แปลง “ความรู้สึก” เป็น “ค่าตัวเลข” เพิ่มคุณภาพให้สวนทุเรียน

แปลง “ความรู้สึก” เป็น “ค่าตัวเลข” เพิ่มคุณภาพให้สวนทุเรียน

“เกษตรกรควรเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้และมีความอยากเรียนรู้” สมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนทุเรียนบัวแก้ว และรองประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนบ้านวังจันทร์ ต.วังจันทร์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ให้มุมมองการทำเกษตรในยุคสมัยนี้ “คนทำสวนที่ทำตามพ่อแม่มา ถามว่าปีนี้คิดว่าจะได้ทุเรียนเท่าไหร่ ไม่รู้ จะออกดอกเมื่อไหร่ ไม่รู้ แต่ตัวผมทำสวนเป็นธุรกิจ ต้องคาดการณ์ว่าจะต้องได้เท่าไหร่” ด้วยบุคลิกที่เป็นนักทดลองและมองหาวิธีที่จะทำให้การทำสวนทุเรียนได้ทั้งคุณภาพและราคา สมบูรณ์และภรรยาตัดสินใจทำสวนทุเรียนนอกฤดูเมื่อเกือบสิบปีก่อน เพื่อหนีปัญหาผลผลิตทุเรียนในฤดูที่ล้นตลาดและราคาตก ท่ามกลางเสียงคัดค้านและคำสบประมาท เขาและภรรยาไม่ตอบโต้ แต่ลงมือทำให้เห็นจากพื้นที่ 24 ไร่ และเพิ่มเป็น 70 ไร่ในปัจจุบัน สร้างรายได้ถึงสิบล้านบาทต่อปี แม้ประสบความสำเร็จจากการทำสวนทุเรียนนอกฤดู แต่ สมบูรณ์ ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ยังคงเปิดโอกาสให้ตัวเองรับความรู้ใหม่ๆ มาทดลองและปรับใช้กับสวนทุเรียนของเขา ดังที่เขายินดีให้ใช้ต้นทุเรียน 30 ต้น บนพื้นที่ 2 ไร่

การอนุรักษ์พื้นที่ป่าสาคูตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส

การอนุรักษ์พื้นที่ป่าสาคูตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส

สาคูเป็นพืชตระกูลปาล์มที่สำคัญชนิดหนึ่งในภาคใต้ ชอบขึ้นในพื้นที่พรุ ชุ่มน้ำ สามารถนำทุกส่วนของต้นมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ใบ-มุงหลังคา ยอด-ปรุงอาหาร ลำต้น-สกัดเอาแป้งมาประกอบอาหาร รวมถึงใช้เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ปัจจุบันป่าสาคูถูกภัยคุกคามจากการขุดลอกคูคลองและการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่นปาล์มน้ำมันและยางพารา ทำให้ป่าสาคูลดน้อยลง ประชาชนในพื้นที่ตำบลโละจูด ประกอบอาชีพหลักกรีดยาง เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ปลูกผักสวนครัว เป็นอาชีพเสริม  การเลี้ยงสัตว์ใช้วัสดุในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนการผลิต จึงเกิดกลุ่มเลี้ยงเป็ดเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูขึ้น กลุ่มเลี้ยงเป็ดเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูมีสมาชิกทั้งหมด 52 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้านในตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เลี้ยงเป็ดเฉลี่ยครัวเรือนละ 15-20 ตัว โดยใช้เศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนและแป้งสาคูควบคู่กับการให้อาหารสำเร็จรูป รายได้จากการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่เฉลี่ยเดือนละ 500-1,000 บาทต่อครัวเรือน ปี 2557 จนปัจจุบัน ปี

การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากต้นสาคูเลี้ยงเป็ด กรณีศึกษาตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส

การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากต้นสาคูเลี้ยงเป็ด กรณีศึกษาตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส

กลุ่มเลี้ยงเป็ดเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูปัจจุบันมีสมาชิก 52 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้านในต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส เลี้ยงเป็ดเฉลี่ยครัวเรือนละ 15-20 ตัว ใช้เศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนและแป้งสาคูควบคู่กับการให้อาหารสำเร็จรูป รายได้จากการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่เฉลี่ยเดือนละ 500-1,500 บาทต่อครัวเรือน ความสำเร็จจากการเลี้ยงเป็ดแห่งตำบลโละจูด ไม่ใช่แค่สร้างรายได้และสุขภาวะที่ดีให้คนในชุมชน แต่ทำให้ชาวบ้านเกิดทัศนคติที่ดีในการหวงแหนทรัพยากรอย่าง “ต้นสาคู” ด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน การให้ชุมชนหยุดรุกป่าและหันมาร่วมเป็นผู้พิทักษ์ สิ่งสำคัญคือชาวบ้านต้องมีความเป็นอยู่ที่ดี มีอาชีพ มีรายได้ที่เหมาะสม ที่ผ่านมาหน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้นฮาลาบาลา จ.นราธิวาส ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ไม่ได้แค่ส่งเสริมการปลูกดาหลา แต่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงเป็ดเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนให้กับชุมชนด้วย ปัญหาส่วนหนึ่งของชาวบ้านตำบลโละจูด คือ ขาดโปรตีน ชาวบ้านนิยมกินแป้ง เช่น

เส้นทางการพัฒนา “ฮาลา-บาลา”

เส้นทางการพัฒนา “ฮาลา-บาลา”

สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่ป่าฮาลา-บาลา ตั้งแต่ปี 2542 โดยสามารถแบ่งการดำเนินงานได้เป็น 3 ระยะ • ระยะแรก พ.ศ.2542-พ.ศ.2547 สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าฮาลา-บาลา โดยค้นพบสิ่งมีชีวิตต่างๆ มากมาย เช่น มดไม้ยักษ์ ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก นกเงือก 10 สายพันธุ์ จาก 13 สายพันธุ์ในประเทศไทย กุหลาบผาและกล้วยไม้หายาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ภายใต้การดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท “ป่า คือ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์” • ระยะที่สอง พ.ศ.2548-พ.ศ.2552 สวทช. ได้ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดเครือข่ายวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ดังเช่น การจัดตั้ง “หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้น ฮาลา-บาลา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ “ฮาลา-บาลา”

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ “ฮาลา-บาลา”

“ฮาลา-บาลา” เป็นพื้นที่ป่าดิบชื้นติดชายแดนภาคใต้บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี และเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับป่าเบลุ่มของประเทศมาเลเซีย กลายเป็นพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนขนาดใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรมลายู “ป่าฮาลา-บาลา” ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ส่วนที่เรียกว่า “ฮาลา” อยู่ในจังหวัดยะลา และส่วนที่เรียกว่า “บาลา” อยู่ในจังหวัดนราธิวาส ป่า “ฮาลา-บาลา” เป็นป่าฝนเขตร้อนที่มีความอุดมสมบูรณ์โดดเด่น เป็นแหล่งรวมพันธุ์พืชกว่า 300 ชนิด แหล่งรวบรวมสัตว์ป่าหายาก เช่น ค้างคาวหน้าย่น ค้างคาวจมูกหลอด และสัตว์ป่าสงวน 4 ชนิด คือ เลียงผา สมเสร็จ แมวลายหินอ่อน และกระซู่ นอกจากนี้ยังมีไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงพืชสมุนไพรและพรรณไม้ดอกหายากใกล้สูญพันธุ์จำนวนมาก สวทช. ได้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสู่ชุมชน สร้างคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชุมชนและทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่ ตั้งแต่ปี

ฮาลา-บาลา

ฮาลา-บาลา

“ฮาลา-บาลา” เป็นพื้นที่ป่าดิบชื้นติดชายแดนภาคใต้บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี และเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับป่าเบลุ่มของประเทศมาเลเซีย กลายเป็นพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนขนาดใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรมลายู “ป่าฮาลา-บาลา” ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ส่วนที่เรียกว่า “ฮาลา” อยู่ในจังหวัดยะลา และส่วนที่เรียกว่า “บาลา” อยู่ในจังหวัดนราธิวาส ป่า “ฮาลา-บาลา” เป็นป่าฝนเขตร้อนที่มีความอุดมสมบูรณ์โดดเด่น เป็นแหล่งรวมพันธุ์พืชกว่า 300 ชนิด แหล่งรวบรวมสัตว์ป่าหายาก เช่น ค้างคาวหน้าย่น ค้างคาวจมูกหลอด และสัตว์ป่าสงวน 4 ชนิด คือ เลียงผา สมเสร็จ แมวลายหินอ่อน และกระซู่ นอกจากนี้ยังมีไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงพืชสมุนไพรและพรรณไม้ดอกหายากใกล้สูญพันธุ์จำนวนมาก สวทช. ได้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสู่ชุมชน สร้างคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชุมชนและทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2542-ปัจจุบัน 

บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)

สท. และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) มีความร่วมมือในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ส่งเสริมและแก้ปัญหาให้เกษตรกรในพื้นที่การดำเนินงานของบริษัทฯ อาทิ การถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกกาแฟ การแก้ปัญหามอดกาแฟและการแปรรูป การทำเกษตรในระบบอินทรีย์ การเชื่อมโยงเครือข่ายและศึกษาดูงานการผลิตและแปรรูปแมคคาเดเมียอย่างครบวงจร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือเผยแพร่ชุดความรู้เทคโนโลยีด้านเกษตรของ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ผ่านแอปพลิเคชั่น Por-Pieng ที่บริษัทฯ พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นช่องทางขยายองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายและผู้สนใจ

สวทช. หนุนนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าผ้าทอล้านนา

สวทช. หนุนนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าผ้าทอล้านนา

กลุ่มผ้าทอฯ ลำพูน ประยุกต์ใช้งานวิจัย สร้างจุดเด่นให้กับผ้าทอล้านนาตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นฝ้ายสู่ผ้าทอมือพื้นเมืองคุณภาพ ภายหลังจากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัย 3 เทคโนโลยี ได้แก่ เทคโนโลยีเอนไซม์ เทคโนโลยีพิมพ์สกรีนผ้าด้วยสีธรรมชาติ และเทคโนโลยีสิ่งทอนาโน ช่วยกลุ่มผ้าทอจังหวัดลำพูน ต่อยอดการผลิตผ้าทอล้านนาจากภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์ลวดลายเฉพาะตัวให้มีจุดเด่นทั้งในด้านคุณภาพของเส้นใย เนื้อผ้าที่ละเอียด การพิมพ์สกรีนผ้าด้วยสีธรรมชาติ และคุณสมบัติพิเศษด้านนาโนฯ เพื่อดูแลผลิตภัณฑ์ผ้าทอล้านนาให้เหมาะกับการใช้งานได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า สร้างรายได้ให้กลุ่มผ้าทอฯ เพิ่มขึ้นเท่าตัว ช่วยส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น ด้าน สนง.พาณิชย์จังหวัดลำพูน เล็งหนุนตราสินค้า “ลำพูน แบรนด์” (Lamphun Brand) เพื่อให้ผ้าทอพื้นเมืองลำพูนที่ผสมผสานนวัตกรรมวิจัยสุดล้ำ ด้านหัตถอุตสาหกรรมให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

บ้านหนองเงือก “หมู่บ้านสิ่งทอนาโน”

บ้านหนองเงือก “หมู่บ้านสิ่งทอนาโน”

คงเอกลักษณ์ “ผ้าพื้นเมือง” เพิ่มมูลค่าด้วย “เทคโนโลยี” สู่ท่องเที่ยววิถีชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ในวันที่โลกก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยี แต่งานหัตถกรรมผ้าทอที่สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษของ “ชุมชนบ้านหนองเงือก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน” มิได้เลือนหาย แต่กลับเพิ่มมูลค่าผ้าทอพื้นเมืองด้วยการเปิดรับเทคโนโลยีมาปรับประยุกต์ จนกลายเป็น “หมู่บ้านสิ่งทอนาโน” แห่งแรกของภาคเหนือ และเสริมเติมด้วยเทคโนโลยีของ สวทช. ได้แก่ การใช้เอนไซม์ ENZease (เอนอีซ) ในกระบวนการเตรียมผ้าฝ้าย เทคโนโลยีการผลิตสีผงธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นและการเตรียมแป้งพิมพ์สีธรรมชาติจากวัสดุในท้องถิ่น และการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษผ้าทอพื้นเมืองด้วยนาโนเทคโนโลยี จนปัจจุบัน “ชุมชนบ้านหนองเงือก” ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวภายใต้แนวคิด “ท่องเที่ยวตำราชุมชนผ้าทอพื้นเมือง” เรียนรู้วิถีชุมชน สัมผัสกระบวนการผลิตผ้าทอพื้นเมืองที่ยังคงเอกลักษณ์ประจำถิ่น แต่เพิ่มมูลค่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม   สื่อ/กิจกรรมประชาสัมพันธ์ วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองเงือก: ชุมชนนวัตกรรมสิ่งทอ สวทช. หนุนนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าผ้าทอล้านนา