ผู้วิจัย

สมบัติ รักประทานพร และคณะวิจัย

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

โรคใบด่างมันสำปะหลังเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ Sri Lankan cassava mosaic virus หรือ SLCMV ที่มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ อาการของต้นที่ติดโรค คือ ใบด่างและใบหงิกลดรูป ลำต้นแคระแกร็น และมีการลดลงของผลผลิตทั้งจำนวน ขนาด และคุณภาพของหัวมัน ในกรณีที่มีการระบาดรุนแรงอาจสร้างความเสียหายแก่ผลผลิตมากถึง 80-100% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมมันสำปะหลังเป็นวงกว้างตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

ชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบรวดเร็ว (Immunochromatographic Strip Test) มีความจำเพาะเจาะจง มีความไว และความถูกต้องแม่นยำที่สูง ใช้งานง่าย สามารถพกพาไปตรวจในแปลงปลูกได้ รู้ผลรวดเร็วภายใน 15 นาที ยังไม่เคยมีรายงานการพัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วสำหรับเชื้อไวรัสใบด่างมันสำปะหลังชนิด SLCMV มาก่อน และยังไม่มีการขายในเชิงพาณิชย์ ชุดตรวจดังกล่าวมีความสำคัญต่อการศึกษาด้านระบาดวิทยา การจัดการควบคุมโรค การปรับปรุงพันธุ์ต้านทาน และการตรวจหาเชื้อในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการผลิตท่อนพันธุ์ปลอดเชื้อ

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
  • สามารถตรวจวินิจฉัยเชื้อ SLCMV ในมันสำปะหลังได้อย่างจำเพาะเจาะจง สามารถพกพาไปตรวจในแปลงปลูกได้
  • ใช้งานได้ง่าย สามารถตรวจเองได้ ไม่ต้องอาศัยผู้ชำนาญการและเครื่องมือวัดอ่านผล
  • รู้ผลไว ภายใน 15 นาที
  • มี relative accuracy = 96%, relative specificity = 100%, relative sensitivity = 91% เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการ PCR
  • มี relative accuracy = 99%, relative specificity = 100%, relative sensitivity = 99% เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการ DAS-ELISA
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2303000845 วันที่ยื่นคำขอ 24 มีนาคม 2566

สถานภาพของผลงานวิจัย

ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

ภาพประกอบผลงาน
ติดต่อสอบถาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.