หุ่นยนต์ หรือ Robot สิ่งนี้คงเป็นเทคโนโลยีที่ท่านผู้อ่านทุกท่านรู้จักกันดี ข่าวดังเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการบริษัทเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ (Robotic) รวดเดียวถึง 8 บริษัทโดย Google ภายในเวลาเพียงชั่วสัปดาห์เดียว เริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา Google เข้าซื้อกิจการบริษัทที่ชื่อว่า Schaft ผู้ผลิตหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของญี่ปุ่นที่โด่งดังที่ชื่อว่า HRP-2 ซึ่งเป็นทีมชนะเลิศในการแข่งขันหุ่นยนต์ของ Defense DARPA ที่เรียกว่า DARPA Robotics Challenge การแข่งขันปีล่าสุดซึ่งเพิ่งแข่งจบไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เป็นการแข่งขันที่หุ่นยนต์ Humanoid ต้องทำภารกิจกู้ภัยในโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิทถล่มโรงไฟฟ้าฟูกูจิมา ประเทศญี่ปุ่น– ( 82 Views)

สาระวิทย์ เดือนเมษายน 2557 (13)
Cover Story 10 คำถาม กับการเปลี่ยน ผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล เรื่องเด่น เรื่องจากปก: 10 คำถาม กับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัลล น้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก: รักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย : การใช้สบู่ดำและปาล์มน้ำมันเพื่อเป็นพลังงานทางเลือก ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์: ศพไม่เน่า – ( 9 Views)

งบวิจัยเอกชนมาแรง
สำรวจค่าใช้จ่าย ด้าน R&D ภาคธุรกิจเอกชนขยับแซงหน้าภาครัฐ โดยปี 54 เอกชนลงทุน 2.07 หมื่นล้านบาท ขณะที่งบวิจัยจากรัฐ 2.02 หมื่นล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ฯ เผยผลสำรวจค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา ระบุภาคธุรกิจเอกชนขยับแซงหน้าภาครัฐ อ้างตัวเลขปี 54 เม็ดเงินลงทุน 2.07 หมื่นล้านบาท ขณะที่งบวิจัยจากภาครัฐ 2.02 หมื่นล้านบาท เดินหน้าผลักดันงบวิจัยเพิ่มเป็น 1% ในอีกสองปีข้างหน้า “กานต์” ชี้เอสซีจีให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์-นวัตกรรม ตั้งเป้าเพิ่มงบวิจัยและพัฒนาเป็น 4,600 ล้านบาทหรือ 1% ของรายได้ทั้งหมด นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึงผลสำรวจค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน โดยพบว่ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวจาก 8,000 ล้านบาทในปี 2549 มาเป็น 20,680 ล้านบาทในปี 2554 ส่งผลให้การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็นร้อย 0.37 หรือกว่า 41,000 ล้านบาท

เนคเทคเปิดแอพรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยช่วงสงกรานต์
วันนี้(4เมษายน 2557) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัว “SafeMate” แอพพลิเคชั่น บนมือถือแอนดรอยด์ และ ไอโอเอสช่วยรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสำหรับคนขับรถทั่วไปและรถสาธารณะ พร้อมใช้งานช่วงสงกรานต์ปีนี้ ดร. เฉลิมพล สายประเสริฐ นักวิจัยจากหน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสารและการคำนวณ เนคเทค กล่าวว่าทีมวิจัยได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น“SafeMate” ขึ้นโดยมีสมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย(ATRANS)เป็นผู้สนับสนุน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้ผู้ขับขี่นำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ที่ อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ได้สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 11 เมษายน – 17 เมษายน ปีที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุ ถึง 2,828 ครั้งเสียชีวิต 321ราย และบาดเจ็บ3,040 รายโดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ เมาแล้วขับโดยรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้แอพพลิเคชั่น“ SafeMate” จะเป็นระบบประเมินพฤติกรรมการขับขี่ด้วยสมาร์ทโฟน ทั้งระบบแอนดรอยด์และไอโอเอส เน้นความสะดวกใช้งานง่ายและ ต้นทุนต่ำ โดยอาศัยเซนเซอร์ ที่ในสมาร์ทโฟน เป็นตัวประมวลผลเหตุการณ์ในการขับขี่แบบเรียลไทม์ทั้งเบรคเร่ง เปลี่ยนเลน หรือเลี้ยวกะทันหัน สามารถแจ้งเตือนเมื่อมีการขับขี่แบบอันตราย นอกจากนี้ ยังมีระบบคิดคะแนนประเมินการขับขี่เก็บประวัติการขับรถพร้อมแสดงข้อมูลรายสัปดาห์

ชาวบ้านที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าฟูกุชิมะได้กลับบ้านแล้ว
สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวต่างประเทศ ญี่ปุ่น 2 เม.ย. 2014 -ชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้กับโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะ ไดอิจิ ได้รับอนุญาตจากทางการญี่ปุ่นให้กลับสู่บ้านเรือนของตนเองได้เป็นครั้งแรก ทางการญี่ปุ่นได้ออกมายกเลิกประกาศห้ามเข้าพื้นที่บริเวณใกล้กับโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะ ไดอิจิแล้ว หลังจากที่มีการประกาศห้ามเข้ามานานกว่า 3 ปี เพื่อป้องกันประชาชนไม่ให้ได้รับอันตรายจากสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้า ถือเป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านในเขตมิยาโกจิ เมืองทามูระ ที่อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้า สามารถกลับเข้าบ้านเรือนของตัวเองได้ หลังจากถูกทิ้งเอาไว้หลายปีทำให้สภาพบ้านเรือนไม่ต่างจากเมืองร้าง ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กลับเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ยอมรับว่ารู้สึกกลัวเล็กน้อย – ( 15 Views)

จับแสงแดดมาส่องเมือง
อาคารใหม่ในนครซิดนีย์ ออสเตรเลีย กลายเป็นแหล่งรวมของแผ่นกระจกที่มีชื่อเรียกว่า เฮลิโอสแตท ทำหน้าที่ในการปรับเปลี่ยนทิศทาง และช่องทางในการรับแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อให้แสงแดดส่องลงไปยังพื้นที่บางส่วนของเมือง ที่ไม่เคยถูกแสงแดดส่องถึงเลย เจสัน แลงเกอร์ วิศวกรโครงสร้างจากโรเบิร์ต เบิร์ด กรุ๊ป บอกว่า ในเชิงสถาปัตยกรรมแล้วถือว่า พระอาทิตย์ไม่ได้อยู่ในจุดที่ถูกต้องสำหรับการให้แสง ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นการสร้างดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าขึ้นมาใหม่ ให้ตรงกับจุดที่ต้องการ เฮลิโอแสตทเกิดขึ้นจากการนำแผ่นกระจกมาติดกับอาคาร 2 หลังที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน ในย่านที่อยู่อาศัยที่ชื่อว่า วัน เซ็นทรัล พาร์ค โดยแสงแดดที่ส่องลงมาครั้งแรกนั้น จะตกลงไปกระทบกระจกที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาของอาคารหลังที่มีระดับต่ำกว่า ก่อนจะสะท้อนขึ้นไปหาเฮลิโอสแตท ที่ติดตั้งอยู่บนอาคารหลังที่สูงกว่า– ( 29 Views)

งบวิจัยเอกชนมาแรง
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) ผู้จัดทำ “ดัชนีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เพื่อชี้วัดระดับความก้าวหน้าและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย พบว่าจากการจัดอันดับของสถาบันนานาชาติ ประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ แต่การลงทุนด้านวิจัยพัฒนาของประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว สำหรับ แนวโน้มบัณฑิตสายวิทย์ หันไปประกอบอาชีพนางแบบ สายบันเทิงหรือพนักงานขายสินค้ามากขึ้น จึงเร่งผลักดันหลักสูตรเทคโนโลยีผลิตบัณฑิตทดแทนเพื่อรองรับการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการ สวทน. กล่าวว่า การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 27 จาก 60 ประเทศ ในปี 2556 สูงขึ้นจาก อันดับ 30 ในปี 2555 โดยอยู่ในอันดับต่ำกว่า มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน หรือ การวัดระดับดัชนีความสามารถในการแข่งขันโดยรวม (The Global Competitiveness Index : GCI) โดย

พระนามาภิไธยนาโน
ภาพลายพระนามาภิไธย ที่มีขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร แต่ละเส้นมีความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 80 นาโนเมตร มีความสูงประมาณ 1 นาโนเมตร เมื่อเวลา 11.35 น.วันที่ 31 มีนาคม 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการนี้ ทรงลงพระนามาภิไธยในแผ่นจารึกในวโรกาสทรงเปิดอาคารกลุ่มนวัตกรรม ๒ และทรงเยี่ยมชมศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ทรงทอดพระเนตรสำนักงานและห้องปฏิบัติการของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ทอดพระเนตรการใช้งานกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม (Atomic force microscope) หรือ เอเอฟเอ็ม ทั้งนี้ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ทูลเกล้าถวายรูปภาพเขียนลายพระนามาภิไธยที่มีขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ซึ่งนักวิจัย ได้แสดงตัวอย่างการควบคุมโครงสร้างระดับนาโนโดยการเขียนลายพระนามาภิไธยที่มีขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ใช้เทคนิคการเขียนลวดลายที่เรียกว่า “ออกซิเดชันนาโนลิโธกราฟี (oxidation nanolithography)”– ( 28 Views)

การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors)
การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors) ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 10 วันที่ 2 เมษายน 2557 ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันการตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ท าให้สามารถตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้สะดวกขึ้น สามารถที่จะสกัดพฤติกรรมการคัดลอกผลงานของคนอื่นส่งผลให้การผลิตผลงานทางวิชาการในระดับต่างๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยได้มีการนำโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานมาใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา และมีแผนจะนำไปใช้กับการพิจารณาการให้ทุนวิจัยการพิจารณาผลงานทางวิชาการ การสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้พัฒนาโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานและความคล้ายกันของเอกสาร 3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เทคโนโลโยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ – ( 809 Views)