ถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML

ถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML

สื่อสิ่งพิมพ์ (โปสเตอร์) ถั่วเขียว 6 สายพันธุ์ใหม่ เพิ่มผลผลิตต้านทานโรค (แผ่นพับ) ถั่วเขียว : พืชทางเลือก สร้างรายได้ สู้ภัยแล้ง (ใบปลิว) การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังเก็บเกี่ยวถั่วเขียว (โปสเตอร์) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย (ใบปลิว) ถั่วเขียว-ถั่วงอกคอนโด (Roll up) ถั่วเขียว KUML-การผลิต-แปรรูป (คู่มือ) ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ดีด้วยความรู้ ให้ผลผลิตสูง รายได้งาม สื่อวิดีโอ EP 1 KUML ถั่วเขียวพันธุ์ดี ประโยชน์ทวีคูณ EP 2 ลงมือปลูกถูกวิธี คุณภาพดี ผลผลิตงาม EP

อว. -สวทช. จับมือภาคเอกชน ปูพรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 จังหวัด พื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

อว. -สวทช. จับมือภาคเอกชน ปูพรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 จังหวัด  พื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

รัฐมนตรีฯ กระทรวง อว. นำนักวิจัย สวทช. ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ชุมชน ยกระดับ-เพิ่มมูลค่าผ้าทอของทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีนาโน พร้อมหนุนปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ เป็นพืชหลังนา จับมือภาคเอกชนรับซื้อผลผลิต สร้างอาชีพ เสริมรายได้ สอดคล้องพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประชาชนอยู่ดี กินดี คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีรายได้เพิ่ม ข้ามพ้นความยากจน ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ผศ. ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง

สวทช.-ม.เกษตรศาสตร์-ชุมชนบ้านดอนหวาย เปิด “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพแห่งแรก พร้อมส่งต่อแปลงปลูกทั่วไทย

สวทช.-ม.เกษตรศาสตร์-ชุมชนบ้านดอนหวาย เปิด “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพแห่งแรก พร้อมส่งต่อแปลงปลูกทั่วไทย

สวทช. -ทีมวิจัยถั่วเขียว KUML ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรบ้านดอนหวาย จ.อุทัยธานี ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร จัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพด้วยความรู้ เทคโนโลยีและความใส่ใจ ส่งถึงเกษตรกรทั่วไทย สร้างรายได้หลังทำนา ส่งต่อผลผลิตคุณภาพสู่อุตสาหกรรมแปรรูป นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความต้องการของตลาดถั่วเขียวทั้งในและต่างประเทศมีสูง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแปรรูป แต่ปริมาณการผลิตของไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งในปี 2562 ไทยมีผลผลิตรวม 92,472 ตัน ขณะที่ความต้องการในประเทศสูงถึง 113,291 ตัน โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 115 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากที่ สวทช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาถั่วเขียวให้คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ถั่วเขียว KUML …จากพืชหลังนา สู่สินค้าส่งออก

ถั่วเขียว KUML …จากพืชหลังนา สู่สินค้าส่งออก

“ผมเห็นกองถั่วเขียวก็นึกย้อนไปสมัยเด็ก เราเคยรับจ้างเก็บถั่ว แล้วแถวนี้ก็ไม่เคยมีคนค้าถั่ว น่าจะเป็นไปได้ที่จะลองทำ แล้วยังได้ช่วยชุมชนให้มีรายได้เสริม แทนที่จะทิ้งนาไว้เฉยๆ หรือรอความช่วยเหลือจากรัฐบาล”  มนตรี สมงาม ลูกหลานเกษตรกรบ้านหนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี คนรุ่นใหม่ที่เชื่อมต่อถั่วเขียวจากแปลงนาสู่บริษัทแปรรูป เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนบ้านเกิด หลังหาข้อมูลและติดต่อจนได้บริษัทรับซื้อถั่วเขียวเพื่อแปรรูป เขากลับมาชักชวน นิมิตร สว่างศรี ผู้เป็นลุงและเป็นแกนนำเกษตรกรบ้านหนองผักนาก ซึ่งปลูกถั่วเขียวไว้บำรุงดินและบริโภคอยู่แล้ว “ตอนนั้นผมเพิ่งลองส่งถั่วเขียวให้ตลาดที่อำเภอชัยบาดาล จ.ลพบุรี เขาให้ราคา 32 บาท/กก. ซึ่งสูงมาก พอมนตรีมาชวนให้ส่งกับบริษัทที่เขาติดต่อได้ ให้ราคาพอกันและยังมีรถมารับถึงที่ ผมก็ตอบตกลงและไปชวนชาวบ้านให้ปลูกถั่วเขียว” ช่วงปี 2558 นิมิตร และชาวบ้านอีกสองรายเริ่มผลิตถั่วเขียวส่งให้ มนตรี โดยปลูกสายพันธุ์ชัยนาท 84-1 พื้นที่ผลิตประมาณ 100 ไร่ ได้ผลผลิตรอบแรกราว

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“สมัยก่อนหว่านถั่วเขียวที่หัวไร่ปลายนา เอาไว้ทำไส้ขนม หว่านถั่วลิสงไว้ทำกระยาสารท รุ่นพ่อแม่เก็บเมล็ดไว้นิดหน่อยเพื่อใช้หว่านรอบต่อไป” ประดิษฐ์ เขม้นเขตร์กิจ ผู้ใหญ่บ้านดอยหวาย หมู่ 7 ต.บ่อยาง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี บอกเล่าวิถีการปลูกพืชหลังของคนรุ่นพ่อแม่เมื่อกว่า 40 ปีจากพืชที่ปลูกไว้เพื่อใช้ในครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกไม่มากมาย วิถีการปลูกถั่วเขียวของชุมชนเริ่มปรับเปลี่ยนได้ราว 15 ปี หลังมีข้อกำหนดห้ามทำนาปรัง เกิดการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกถั่วเขียวเป็น “อาชีพเสริม” มีทั้งส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพืชไร่ชัยนาทและจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางป้อนสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สำหรับชาวนาจะเริ่มปลูกถั่วเขียวหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยปลูกในช่วงพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ส่วนชาวไร่จะปลูกถั่วเขียวในช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนลงปลูกข้าวโพด สายพันธุ์ถั่วเขียวที่ชาวบ้านนิยมปลูก เช่น ชัยนาท 84-1 กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 “ช่วงปี 2559 เมล็ดพันธุ์กำแพงแสนมีไม่พอ ลูกบ้านอยากได้พันธุ์อื่นมาปลูกเพิ่ม ก็ไปสอบถามจากเกษตรอำเภอ ถึงได้รู้ว่ามีพันธุ์ KUML เข้ามาใหม่” ประดิษฐ์ ย้อนความเมื่อวันที่ได้รู้จักถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่