นวนุรักษ์เป็นแพลตฟอร์มบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลที่จัดเก็บข้อมูลทั้งทางศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเปิดให้ชุมชนหรือหน่วยงานสามารถจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลทางวัฒนธรรมได้ด้วยตัวเอง เพื่อช่วยอนุรักษ์ข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ในรูปแบบที่สามารถถ่ายทอดความรู้ และเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น พร้อมระบบสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลรองรับหลากหลายรูปแบบ สนับสนุนบริการข้อมูลแบบเปิด “Open Data” เพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก และนำข้อมูลไปใช้งานต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างประโยชน์ในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้ และการพัฒนาภายในชุมชนอย่างยั่งยืน

คุณลักษณะ
  1. ระบบบริหารจัดเก็บข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพระดับท้องถิ่น โดยมีมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลสำหรับข้อมูลในแต่ละประเภท โดยมีระบบย่อยในการจัดเก็บข้อมูลวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ (พืชและสัตว์ท้องถิ่น) สถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยว การจัดเก็บข้อมูลจากนักสำรวจภาคประชาชน และการจัดเก็บเรื่องราวในท้องถิ่น
  2. คลังข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบไปด้วยข้อมูลด้านศิลปวัตถุ บุคคลสำคัญ สถานที่ ประเพณีวิถีชีวิต พืชและสัตว์ท้องถิ่น โดยมีรูปแบบไฟล์ เช่นข้อความ ภาพ เสียง วิดีโอ ภาพ 360 องศา ภาพ 3 มิติ
  3. การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงข้อมูล นำข้อมูลต่างๆ มาบูรณาการร่วมกัน และมีการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งานเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล 
  4. เครื่องมือสนับสนุนการสร้างกิจกรรม เป็นการนำข้อมูลต่างๆ ในคลังมาสร้างเป็นเกมแบบง่ายเพื่อใช้ในงานกิจกรรม และสามารถจัดเก็บ content hologram ใช้สำหรับในงานนิทรรศการได้
  5. เชื่อมต่อข้อมูลในรูปแบบ API เพื่อให้นักพัฒนาหรือนวัตกรนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้
จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี
  1. มีระบบบริหารจัดการข้อมูลตามแบบมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลแต่ละประเภท
  2. มีระบบการสร้าง QR CODE เพื่อให้ทำกิจกรรมนำชมในพื้นที่และสามารถสร้างชุดคำถามเพื่อรับ Feed Back จากผู้เยี่ยมชม
    สามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดได้ทั้งด้านการวิเคราะห์ข้อมูลอนุรักษ์และการท่องเที่ยว
  3. เป็นคลังข้อมูลแบบเปิดและมี API ทำให้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดด้านนวัตกรรมได้
ขอบเขต/ข้อจำกัดการใช้งาน

เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการในระบบเครือข่าย จึงต้องมีอินเทอร์เน็ตในการเข้าใช้งาน

กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
  1. หน่วยงานภาครัฐ. 
  2. ภาคเอกชน/ชุมชน
  3. สถาบันการศึกษา
สถานภาพการพัฒนา

ระบบบริหารจัดการข้อมูล เปิดให้ใช้งาน มีผู้เข้าใช้งานมากกว่า 150 หน่วยงาน

หน่วยงานพันธมิตร

สถาบันการศึกษา, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น, Unesco, ภาคเอกชนภายในท้องถิ่น

ภาพประกอบ
วิจัยพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย (LST)

กลุ่มวิจัย ปัญญาประดิษฐ์ (AINRG)

ติดต่อสอบถาม
ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล (SPE) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120