได้ และที่สำคัญต้องตรวจสอบการปลูกได้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.)
รายชื่อศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.)
เสวนาออนไลน์ AGRITEC Live: ถ่ายทอดความรู้เรื่องไผ่
AGRITEC Live : ถ่ายทอดความรู้เรื่อง “ไผ่”วันที่ 13–15 กันยายน 2564 เวลา 09.00–16.00น.เผยแพร่ผ่าน Facebook: NSTDAAGRITECและ Youtube: AGRITEC Channel “สถานการณ์ของไผ่ไทยในเวทีโลก | ทำไมไผ่ไทย ถึงไม่ก้าวไกลในเวทีโลก | แนวทางการใช้ประโยชน์จากไผ่ | ปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดและการแก้ปัญหา ในการใช้ประโยชน์จากไผ่ | ทิศทางของไผ่ไทยในอนาคต” (คลิกชมเสวนา) โดย 1. รศ.ดร.สราวุธ สังข์แก้ว ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไผ่ 2. คุณสภลท์