การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566   คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

งานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขต (ภาคใต้) ประจำปี 2565

งานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขต (ภาคใต้) ประจำปี 2565

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับภาคีพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาในจังหวัดสงขลา นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรในจังหวัดสงขลา โดยฉพาะ “ข้าว” ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด ในช่วงวันที่ 20-21 มิถุนายน 2565 สท./สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา จัดนิทรรศการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการผลิตข้าวภายในงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขต (ภาคใต้) เนื่องในวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจำ 2565 ณ โรงเรียนบ้านกระอาน ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา โดยนำเสนอเทคโนโลยีด้านการผลิตข้าวของ สวทช. เช่น  พันธุ์ข้าวที่พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. แอพพลิเคชั่นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวพื้นเมืองที่ สวทช. ได้ร่วมทำงานด้วย เป็นต้น นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาได้นำเสนอพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ที่ได้ศึกษาและรวบรวมไว้ ตลอดจนการทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง สื่อความรู้ที่นำเสนอภายในงาน

งานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก)

งานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก)

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก) ระหว่างวันที่ 23–25 ธันวาคม 2565 ณ ลานสาเกตนคร บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจัดแสดงองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ สท. ได้ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรและชุมชนเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่จัดแสดง ได้แก่ ตัวอย่างสายพันธุ์ข้าวที่พัฒนาโดย สวทช. สารชีวภัณฑ์ พืชหลังนา (ถั่วเขียว) สารชีวภัณฑ์ อาหารโค TMR การแปรรูปข้าว สิ่งทอ นอกจากนี้ยังนำเสนอตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรในเครือข่าย สท. ที่เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

ข้าวพื้นเมืองใต้…สำคัญอย่างไร

ข้าวพื้นเมืองใต้…สำคัญอย่างไร

ภาคใต้ถือได้ว่ามี “ข้าวพันธุ์พื้นเมือง” ที่หลากหลายแห่งหนึ่งของไทย ซึ่งศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุงได้เคยรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ไว้ได้ถึง 162 สายพันธุ์ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคใต้หรือแม้แต่จำนวนชาวนาลดน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการมีอยู่ของสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้ได้ เวทีเสวนา “ข้าวพื้นเมืองใต้ …สำคัญอย่างไร” ในงาน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 ณ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา จึงได้ชวนนักวิชาการมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้และหนทางการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง เป็นแนวทางต่อลมหายใจพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ข้าวพื้นเมือง มรดกทางวัฒนธรรม “ข้าวไทยและพันธุกรรมมีความสำคัญในแง่เดียวกับศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เพราะเป็นสิ่งที่อยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับการคัดเลือกและสร้างสรรค์จากบรรพบุรุษ” ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ให้มุมมองถึงความสำคัญของข้าวพื้นเมือง อาจารย์ภัทรพร ฉายภาพข้าวพื้นเมืองของประเทศไทยว่า

เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าว ไม่เพียงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ หากยังเป็นปัจจัยที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพให้ผลผลิตอีกด้วย การเรียนรู้และทำความเข้าใจเมล็ดพันธุ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ชาวนาไม่ควรมองข้าม “หัวใจสำคัญของเมล็ดพันธุ์คือ ต้องมีสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า ต้นอ่อน (embrio) มีเนื้อแป้งข้าวและเปลือก ถ้าไม่มีต้นอ่อน จะไม่เป็นเมล็ดพันธุ์ จะเรียกว่า ข้าวเปลือก” ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อธิบายความแตกต่างของเมล็ดพันธุ์และข้าวเปลือก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความรู้การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้อง การใช้เมล็ดพันธุ์ดีทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากใช้ในปริมาณน้อยกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไป ลดต้นทุนการผลิต เพราะผ่านการคัดเลือกรวงที่สมบูรณ์แล้ว จึงลดเชื้อโรคและการใช้สารเคมีกำจัดโรค ผลผลิตสูง และทำให้กำไรต่อพื้นที่มากกว่า แล้วจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีได้อย่างไร จำเป็นต้องรู้จัก “ชั้นเมล็ดพันธุ์” เพื่อรู้ที่มาและการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ ซึ่งชั้นเมล็ดพันธุ์ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์คัด (breeder seed) เป็นชั้นเมล็ดพันธุ์สำหรับนักปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งชาวนาสามารถเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ได้ โดยเฉพาะในภาคใต้ซึ่งใช้ “แกระ” เป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวที่สามารถคัดเลือกรวงสมบูรณ์ ถูกต้องตามพันธุ์ เมล็ดพันธุ์หลัก