magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "KM"
formats

Note taker (ผู้ทำหน้าที่จดบันทึก)

Note taker  หรือ ผู้จดบันทึก ในแง่ของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) นั้น เป็นบทบาทหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากจะต้องทำหน้าที่ในการจดบันทึกข้อมูลและความรู้จากการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ สรุปบทเรียน ถอดบทเรียน สิ่งที่จดบันทึกนั้น เป็นข้อมูลและองค์ความรู้ที่สำคัญยิ่งที่ได้รับจากการแบ่งปันของสมาชิกใน กลุ่มที่ร่วมกิจกรรม ผู้ที่ทำหน้าที่ Note taker ต้องฟังอย่างตั้งใจ (Deep listening) จับประเด็นความรู้ที่เป็นความรู้ปฏิบัติ มีความรู้ ความเข้าใจในสาระของเรื่องที่จดบันทึก ซึ่งผู้ที่เป็น Note taker ควรจะเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มนั้น หรือเป็นคนในกลุ่มเดียวกับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ เพราะจะได้เข้าใจและใช้ภาษาเพื่อการ สื่อสารที่ตรงกับกลุ่มได้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถสะท้อนประเด็นที่ต้องการได้ จดบันทึกโดยคงภาษาหรือคำพูดเดิมของผู้เล่าได้ เพื่อไม่ให้ความหมายผิดเพี้ยน ไม่ต่อเติมเสริมแต่งหรือข้อความหรือใส่ความคิดเห็นของตนเอง เป็นผู้ที่สามารถหยุดหรือขัดจังหวะการเล่าเรื่องอย่างมีเทคนิค เพื่อสอบถามหรือตรวจทานความถูกต้องของประเด็นที่สกัดออกมาได้จากเรื่องเล่า แต่ละเรื่องของกลุ่ม รายการอ้างอิง ประศักดิ์ หอมสนิท อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. 2554. Facilitator/Note Taker และชุมชนนักปฏิบัติ. สืบค้นจาก http://km.feu.ac.th/download/ควาามรู้เรื่องชุมชนนักปฏิบัติ.pdf เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP)

Published on February 13, 2014 by in KM

ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP) คือ กลุ่มของคนซึ่งมาแลกเปลี่ยนความรู้ ปัญหา หรือความสนใจในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง และ เรียนรู้วิธีการเพื่อให้สามารถปฏิบัติหรือทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นการแลกเปลี่ยน และสร้างทักษะ สร้างความรู้ และความเชี่ยวชาญให้เกิดขึ้นในกลุ่ม บ่อยครั้งที่เน้นในการแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practices) ชุมชนนักปฏิบัติได้กลายเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากทุกวันนี้ องค์กร กลุ่มทำงาน ทีมงาน และแม้แต่ตัวบุคคลเอง ต้องทำงานร่วมกันในแนวทางใหม่ ความร่วมมือข้ามองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญ ชุมชนนักปฏิบัติจึงเป็นรูปแบบใหม่สำหรับการเชื่อมโยงคนที่มีจิตใจในการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ และความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและถือว่าเป็นการพัฒนาองค์กร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 31 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การทบทวนหลังทำงาน หรือหลังปฏิบัติ หรือหลังกิจกรรม (After Action Review-AAR)

เป็นการทบทวนหรือเป็นกระบวนการเพื่อวิเคราะห์ว่าเกิดเหตุอะไร สาเหตุของการเกิด และจะสามารถดำเนินการให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร โดยเอาบทเรียนจากความสำเร็จและความล้มเหลวของการทำงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาหรือการปรับปรุงการทำงาน การทำ AAR เป็นรูปแบบของกลุ่มทำงานที่สะท้อน ความมีส่วนร่วมในการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น อะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สาเหตุของการเกิดและสิ่งที่ได้เรียนรู้คืออะไร การทำ AAR เริ่มใช้เป็นครั้งแรกโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา เพื่อสะท้อนถึงการทำงานโดยการจำแนกถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งที่ต้องปรับปรุง การทำ AAR มักจะใช้ 4 คำถาม คือ สิ่งที่คาดว่าจะได้จากการทำงาน คืออะไร สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร สิ่งที่แตกต่างและทำไมจึงแตกต่าง สิ่งที่ต้องแก้ไข คืออะไร และจะปรับปรุงได้อย่างไร  อ่านต่อ – ( 146 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จัดการความรู้อย่างไรที่ทำให้คนเบิกบานและงานเกิดประสิทธิผล

สรุปการบรรยายของ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เรื่อง จัดการความรู้อย่างไรที่ทำให้คนเบิกบานและงานเกิดประสิทธิผล วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 ณ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ จัดการความรู้อย่างไรที่ทำให้คนเบิกบานและงานเกิดประสิทธิผล การทำ KM มีการดำเนินการมาระยะหนึ่ง มีทั้งได้ผล และไม่ได้ผล  ที่ไม่ได้ผลนั้น เกิดจาก องค์กร มักจะทำ KM โดยวัดจำนวนกิจกรรมของการมีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge sharing)  มีงานมหกรรม/ตลาดนัด KM ตามที่เขียนไว้ในแผนหรือไม่ มีจำนวน CoP (commnuvnity of Practice) เกิดขึ้น CoP? เป็นการมอง KM เชิง Event มอง KM เป็น activity – ( 234 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หนังสือแนะนำน่าอ่าน “วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21″

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 … โดยก้าวสำคัญก้าวหนึ่งก็คือ PLC (Professional Learning Community) ซึ่งก็คือ CoP (Community of Practice) ของครูนั่นเอง และ CoP คือรูปแบบหนึ่งของ KM … ดังนั้นการจัดการความรู้เพื่อครู จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ควรศึกษาและกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน – ( 94 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments