magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "เก็บมาเล่า เอามาฝาก" (Page 6)
formats

ความอดอยากเกิดขึ้นในภาคใต้ของซูดาน

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม  2014 การต่อสู้จะเริ่มขึ้นมาใหม่ในภาคใต้ของซูดาน สำหรับเกษตรกรจำนวนมากที่จะได้รับเมล็ดและเครื่องมือด้านการเกษตร มีผลกระทบต่อฤดูกาลเพาะปลูกหลัก ต่อไปอย่างรุนแรง ทำให้เกิดวิกฤติอาหาร นอกจากนี้ที่ดินที่เหมาะสมจะเป็นสิ่งที่หายาก หน่วยงานที่ช่วยเหลือ ได้เผยแพร่รายงานที่ตีพิมพ์วันที่ 22 เมษายนว่า วิกฤติอาหารครั้งนี้ก่อให้เกิดความกังวลในระดับของภาวะการขาดสารอาหาร เลขาธิการ สหประชาชาติ บันคีมูนได้เรียกร้อง ให้มีการ “ดำเนินการในทันที” Immediate action เพื่อหลีกเลี่ยงความอดอยากที่อาจส่งผลกระทบได้ถึงหลักล้านคน ความอดอยากครั้งสุดท้ายในแอฟริกาตีเกิดขึ้นในโซมาเลีย เมื่อปี 2011 และมีผู้คนเสียชีวิตประมาณ 260,000 คน อ้างอิง : Famine looms in South Sudan. (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 509 (7498), 12-13. http://www.nature.com/news/seven-days-25-april-1-may-2014-1.15121– ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระแสจักรยานดันธุรกิจสุดฮอต

กรุงเทพฯ 5 พ.ค.2557 – ปัจจุบันขับรถไปไหน ทั้งในเมืองหรือแหล่งท่องเที่ยว เราจะเห็นผู้ใช้จักรยานเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ทั้งเพื่อเดินทางและท่องเที่ยว กระแสความนิยมของจักรยานมาแรงขนาดไหน  ติดตามจากรายงาน. ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. http://www.mcot.net/site/content?id=536792b8be047003bc8b45c8#.U2hE1Vf9Hcs– ( 12 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ราสเบอร์รี

แรสเบอร์รี หรือ ราสเบอร์รี (raspberry) เป็นชื่อเรียกผลไม้หลายชนิดในสกุล Rubus (สกุลเดียวกับแบล็กเบอร์รี) ส่วนใหญ่อยู่ในสกุลย่อย Idaeobatus มีต้นกำเนิดมาจากแถบยุโรป ผลแรสเบอร์รีสามารถรับประทานได้ซึ่งมีทั้งรสหวานและเปรี้ยว ผลมีสีแดงขนาดเล็กและยังเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างกว้างขวางทุกสภาพภูมิอากาศทั่วโลก – ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แพร์

แพร์ (European Pear) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pyrus communis เป็นผลไม้เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในยุโรป โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่าได้มีการนำแพร์ที่เป็นพืชป่ามาปลูกเป็นพืชสวน จากหลักฐานในยุโรปสมัยยุคหินใหม่และยุคบรอนซ์ การปลูกแพร์มีบันทึกในเอกสารของกรีกโบราณและจักรวรรดิโรมัน เป็นไม้ยืนต้น ใบรูปไข่ ผิวใบเรียบ กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดผลใกล้เคียงกับแอปเปิล เปลือกบาง สุกแล้วเนื้อนิ่มมาก ฉ่ำน้ำ แพร์มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวและหวานหอม เป็นพืชคนละสปีชีส์กับสาลี่ แพร์เองแบ่งได้เป็นหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมในตลาดมากที่สุดคือ Williams pear หรือเรียกว่า Bartlett ในสหรัฐและแคนาดา เนื้อลูกแพร์ไม่แข็งเท่าเนื้อแอปเปิล นอกจากบริโภคเป็นผลไม้แล้ว แพร์ยังนำไปแปรรูปได้โดยการเชื่อม แช่อิ่ม ตากแห้ง บรรจุกระป๋อง ใช้ทำของหวาน เช่น พาย น้ำผลไม้จากลูกแพร์ที่นำไปหมักเรียก เพอร์รี (perry) แพร์  มีรสหวาน บำรุงม้าม ขับแห้ง สลายน้ำ ขับร้อน ถอนพิษ แก้ปวด มักใช้บำบัดอาการลำไส้ทำงานไม่ปกติ โรคบิด แน่นท้อง ผอมแห้ง แผลเปื่อย  

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เห็ดเผาะ

เห็ดเผาะ (Barometer Earthstars ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Astraeus hygrometricus หรือ เห็ดถอบ ในภาษาถิ่นภาคเหนือ เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในวงศ์ Lycoperdaceae โดยจัดเป็นเห็ดที่ขึ้นได้เองธรรมชาติ ลักษณะของเห็ดเผาะเป็นลูกกลมๆ ขนาด 1.5-3.5 เซนติเมตร เมื่ออ่อนจะกลม ผิวเรียบสีขาวนวล มีรอยเปื้อนดิน ไม่มีก้าน อายุมากขึ้นผิวนอกจะเป็นสีน้ำตาลหรือเกือบดำ เนื้อเหนียว เห็ดเผาะมีเปลือกสองชั้น ชั้นนอกจะแตกเมื่ออายุมาก ด้านในเป็นถุงกลมสีขาวหม่น ด้านบนจะแตกเป็นช่องให้สปอร์ฟุ้งออกมา สปอร์รูปกลม มีหนาม สีน้ำตาล ขึ้นตามดินร่วนที่ถูกไฟไหม้ เห็ดเผาะพบได้ตามภาคเหนือและภาคอีสานในประเทศไทย สามารถนำมาเป็นอาหารได้และก็มีราคาแพง เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ ที่มา : เห็ดเผาะ.ออนไลน์. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2557, จาก http://www.nextsteptv.com/?p=5383– ( 107 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง  Soybean  เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ได้มีรายงานการปลูกถั่วเหลืองในประเทศจีนเมื่อเกือบ5,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าส่วนใดของประเทศจีนเป็นถิ่นกำเนิดที่สันนิษฐานและยอมรับกันโดยทั่วไปคือบริเวณหุบเขาแม่น้ำเหลือง เพราะว่าอารยธรรมของจีนได้ถือกำเนิดที่นั่น และประกอบกับมีการจารึกครั้งแรกเกี่ยวกับถั่วเหลือง เมื่อ 2295 ปีก่อนพุทธกาล ที่หุบเขาแม่น้ำเหลือง จากนั้นถั่วเหลืองได้แพร่กระจายสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล แล้วเข้าสู่ยุโรปในช่วงหลัง พ.ศ. 2143 และไปสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2347 จากนั้นกว่า 100 ปี ชาวอเมริกันได้ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเป็นอาหารสัตว์ใช้เลี้ยงวัวโดยไม่ได้นำเมล็ดมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น จนถึงปี พ.ศ. 2473 สหรัฐอเมริกาได้นำพันธุ์ถั่วเหลืองจากจีนเข้าประเทศกว่า 1,000 สายพันธุ์ เพื่อการผสมและคัดเลือกพันธุ์ ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีเมล็ดโต ผลผลิตสูง เหมาะแก่การเพาะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดมากขึ้น – ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

115 ปี รถรางไฟฟ้ารัสเซีย

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวสารคดี 30 เม.ย.2557 – ปัจจุบันรถรางไฟฟ้ายังคงให้บริการอยู่ในหลายประเทศ เช่นเดียวกับที่รัสเซีย ซึ่งในปีนี้รถรางไฟฟ้ากรุงมอสโกมีอายุครบรอบ 115 ปีแล้ว ไปติดตามได้จากสารคดีโลกวันนี้ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. http://www.mcot.net/site/content?id=53608e9ebe0470dec18b4582#.U2HE3Vf9Hcs– ( 9 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สกว.เปิดเว็บโชว์งานวิจัยลดการขึ้นหิ้ง

สกว.จับมือสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เปิดเว็บรวมผลงานวิจัยพร้อมใช้  ผลักดันการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ลดปัญหางานวิจัยขึ้นหิ้ง ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลายาวนานในแวดวงวิจัยไทย นอกเหนือจากการที่ไทยลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาในแต่ละปีอยู่ในระดับต่ำเพียง ประมาณร้อยละ 0.2 ของจีดีพี ยังพบว่าโครงการวิจัยที่ดำเนินงานแล้วเสร็จมีการนำไปพัฒนาต่อยอดและใช้ ประโยชน์จำนวนน้อยมาก ปัจจัยดังกล่าวยิ่งส่งผลเป็นการลดทอนขีดความสามารถในการพัฒนาของประเทศให้ ต่ำลงไปอีก อย่างไรก็ตาม งานวิจัยขึ้นหิ้งเหล่านี้หากสามารถผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์อย่าง แพร่หลายและมีประสิทธิภาพ ล่าสุด สกว. และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.ได้ร่วมกันจัดทำเว็บไซต์ www.research2biz.com ซึ่งรวบรวมผลงานวิจัยที่มีศักยภาพสูงจากฝีมือนักวิจัยไทยเพื่อเป็นช่องทาง ใหม่ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยสู่ผู้ใช้ ผู้สนใจทั่วไป ด้วยรูปแบบภาษาธุรกิจที่กะทัดรัด เข้าใจง่าย เข้าถึงผู้ใช้ทุกกลุ่มและทุกระดับ  ซึ่งผลงานที่รวบรวมประกอบด้วยสาขาต่าง ๆ อาทิ เกษตร อาหารแปรรูป อุตสาหกรรมผลิตและบริการ การแพทย์และสุขภาพ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ มีทั้ง ผลงานวิจัยพร้อมใช้และงานวิจัยเพื่อร่วมพัฒนาต่อยอด. รายการอ้างอิง : 2557. สกว.เปิดเว็บโชว์งานวิจัยลดการขึ้นหิ้ง. เดลินิวส์ (ไอที). ค้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เคล็ดลับใช้ Facebook ให้ปลอดภัยบนโลกออนไลน์

ในยุคที่เส้นแบ่งระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์จางลงทุกขณะ เราต่างแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวทั้งสุขและทุกข์อย่างเปิดเผยแบบที่ไม่เคย เป็นมาก่อน เชื่อมต่อกับผู้คนที่เรารัก บันทึกทุกความเคลื่อนไหว ซึ่งทุกสิ่งนี้สามารถพบได้บน Facebook แต่ความสะดวกสบายนี้จะต้องมาพร้อมความรับผิดชอบ เนื่องจากความปลอดภัยบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งที่สำคัญไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง และผู้ใหญ่ควรมั่นใจว่าเด็ก ๆ เห็นความสำคัญนี้เช่นกัน Facebook จึงขอแนะนำขั้นตอนง่าย ๆ เพื่อรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเมื่อเข้าใช้ Facebook ไม่ว่าจะเป็นการจัดการโปรไฟล์ส่วนตัวหรือ Facebook สำหรับธุรกิจก็ตาม – ( 72 Views)

 
Tags:
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชุด‘มานี มานะ’ย้อนรำลึกแบบเรียนภาษาไทย

ถ้าเราย้อนอดีตรำลึกถึงหนังสือแบบเรียนในยุคเก่าก่อน คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าตำราเรียนทุกยุคทุกสมัยล้วนมีคุณค่าทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม วรรณคดี มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมไว้อย่างผสมกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตความเป็นไทยอย่างแท้จริง “จินดามณี” เป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระโหราธิบดี กวีในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้เรียบเรียงไว้เป็นตำราเรียนภาษาไทยไว้ให้เป็นมาตรฐานสำหรับใช้สอนให้แก่ เยาวชนไทย  เนื้อหาของหนังสือเกี่ยวกับเรื่องระเบียบของภาษา การสอนอักขรวิธีเบื้องต้น พร้อมอธิบายวิธีการแต่งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์  ซึ่งถือได้ว่าจินดามณีเป็นต้นแบบในการพัฒนาหนังสือแบบเรียนในยุคสมัยต่อ ๆ มาได้เป็นอย่างดียิ่ง ปัจจุบันพบว่า ยังมีครูผู้สอนระดับอนุบาลและระดับประถมฯ จำนวนไม่น้อยที่หยิบเอาหนังสือแบบเรียนภาษาไทยในยุคก่อนมาสอนนักเรียนที่มี ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ เป็นที่น่าปลาบปลื้มแทนผู้เขียนผู้พัฒนาเหล่านั้น  และที่น่ายินดียิ่ง นั่นคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เห็นคุณค่าของ “แบบเรียนเร็ว” ที่ใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนมาตั้งแต่ปี 2499  รื้อฟื้นนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กที่ “อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้” โดยเฉพาะ– ( 220 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments