magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "เก็บมาเล่า เอามาฝาก" (Page 10)
formats

Thai National Research Repository : TNRR คืออะไร

Thai National Research Repository : TNRR คือ ระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ จัดทำขึ้นเพื่อให้คนไทยสามารถเข้าไปสืบค้นงานวิจัยและให้บริการเรื่องของการยื่นขอทุนวิจัยได้จากที่เดียว โดยมีคณะทำงานเพื่อพัฒนาและบูรณาการระบบข้อมูลวิจัยของประเทศ พ.ศ. 2554 ได้แก่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีที่มาตามช่วงหรือยุคการพัฒนา ดังนี้ – Link Exchange เริ่มจากปี 2544 ได้มีการรวบรวม Link และ Banner ไว้ที่เว็บไซต์ของ สวทช. เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้จากที่หน้าเว็บไซต์ แต่ไม่สามารถสืบค้นข้ามระบบกันได้ – Thai Research – National Repository (TNRR) – Expert Finder & Profile -

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส”กับไอทีควอนตัม (4)

เมื่อ“หลักความไม่แน่นอน” (Uncertainty Principle) เอามาใช้ในงานไอทีได้…แน่นอน การจะทำความเข้าใจเรื่องใหม่ๆ ที่ว่ายากหลายกรณีก็ต้องหาตัวช่วยเพื่อให้เกิด“ศรัทธา”ก่อน มิฉะนั้นกว่าจะเข้าใจได้ก็ยากเย็นแสนนาน หากใจไม่เอาก็หมดความพยายามจบลงอย่างง่ายดาย ศรัทธาในที่นี้หมายถึงแรงกระตุ้นให้อยากรู้อยากพิสูจน์ให้เกิดความเข้าใจกับเรื่องควอนตัมที่ว่ายากนั้นให้รู้สึกง่ายลงอีกมากๆหน่อย เนื่องจากประโยคแรกที่เกริ่นมาดูน่าแปลกใจ วกวน เหมือนวาทกรรมเล่นกับคำ“ความไม่แน่นอน”แบบนี้ หากไม่มีศรัทธาก็ชวนให้เลิกสนใจกันไปแล้วแน่ อย่างนั้นมาเริ่มกันใหม่ว่า “หลักความไม่แน่นอน”คือ ชื่อกลศาสตร์ควอนตัมมุมหนึ่งค้นพบโดย แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก (Werner Heisenberg) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชาวเยอรมนีผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ในวัยหนุ่มมากเพียง26ปี กับอายุที่คนส่วนใหญ่เพิ่งจะเรียนจบปริญญาตรีมาได้ไม่นาน และรับรางวัลโนเบลเมื่ออายุย่าง 32 ปีเท่านั้น แสดงถึงอัฉริยะภาพของหนุ่มผู้นี้ที่คิดค้นหลายเรื่องรวมถึง“หลักความไม่แน่นอน”ที่ชวนหัวนั้นและภายหลังได้ถูกนำมาใช้กับวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (quantum cryptography) สร้างมูลค่ามหาศาลอยู่ในปัจจุบันด้วย แสดงว่าหลักการนามแปลกๆที่ว่ามานี้ต้องมีอะไรดีแน่นอน – ( 80 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยไทยเจ๋งพัฒนาสารต้านมาลาเรียชนิดใหม่ของโลก

วันนี้(21 เมษายน  2557 )ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ถนนโยธี  ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล  ผู้อำนวยการสวทช.และศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์นักวิจัยอาวุโสสวทช. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมแถลงข่าวความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการพัฒนาสารต้านมาลาเรียชนิดใหม่ของโลก  โดยดร.ทวีศักดิ์ เปิดเผยว่าองค์การอนามัยโลก หรือWHO  ได้กำหนดให้วันที่ 25 เมษายน ของทุกปีเป็นวันมาลาเรียโลก หรือ World Malaria Day  สวทช. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคมาลาเรีย ซึ่งในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียมากกว่า200 ล้านคนต่อปี เสียชีวิตมากกว่า 600,000 รายต่อปี สำหรับประเทศไทยจากรายงานของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2556ที่ผ่านมามีผู้ป่วยมากกว่า 25,000 รายประกอบกับเริ่มมีรายงานการเกิดเชื้อมาลาเรียดื้อยาในแถบชายแดนไทย-กัมพูชา สร้างความตื่นตัวให้แก่นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านมาลาเรียทั่วโลกเป็นอย่างมาก– ( 70 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ชี้ ระบบสแกนลายนิ้วมือ เป็นแค่กลยุทธ์ทางการตลาด ไม่ได้ปลอดภัยจริง

แม้ว่าทั้ง Apple และ Samsung จะชูจุดเด่นของทั้ง iPhone 5S กับ Samsung Galaxy S5 ว่า ปลอดภัยสุดๆ กับระบบสแกนลายนิ้วมือ หรือ Fingerprint Sensor แต่ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวิมิติ ได้ออกมาเผยว่า ระบบสแกนลายนิ้วมือนั้น เป็นแค่กลยุทธ์ทางการตลาด ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่โฆษณาครับ– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แอปเปิล เปิดตัวคลิปวีดีโอ Apple Campus 2 สำนักงานแห่งใหม่ ที่(เขาว่า)ดีที่สุดในโลก

แอปเปิล ได้เผยคลิปวีดีโอ แนะนำอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ที่มีชื่อว่า Apple Campus 2 อย่างเป็นทางการครับ โดยตัวอาคาร มีลักษณะทรงกลม คล้ายกับจานบิน ซึ่งบริษัทผู้ออกแบบ เผยว่า แนวคิดการออกแบบดังกล่าว มาจาก สตีฟ จ๊อบส์ อดีตซีอีโอผู้ล่วงลับของ Apple นั่นเอง – ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“Uber”แอพเรียกแท๊กซี่ลีมูซีน

Uber แอพพลิเคชั่นสำหรับเรียกรถแท็กซี่“ลีมูซีน” ที่เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยจากสหรัฐอเมริกาที่มีเครือข่ายรถเช่าในหลากหลายเมืองทั่วโลกเริ่มจากการดาวน์โหลดตัวแอพลิเคชั่น Uber ลงโทรศัพท์แล้วลงทะเบียน ซึ่งการใช้งานแอพตัวนี้นั้นจะต้องมีการ Add บัตรเครดิต/เดบิตเพื่อใช้ในการหักค่าบริการในการใช้บริการเพราะค่าใช้จ่ายจะถูกหักผ่านบัตรเครดิต/เดบิต ที่ Add เข้าระบบ สร้างความสะดวกและปลอดภัย ให้กับผู้ใช้บริการ ส่วนวิธีการใช้งานนั้นก็เหมือนกับแอพเรียกรถแท็กซี่ทั่วๆไป คือ ระบุพิกัดที่จะไป กดเรียกรถ ราคาสูงกว่า Taxi ปกติ 1.5-2 เท่า โดยผู้ใช้บริการจะสามารถเรียกใช้บริการรถมารับได้ภายใน 10 นาทีในระยะแรกจะเป็น UBER Black เจาะกลุ่มพรีเมี่ยมในอนาคตขยายฐานลูกค้าด้วยการนำเสนอ UBER X ที่ราคาถูกกว่าออกมาเสริมเพื่อเป็นอีกทางหนึ่ง รายการอ้างอิง : 2557. “Uber”แอพเรียกแท๊กซี่ลีมูซีน. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). ค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557. จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20140411/574599/Uberแอพเรียกแท๊กซี่ลีมูซีน.html.  – ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีใหม่จอภาพลอยได้

มหาวิทยาลัยโตเกียวคิดค้นจอภาพแบบอินเตอร์แอคทีฟลอยอยู่กลางอากาศ ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของเทคโนโลยีจอภาพลอยได้ เพิ่มความสมจริงให้กับผู้เล่นเกมส์ การนำเสนอผ่านจอภาพในสถานการณ์ต่างๆ จอภาพแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่ลอยอยู่กลางอากาศได้ ส่วนแสงที่เห็นอยู่เกิดจากจอภาพแอลอีดีที่ซ่อนอยู่ และสะท้อนออกมายังพื้นผิวด้านหน้าผ่านทางกระจกแบบด้านเดียว ทำให้เกิดภาพขึ้นในพื้นที่ว่าง วิธีการที่ผู้ร่วมพัฒนาอย่าง “มาซาโตชิ อิชิกาวะ” ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ผู้ร่วมพัฒนาผลงานชิ้นนี้บอกว่า เป็นการก้าวหน้าเข้าสู่ยุคใหม่ ของเทคโนโลยีจอภาพลอยได้ อิชิกาวะ อธิบายว่า ความแตกต่างมากที่สุดอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีใหม่นี้ คือ จอภาพมีมุมมองเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะได้มีการเพิ่มการรับรู้ท่าทางขึ้นมา และเป็นการรับรู้ในระดับที่รวดเร็วอย่างมาก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่ง – ( 77 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Project Ara เดินหน้าลุยเต็มที่

จะดีแค่ไหน ถ้าหากมือถือที่เราใช้งาน สามารถเลือกประกอบเองได้ โดยเลือกซื้อเฉพาะชิ้นส่วนที่เราใช้งานจริง มาประกอบกันแล้วสามารถ upgrade เป็นชิ้นๆได้ ชิ้นส่วนไหนที่เราไม่ได้ใช้งานก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ เหมือนซื้อ Personal Computer นี่เป็นแนวคิดนึงของ Google ในชื่อ Project Ara ไอเดียมือถือประกอบเองมีแนวคิดริเริ่มมาจาก Advanced Technology and Projects Group (ATAP) ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของ Motorola Mobility แต่เมื่อ Google ขายกิจการของ Motorola ให้กับ Lenovo เมื่อต้นปี กูเกิลก็ยังไม่ทิ้งโปรเจคนี้ ดึงทีมงานกลับมาขึ้นตรงกับกูเกิล    – ( 59 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับ ดร.ปิติ อ่ำพายัพ ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับ ดร.ปิติ อ่ำพายัพ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอณูชีววิทยาและจีโนมกุ้ง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ผลงานวิจัยเรื่อง “กลไกระดับโมเลกุลของการสร้างเมลานินโดยระบบโพรฟีนอลออกซิเดส และบทบาทสำคัญในการตอบสนองภูมิคุ้มกันต่อการต้านเชื้อก่อโรคที่สำคัญในกุ้ง”– ( 12 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การต่อสู้การคัดลอกผลงานวิชาการ

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 17  เมษายน 2014 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาและวิจัย ของเยอรมนี Annette Schavan ประกาศเมื่อวันที่ 10 เมษายนว่าเธอจะยอมแพ้เรื่องต่อสู้ในการครอบครองปริญญาเอกของเธอ หลังจาก มหาวิทยาลัย Dusseldorf เรียกกลับคืน มหาวิทยาลัยเพิกถอนชื่อของเธอเมื่อปีที่แล้ว หลังจากพบว่าข้อมูลส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเธอ มีการคัดลอกมาจากแหล่งที่มาที่ไม่ได้รับการอ้างถึงได้อย่างถูกต้อง และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม  ศาลได้ปฏิเสธคำร้องของเธอที่ว่า มหาวิทยาลัยการจัดการกรณีของเธออย่างไม่เป็นธรรม รวมถึงเธอจะไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาล อ้างอิง : Plagiarism battle. (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 508(7496), 292-293. http://www.nature.com/news/seven-days-11-17-april-2014-1.15048– ( 24 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments