ผู้วิจัย

 ดร.กาญจนา แสงจันทร์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

กระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ได้แก่ การทำความสะอาด การสับโม่ การแยกเม็ดแป้งออกจากกากมันสำปะหลัง การทำความสะอาดน้ำแป้งและเพิ่มความเข้มข้น การลดความชื้นและการบรรจุ สำหรับขั้นตอนการทำความสะอาดและเพิ่มความเข้มข้นของน้ำแป้ง โดยทั่วไปโรงงานใช้เครื่องเหวี่ยงแยก มีข้อด้อยคือ มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ได้ เกิดการสึกกร่อนจากอนุภาคของแข็ง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการแยกลดลง ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังมีการใช้ไฮโดรไซโคลน แทนเครื่องดังกล่าว โดยอาศัยหลักการการเคลื่อนที่แบบหมุนทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางแยกเม็ดแป้งออกจากน้ำและสิ่งเจือปนอื่น ๆ นอกจากนี้ไฮโดรไซโคลนบำรุงรักษาง่าย ต้องการพื้นที่ในการติดตั้งน้อย และมีความปลอดภัยสูง อย่างไรก็ตามไฮโดรไซโคลนมีข้อจำกัดคือ ไฮโดรไซโคลนที่ใช้ในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังขนาดอุตสาหกรรมถูกออกแบบเพียงขนาดเดียวและใช้กับทุกขั้นตอนของหน่วยแยกโดยใช้การลองผิดลองถูกเพื่อปรับเปลี่ยนสภาวะการดำเนินการผลิต ส่งผลให้การแยกแป้งและสิ่งเจือปนของไฮโดรไซโคลนในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังมีประสิทธิภาพต่ำ และใช้พลังงานสูงในกระบวนการผลิต

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
  • ลดการนำเข้าไฮโดรไซโคลนจากต่างประเทศ
  • ลดการสูญเสียแป้งในน้ำเสียคิดเป็นมูลค่าผลกระทบ 23.90 ล้านบาท/ปี (จากการประเมินเบื้องต้น)
  • ลดการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิต ได้แก่ ค่าไฟ คิดเป็นมูลค่าผลกระทบ 4.82 ล้านบาท/ปี และค่าน้ำ คิดเป็นมูลค่าผลกระทบ 5.85 ล้านบาท/ปี (จากการประเมินเบื้องต้น)
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
  • คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001003988 ยื่นคำขอวันที่ 15 กรกฎาคม 2563
  • สิทธิบัตรเลขที่ 13817
สถานภาพของผลงานวิจัย

ต้นแบบระดับ pilot scale

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาลูกค้าที่สนใจเข้ามาทดสอบในระดับอุตสาหกรรม และเสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

รูปภาพประกอบผลงานวิจัย
ติดต่อสอบถาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.