คลังข้อมูลสำหรับทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI Corpus for benchmark task)

เป็นชุดข้อมูลแบบเปิดสาธารณะ เพื่อใช้เป็นชุดข้อมูลทดสอบที่เป็น มาตรฐาน ในการทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 ชุดข้อมูลสำหรับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ที่เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาษาไทย ได้แก่ ชุดข้อมูลสำหรับสร้างต้นไม้ไวยากรณ์ภาษาไทย ชุดข้อมูลแปลภาษาอังกฤษ-ไทย  ชุดข้อมูลสำหรับการสร้างบทกำกับภาพ และชุดข้อมูลเสียงการสนทนา

การพัฒนาชุดข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยให้นักวิจัยและผู้พัฒนา สามารถทดสอบและประเมินประสิทธิภาพของโมเดลปัญญาประดิษฐ์ ได้อย่างถูกต้อง ช่วยยกระดับขีดความสามารถและคุณภาพของการพัฒนาผลงานให้กับคนไทยได้ใช้งานทัดเทียมกับต่างประเทศ ได้รับบริการที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาษาไทยและภาพที่มีคุณภาพมากขึ้น

แพลตฟอร์มบริการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI FOR THAI Platform

กลไกสำคัญที่จะช่วยสร้างและขับเคลื่อนระบบนิเวศทางด้านปัญญาประดิษฐ์ ที่ป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้งานในประเทศไทย โดยจะเป็นฐานรากทางเทคโนโลยี ที่สำคัญให้กับนักธุรกิจ นักพัฒนาและนักวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ยุคใหม่ เพื่อมาร่วมกันสร้าง API ใหม่ ๆ และนำมาให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม กลางที่ให้บริการด้าน AI ที่แรกของคนไทย เปิดให้บริการงานวิจัยด้าน AI มากกว่า 50 APIs ที่ให้บริการครอบคลุมเทคโนโลยีทั้ง 3 ด้าน

บริการเด่น 4 อันดับแรก

  • ตัดคำภาษาไทย 6.9 ล้านครั้ง
  • สังเคราะห์เสียงพูด 5.6 ล้านครั้ง
  • แยกข้อความ 4.1 ล้านครั้ง รวมทุกบริการ 44.07 ล้านครั้ง

หน่วยงานที่ใช้งานต่อเนื่อง

  • ภาคเอกชน 13 แห่ง 
  • ภาครัฐ 5 แห่ง

จำนวนบัญชีผู้ใช้ 15,581 บัญชี

ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลชีวมิติเพื่อการบริการทางสาธารณสุข (Personal identification and verification based on biometric information for public health services)

ข้อมูลจากลายม่านตามีคุณสมบัติโดดเด่น มีความเป็นเอกลักษณ์สูง คงทน สามารถทำให้การตรวจอัตลักษณ์เพื่อยืนยันและระบุตัวบุคคล มีความแม่นยำ ทำงานได้รวดเร็ว สามารถตรวจจับโดยไม่ต้องใช้ การสัมผัส

สภากาชาดไทยได้นำระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลชีวมิติไปใช้ในการระบุตัวตน ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ให้ได้รับการรักษาพยาบาลตามหลักมนุษยธรรม โดยใช้การระบุตัวตนจากสองชีวมิติ การทำงานระหว่าง 2 เทคโนโลยี คือ การรู้จำใบหน้าและรู้จำลายม่านตา ทำงานร่วมกันเพื่่อให้ได้ข้อมูลที่ระบุ อัตลักษณ์มีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้อง ข้อมูลที่ได้มีความมั่นคง ปลอดภัยทั้งในการเก็บและการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใ้ช้งาน ลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมถึงเป็นการสร้างมาตรฐานระบบการใช้งานลายม่าน เพื่อยืนยันตัวตนของประเทศไทยด้วย

ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai people map and analytics platform)

แพลตฟอร์มบูรณาการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อสนับสนุนและ ยกระดับการแก้ไขปัญหาความยากจนและ พัฒนาคนอย่างยั่งยืนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตอบสนองความต้องการต่อประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับทรัพยากร ภูมิสังคมและความต้องการของพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรในทุกระดับ โดยระบบ สามารถค้นหาประชากร หรือครัวเรือน ตามเงื่อนไขที่ต้องการที่กำหนด

  • MPI calculation: คำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ เพื่อให้ได้จำนวนคนจนเป้าหมาย
  • Grouping: จัดกลุ่มประชากรที่มีความคล้ายคลึงกัน มีปัญหาแบบเดียวกัน เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ ด้วยนโยบายที่ตรงจุด
  • Ranking: จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายที่ควร จะได้รับการช่วยเหลือก่อน
  • เมนูแก้จน: แนะนำนโยบายแก้จนแบบอัตโนมัติจากเงื่อนไข ลักษณะของประชากรหรือครัวเรือน จากข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลพื้นที่ และดัชนี ความยากจนด้วยเทคโนโลยี expert system

การใช้เทคโนโลยี TPMAP-AI ยังต้องอาศัยความร่วมมือและ บูรณาการ การทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคมในระดับพื้นที่ และสร้างนโยบายที่มีพื้นฐานจากข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญ พร้อมกับการ ดำเนินงานและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

แพลตฟอร์มกลางสำหรับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Central medical AI platform)

แพลตฟอร์มกลางสำหรับบริหารข้อมูลด้านการแพทย์ภายใน Medical AI Consortium เพื่อการนำไปสร้างระบบปัญญาประดิษฐ์ เป็นระบบที่มีการจัดเก็บข้อมูลและตั้งค่าการแบ่งปันได้หลายระดับ ทั้งส่วนตัว ภายใน consortium หรือสาธารณะ สามารถแสดงผลข้อมูล ภาพการแพทย์ได้ทั้งภาพทั่วไปและ DICOM ใส่ annotation กำกับเพื่อการนำไปสอนระบบ AI ภายหลัง สามารถเชื่อมต่อกับ ระบบการสอน AI ของ NECTEC (NecML) เพื่อสร้างแบบจำลอง AI จากข้อมูลและเฉลยจากแพลตฟอร์มนี้ได้ 

ภายใน Medical AI Consortium มีจุดที่เชื่อมโยงระหว่างเจ้าของ ข้อมูลด้านการแพทย์ และทีมพัฒนา AI ซึ่งจะนำไปสู่การสร้าง Medical AI Services ในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานต่าง ๆ ภายใน Medical AI Consortium และลดการทำงาน ที่ซ้ำซ้อนเพื่อการนำไปสร้างระบบปัญญาประดิษฐ์

ติดต่อสอบถาม