การผลิตสตรอว์เบอร์รี่คุณภาพดีที่นาแห้ว

การผลิตสตรอว์เบอร์รี่คุณภาพดีที่นาแห้ว

สวทช. โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และหน่วยงานเครือข่าย ได้นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนบ้านบ่อเหมืองน้อยและบ้านห้วยน้ำผัก อ.นาแห้ว โดยในปี 2539 ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกสตรอว์เบอร์รี่ โดยในระยะแรกจัดทำเป็นแปลงสังเคราะห์เทคโนโลยีและถ่ายทอดสู่เกษตรกร ต่อมาในปี 2554 ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไหลสตรอว์เบอร์รี่ เพื่อเป็นต้นพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกในพื้นที่และลดต้นทุนจากการขนส่งไหลสตรอว์เบอร์รี่จากจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2557 การผลิตสตรอว์เบอร์รี่เป็นอาชีพของเกษตรกรในพื้นที่ มีเกษตรกรที่ผลิตไหลสตรอเบอรี่เพื่อการจำหน่าย 4 ครอบครัว มีรายได้ประมาณ 250,000 บาทต่อปี เกษตรกรประมาณ 20 ครอบครัว ปลูกสตรอว์เบอร์รี่เพื่อจำหน่ายผลสด มีรายได้ประมาณ 1,000,000 บาทต่อปี หมู่บ้านสตรอว์เบอร์รี่แห่งภาคอีสาน จากหนังสือ สวทช. คิดค้น ชุมชนเข้มแข็ง

“มะคาเดเมีย”…แรงบันดาลใจจากพ่อหลวง

“มะคาเดเมีย”…แรงบันดาลใจจากพ่อหลวง

ความแห้งแล้ง ความจน เป็นต้นเหตุ    ให้พลัดเขต บ้านเกิด เตลิดหนี ย้ายถิ่นฐาน ดิ้นรน ให้อยู่ดี                        มาถึงที่ นาแห้ว จังหวัดเลย เป็นหญิงแกร่ง แห่งเมืองย่า อย่าท้อถอย  เริ่มจากน้อย ค่อยสร้างไป ไม่นิ่งเฉย ทำเกษตรฯ เลี้ยงสัตว์ อย่างที่เคย         จนงอกเงย มีพอใช้ ได้แบ่งปัน เอาคำสอน

เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางเกษตรด้วย “การแปรรูป”

เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางเกษตรด้วย “การแปรรูป”

จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกสตรอเบอรี่ให้กับชุมชน ไม่เพียงการจำหน่ายผลสดจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกแล้ว ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสตรอเบอรี่ก็ได้ความรับนิยมจากผู้บริโภคเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น น้ำสตรอเบอรี่ แยมสตรอเบอรี่ จากการรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปสตรอเบอรี่ นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มแปรรูปและจดทะเบียนในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนภายใต้ชื่อ “กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านบ่อเหมืองน้อย” ในปี 2546 ผลิตภัณฑ์แปรรูป ได้แก่ น้ำสตรอเบอรี่ แยมสตรอเบอรี่ น้ำเสาวรส มะคาเดเมียอบแห้ง และช็อคโกแลตมะคาเดเมีย กลุ่มแปรรูปฯ มีเงินหมุนเวียนจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กว่า 7.5 ล้านบาท (ปี 2557) สมาชิกมีรายได้เฉลี่ย 5 หมื่นบาท/คน/ปี และยังสร้างงานให้คนในชุมชนอีก 20 คน สำหรับการแปรรูปมะคาเดเมียนั้น สวทช. ได้สนับสนุนสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พัฒนา “เครื่องอบแห้งมะคาเดเมียโดยใช้กะลามะคาเดเมียทดแทนการใช้ก๊าซแอลพีจี” และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้ชุมชน ทำให้กลุ่มแปรรูปฯ ลดค่าใช้จ่ายการใช้ก๊าซ LPG

“กัลยณัฎฐ์ พระศรีนาม” รางวัลวิทย์แปงบ้าน อีสานแปงเมือง ประจำปี 2561 สาขาพัฒนาสังคม

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม บูรณาการการใช้ประโยชน์จากทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจต่อคุณงามความดีแก่บุคคลต้นแบบในภาคตะวันออกเฉียงหนือ จึงได้เสนอชื่อรางวัล “วิทย์แปงบ้าน อีสานแปงเมือง” โดยมอบขึ้นในงาน “สวทช.วิทย์สัญจร: วิจัยเข้มแข็ง เสริมแกร่งภูมิภาค” ในปี 2561 งาน “สวทช. วิทย์สัญจร” ที่จังหวัดอุดรธานี สวทช. ได้มอบรางวัล “วิทย์แปงบ้าน อีสานแปงเมือง สาขาพัฒนาสังคม” แก่ คุณกัลยณัฏฐ์ พระศรีนาม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร บ้านบ่อเหมืองน้อย อ.นาแห้ว จ.เลย  ผู้นำเกษตรกรที่เข้มแข็งเรียนรู้การปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ร่วมกับศูนย์ไบโอเทค สวทช. และมหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลิตสตรอว์เบอร์รี่ขายด้วยตนเอง พร้อมทั้งบุกเบิกด้านการตลาดจนทำให้ชุมชนสามารถผลิตสตรอว์เบอร์รี่ขายเกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน 1.4 ล้านต่อปี จนเป็นที่มาของคำว่า “สตรอว์เบอร์รี่แดนอีสาน”

จุดเปลี่ยนชีวิต..จุดพลิกเกษตรกร

จุดเปลี่ยนชีวิต..จุดพลิกเกษตรกร

อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลติดชายแดนอันดับต้นๆ ของประเทศ หากเดินทางต่อตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1328 จะยิ่งเข้าใกล้แม่น้ำเหืองซึ่งคั่นพรมแดนระหว่างไทยและ สปปป.ลาว เป็นที่ตั้งของบ้านห้วยน้ำผักและบ้านบ่อเหมืองน้อยซึ่งกองทัพภาคที่ 2 ขอจัดตั้งหลังเสร็จศึกร่มเกล้าด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง พร้อมกับรับสมัครทหารกองหนุนเข้ามาอยู่หมู่บ้านละ 75 ครอบครัว จัดสรรที่ดินทำกินให้ครอบครัวละ 10 ไร่ และส่งเสริมให้ปลูกพืชตามแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องด้วยศักยภาพพื้นที่และภูมิอากาศเหมาะแก่การปลูกพืชเมืองหนาว “ในพื้นที่ 10 ไร่ไม่ได้ให้อิสระในช่วงเริ่มต้น แต่บังคับให้ปลูกพืชยืนต้น คือ แมคคาเดเมียคนละ 50 ต้น อะโวคาโด พลับ ท้อ และพืชที่นำพันธุ์มาแจกให้ ส่วนพืชระยะสั้นเป็นสตรอว์เบอร์รี่ เสาวรสคนละ 2 ไร่ เพราะเป็นพืชที่ได้ผลผลิตเร็ว คนปลูกจะได้เลี้ยงตัวเองได้เร็ว นอกนั้นจะปลูกข้าวโพดหรืออะไรอื่นก็ได้”  กัลยณัฎฐ์

หมู่บ้านบ่อเหมืองน้อยและบ้านห้วยน้ำผัก

หมู่บ้านบ่อเหมืองน้อยและบ้านห้วยน้ำผัก

หมู่บ้านบ่อเหมืองน้อยและบ้านห้วยน้ำผัก อ.นาแห้ว จ.เลย ได้รับจัดตั้งเป็นหมู่บ้านชุมชนใหม่ตามแนวชายแดนภายใต้โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ตั้งแต่ปี 2531 โดยมีกองทัพภาคที่ 2 และภาคที่ 3 เป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งสองหมู่บ้านตั้งอยู่ใจกลางป่าทึบและภูเขาสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเล 750-1,200 เมตร ภูมิอากาศหนาวเย็น ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตร ปลูกข้าวไร่เป็นพืชหลักเพื่อบริโภคในครัวเรือน ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย รวมทั้งหาของป่าและรับจ้างทั่วไป แม้จะได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน แต่พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพไปขายแรงงานนอกพื้นที่ ในปี 2538 สวทช. โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้ร่วมกับกองทัพภาคที่ 2 และหน่วยงานเครือข่าย ได้ไปส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ จวบจนวันนี้เป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ สวทช. ได้สนับสนุนและส่งเสริมหมู่บ้านบ่อเหมืองน้อยและบ้านห้วยน้ำผัก อ.นาแห้ว ด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี