magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by Valaiporn Changkid (Page 2)
formats

การผลิตกรดไขมันโอเมก้าสามและโอเมก้าหก จากจุลินทรีย์

ปัจจุบัน เทคโนโลยีชีวภาพด้านลิปิดมีการเติบโตอย่างเด่นชัด ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการลิปิดที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ การผลิตลิปิดจากจุลินทรีย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพนอกเหนือจากการผลิตจากแหล่งดั้งเดิมจากพืช สัตว์ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อย่างไรก็ตามในการนำลิปิดจากจุลินทรีย์มาใช้จริงในระดับอุตสาหกรรมมีข้อจำกัดทั้งด้านต้นทุน คุณภาพและปริมาณผลผลิต ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการหมักและวิศวกรรมชีวเคมี หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ จึงมุ่งเน้นศึกษาการพัฒนาการผลิตลิปิดจากจุลินทรีย์ โดยเฉพาะกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้าสามและโอเมก้าหก กรดไขมันโอเมก้าสามที่สำคัญ ได้แก่ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิค (EICOSAPENTAENOIC ACID) หรือ EPA และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิค (DOCOSAHEXAENOIC ACID) หรือ DHA ส่วนกรดไขมันโอเมก้าหกที่สำคัญ ได้แก่ กรดแกมม่าลิโนเลนิค (GAMMA-LINOLENIC ACID) หรือ GLA และกรดอะแรคชิโดนิค (ARACHIDONIC ACID) หรือ ARA หรือ AA ซึ่งกรดไขมันเหล่านี้มีประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ โดยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิต้านทาน เป็นต้น ข้อมูลเพิ่มเติม     ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ผลงานวิจัย วิชาการ สำหรับกิจกรรม NAC2014 ได้ที่

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความหลากหลายทางชีวภาพ : รา

(fungi) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายจัดอยู่ในอาณาจักรรา (Kingdom of fungi) โดยมีการค้นพบแล้วจำนวนมากกว่า 100,000 ชนิด (species) ก่อนหน้านี้มีการจัดราอยู่ในกลุ่มพืชชั้นต่ำ แต่จากความรู้ในการศึกษาระดับโมเลกุลพบว่ารามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัตว์มากกว่าพืช รามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตในระบบนิเวศ ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร จากการที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น และมีความหลากหลายของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของฤดูกาล อุณหภูมิ ความชื้นและปริมาณน้ำฝน ทำให้เกิดสภาวะที่แตกต่างกันสำหรับราหลากหลายชนิดที่เจริญ และอาศัยได้ในสภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นที่มาของความหลากหลายของราจำนวนมากในประเทศไทย สำหรับราที่ไบโอเทคดำเนินโครงการศึกษาวิจัยอยู่ขณะนี้ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ ราแมลง (Insect Pathogens) ราบนใบไม้ (Leaf Litter Fungi) เห็ด (Basidiomycetes) ราทะเล (Marine Fungi) ราเอนโดไฟท์ (Endophytic Fungi) ราย่อยสลายไม้ (วงศ์ Xylariaceae) ข้อมูลเพิ่มเติม       ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ผลงานวิจัย วิชาการ สำหรับกิจกรรม NAC2014 ได้ที่ http://www.nstda.or.th/component/content/category/259-nac2014–

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หินฟองน้ำไล่ยุง

บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด เป็นบริษัทที่ผลิตกระจกสำหรับอาคารมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และพบว่าในแต่ละเดือนจะมีเศษกระจกเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตหลายสิบตัน นายพลัฏฐ์ เลียวกิจสิริ ทายาทธุรกิจรุ่นที่สองจึงเกิดแนวคิดสร้างมูลค่าจากของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ พลัฏฐ์ เลียวกิจสิริ เผยว่าเขาเป็นทายาทรุ่น 2 ของ บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด ซึ่งมีธุรกิจผลิตกระจกสำหรับอาคาร โดยแต่ละเดือนต้องซื้อกระจกมาผลิตถึง 400 ตัน และมีเศษกระจกเหลือทิ้งที่ต้องขายคืนโรงหล่อกระจกมากถึง 40 ตัน ในฐานะผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรมของบริษัท พลัฏฐ์จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากเศษกระจกดังกล่าว และแก้ปัญหาให้แก่บริษัท และพบว่ามีงานวิจัยที่นำเศษกระจกไปทำเป็นแก้วรูพรุน หรือ หินฟองน้ำสำหรับใช้ประดับสวนได้ “แก้วรูพรุนที่ได้มีความคงตัว ไม่ยุบเพราะเผาที่อุณหภูมิสูง และสีไม่ซีดเพราะผสมผงสีลงในกระจแล้วเผา แต่นอกจากใช้เป็นหินประดับแล้ว น่าจะเพิ่มฟังก์ชันอื่นๆ ที่ไม่ขัดกับสินค้า เนื่องจากเป็นหินประดับสวน หากเติมกลิ่นไล่แมลงได้ด้วยน่าจะเป็นประโยชน์” พลัฏฐ์กล่าว ทั้งนี้ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลัฏฐ์ได้ลองฉีดกลิ่นตะไคร้หอมลงหินรูพรุน แต่กลิ่นอยู่ได้เพียง 2 สัปดาห์ จึงอยากได้วิธีที่รักษากลิ่นได้ยาวนาน ซึ่งพบว่าศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) มีเทคโนโลยีที่ช่วยกักกลิ่นได้นาน 2 เดือน จึงได้ประสานงานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี จากการสำรวจตลาดโดยให้กลุ่มร้านอาหารทดลอง พบว่าบางส่วนไม่ชอบกลิ่นตะไคร้หอม จึงเป็นโจทย์ว่าต้องพัฒนากลิ่นอื่นเติมลงไป

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สารอันตรายในบุหรี่

อ่านหนังสือที่ผลิตมาเพื่อให้เด็กๆ อ่าน ผู้ใหญ่อย่างเราๆ เมื่อได้มีโอกาสอ่านก็สนุกไปกับสำนวนและภาษาที่เข้าใจง่าย อีกทั้งยังมีภาพประกอบสีสันสวยงามประกอบเนื้อหา ยิ่งทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นไปอีก …. วันนี้ได้มีโอกาสอ่านหนังสือหลายเล่มสักหน่อย ได้เห็นเนื้อหาหลายๆ เล่มน่าสนใจ อย่างเช่นเรื่องของ “สารอันตรายในบุหรี่” พอเปิดอ่านดูก็ให้ตะลึงงันพอสมควรทีเดียวว่า พิษภัยจากควันบุหรี่นั้น แม้เราจะไม่ได้สูบ แต่เราก็ได้สูดควันบุหรี่ที่เหล่าสิงห์อมควันได้พ่นไว้เป็นภาระให้กับบรรยากาศจนเกิดเป็นมลพิษให้กับคนรอบข้าง แล้วรู้หรือไม่ว่าในควันบุหรี่นั้นประกอบไปด้วยสารอะไรกันบ้าง บุหรี่ หมายถึง ยาเส้นหรือยาเส้นปรุงซึ่งมวนด้วยกระดาษหรือวัตถุที่ทำขึ้นใช้แทนกระดาษหรือใบยาแห้งหรือยาอัด (พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509) บุหรี่มีสารประกอบต่างๆ มากกว่า 4,000 ชนิด ซ่งเป็นสารก่อมะเร็งประมาณ 69 ชนิด และเป็นสารเคมีที่เราใช้ในชีวิตประจำวันอีกมาก เมื่อเราสูดดมควันบุหรี่เข้าไปจะทำให้ร่างการได้รับสารเคมี ดังนี้ และนอกจากนี้การสูบบะหรี่ในแต่ละครั้งของบรรดาสิงห์อมควัน จุดไฟเผาบุหรี่ในแต่ละครั้งนั้นก็เหมือนกับเอาสารอันตรายต่างๆ ไปไว้ในร่างกาย มีอะไรบ้างไปดูกัน เห็นสารอันตรายแต่ละอย่างแล้วไม่น่าเชื่อว่ายังมีคนที่อ้างว่า “เครียด” แล้วไประบายออกด้วยการ “สูบบุหรี่” เพื่อนำเอาสารพิษเข้าร่างกาย ไม่น่าจะหายเครียด คิดว่าน่าจะยิ่งเครียดหนักกว่าเดิมหากรู้ว่าจุดไฟเผามวนบุหรี่แต่ละครั้ง เท่ากับ “ฆ่าตัวตายแบบผ่อนส่ง” จริงๆ แหล่งที่มา : “หนังสืออ่านประกอบการเรียนชุด “ความสุขของฉันในวันสุขภาพดี” หน่วยที่ 7 ไม่เสพ ก็ไม่ติด เรื่อง

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสุขของฉันในวันสุขภาพดี

วันนี้มีโอกาสได้จัดการหนังสือที่คงค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ (ผลัดวันประกันพรุ่งมาเนิ่นนาน…เพราะติดงานอื่นๆ) พอหยิบจับมาจัดการก็มีอันจะต้องอ่านเนื้อหาของหนังสือนั้นๆ เพื่อบริหารจัดการตัวเล่มให้แล้วเสร็จ อ่านไปจนมาถึงหนังสือชุด “ความสุขของฉันในวันสุขภาพดี” เป็นสื่อการเรียนที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของคณะครูจากโรงเรียนในจังหวัดนราธิวาสที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อการอยู่ดีมีสุข สำหรับโรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และได้รับคำปรึกษาจาก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนการดำเนินการโครงการฯ โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภา (สสส.) โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของเด็กๆ ให้ดีขึ้น โดยเริ่มจากในห้องเรียนและขยายผลไปยังชุมชน ด้วยการให้ความรู้ผ่านหลักสูตร และสื่อการสอนที่มีรูปแบบสวยงาม ทำให้เด็กๆ มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ เกิดกระบวนการคิด รวมทั้งเข้าใจและจดจำเรื่องราวต่างๆ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างได้มากยิ่งขึ้น หนังสืออ่านสนุก มีภาพการ์ตูนประกอบสดใสสีสันสวยงาม อ่านง่าย เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ (ที่ต้องการอ่านหนังสือเบาๆ) วันนี้สรุปที่มาโครงการ รวมถึงเนื้อหาต่างๆ ภายในชุดให้ได้อ่านกันก่อน โอกาสต่อไปจะนำเสนอเนื้อหาภายในเล่มแต่ละหน่วยให้ได้อ่านกันต่อค่ะ (สามารถอ่านฉบับออนไลน์ได้ที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หนังสือชุด “ความสุขของฉันในวันสุขภาพดี” ประกอบด้วย 10 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 กินอย่างฉลาด สะอาดและปลอดภัย เรื่อง

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ผลิตภัณฑ์ผสมสารสกัดจากมะขามป้อม

ใครๆ ก็ยอากที่จะมีผิวสวยสุขภาพดี สวทช. สร้างนวัตกรรมใหม่ในการดูแลผิว ด้วยการใช้สารนาโนเทคโนโลยีพัฒนาเครื่องสำอางจากสมุนไพรไทยที่ช่วยบำรุงผิวหน้าให้กระจ่างใสอย่างล้ำลึกและปลอดภัย สวทช. พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในรูปแบบครีมและเจลล้างหน้าที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนผสมสารสกัดจากมะขามป้อมที่ช่วยสีผิวขาวขึ้น ลบเลือนริ้วรอย และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว โดยกระบวนการผลิตใช้นาโนเทคโนโลยีในการห่อหุ้มสารสกัดจากมาะขามป้อม ช่วยให้สารสกัดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีได้สูงอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้นในขณะนี้ได้แก่ เจลล้างหน้า และครีมบำรุงผิว หากใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งคู่ร่วมกันจะช่วยให้ผิวขาวขึ้นหลังจากใช้ไปแล้ว 2-8 สัปดาห์ และผิวจะมีความชุ่มชื้นขึ้น 9% ใน 6 สัปดาห์ ข้อมูลเพิ่มเติม งานวิจัยและพัฒนานี้ ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับ บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด เรียบร้อยแล้ว สามารถสอบถามข้อมูลด้านการจัดจำหน่ายได้ที่ 0 2718 3183-7 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมด้านงานวิจัยและพัฒนา ได้ที่ 2 2564 8000 หรือ info@nstda.or.th– ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับงานทันตกรรม

เวลาพวกเราไปทำฟันหลายคนคงจะเคยได้รับการเอ็กซเรย์ช่องปากกันบ้าง เครื่องเอ็กซเรย์โดยทั่วไปจะเป็นภาพแบบ 2 มิติ เห็นแค่ความสูงแต่จะไม่เห็นถึงความหนาของกระดูกทำให้หมอฟันต้องทำการผ่าเปิดแผลขนาดใหญ่ และภาพที่ได้ก็ไม่ชัดเจน… แล้วอย่างนี้จะมีเทคโนโลยีดีๆ มาช่วยให้ทันตแพทย์รักษาเราได้ดีขึ้นบ้างหรือไม่? นักวิจัยของ สวทช. ได้พัฒนาเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่องานทันตกรรม หรือ เดนตีสแกน (DentiiScan) ซึ่งให้ข้อมูลภาพแบบ 3 มิติ โดยใช้เครื่องกำเนิดรังสี X ที่มีลำแสงแบบทรงกรวย และฉากรับภาพที่อยู่ตรงข้ามกัน โดยอุปกรณ์นี้จะทำการหมุนรอบศีรษะ 1 รอบเพื่อเก็บข้อมูลและส่งต่อให้ Software ประมวลผลสร้างเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งภาพที่ได้จะเห็นกระโหลกศีรษะและขากรรไกรของผู้ป่วยในทุกๆ มิติ จึงช่วยให้การวินิจฉัยโรคบริเวณช่องปากมีความแม่นยำ สามารถวางแผนทางทันตกรรมได้อย่างรวดเร็ว การทำศัยกรรมช่องปากเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและทันตแพทย์สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น เดนตีสแกน (DentiiScan) ผลงานการวิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ติดตามชมรายการ พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ย้อนหลังได้ที่ พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน จุลินทรีย์ขจัดคราบน้ำมัน พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ปราบหนอนกระทู้หอมโดยไม่ใช้สารเคมี พลังวิทย์

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน คิว แอคเน่ (Q-Acnes) แผ่นแปะสิวนาโน

แผ่นแปะสิวเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ปกปิดร่องรอยของสิวที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป แต่เราจะหาแผ่นแปะสิวดีๆ บางๆ ใช้งานง่ายและเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสิวได้บ้างหรือไม่? สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์นานโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ได้พัฒนาแผ่นแปะสิว Q-Acnes ที่ใช้เทคโนโลยีการปั่นเส้นใยนาโน ทำให้ได้เส้นใยระดับนาโนเมตรนำมาขึ้นรูปเป็นแผ่นแปะ 3 ชั้น ชั้นบนสุด เป็นเส้นใยสีเนื้อที่ออกแบบให้กลมกลืนกับสีผิว ชั้นกลาง เป็นเส้นใยที่ผสมสารสกัดจากเปลือกมังคุดมีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งและลดการอักเสบของสิว ชั้นในสุด เป็นเส้ยใยกาวที่บางมากปิดได้แนบสนิทกับผิวหน้า แผ่นแปะสิว Q-Acnes มีจุดเด่นตรงที่มีพื้นที่ผิวในการปลอดปล่อยสารออกฤทธิ์ ที่มีส่วนลดการอักเสบของสิวมากกว่า นอกจากนี้ยังมีรูพรุนทำให้ระบายอากาศได้เป็นอย่างดีทำให้ไม่อับชื้น มีความบางสามารถแปะและแต่งหน้าทับได้อย่างเรียบเนียน ช่วยลดสัมผัสจากสิ่งปนเปื้อนจากภายนอก สิวจึงหายได้เร็วขึ้น ติดตามชมรายการ พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน คิว แอคเน่ (Q-Acnes) แผ่นแปะสิวนาโน ได้ที่ NSTDAChannel TVstation– ( 4 Views)– ( 59 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ใช้ชีวิตติดจอ อันตรายเสี่ยงสารพัดโรคตา

จักษุแพทย์เตือนคนยุคใหม่ใช้ชีวิตติดจอ นานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก เพิ่มโอกาสที่จะทำให้สายตาเสีย หากเกิดอาการตาเบลอ ตาแห้ง แสบตา สู้แสงไม่ได้  นั่นเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณไม่รู้ตัว ส่งผลต่อการเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่น ซินโดรม  และเสี่ยงต่อสารพัดโรคตา พญ.วรางคณา ทองคำใส จักษุแพทย์ หัวหน้าฝ่ายบริการทางการแพทย์ สนง.บรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เผยว่า คนยุคใหม่มีไลฟ์สไตล์แบบ “ชีวิตติดจอ” ใช้จอต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น จอคอมพิวเตอร์ จอแท็บเล็ต หรือ จอสมาร์ทโฟน ในการอัพเดทสถานะ โซเซียลมีเดีย เล่นเกม ดูหนัง ดูซีรี่ส์ ส่งข้อความ ซื้อของออนไลน์ ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ทำให้เราใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งพบว่า อัตราการใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์และจอต่างๆ โดยเฉลี่ยวันละ 8-10 ชั่วโมงทีเดียว “การที่คนเราใช้สายตาส่วนใหญ่ในการจ้องมองหน้าจอ หรือจ้องตัวหนังสือที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์  รวมไปถึงจอสมาร์ทโฟนนานๆ นั้น จะส่งผลให้กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก เพิ่มโอกาสที่จะทำให้สายตาเสียได้มากกว่าการอ่านหนังสือ หรือทำงานในกระดาษ โดยจากสถิติพบว่า ถ้าคนเราใช้สายตาอยู่กับหน้าจอต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พัฒนาชุมชนและผู้ด้อยโอกาส

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อยู่ห่างไกลและเข้าถึงเทคโนโลยีได้ยาก จึงดำเนินโครงการบริหารจัดการและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่พื้นที่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ผ่านกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร อาชีพ คุณภาพชีวิต แะลสิ่งแวดล้อม บนฐานเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งกิจกรรมสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่สาธารณะ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรมวิทย์-เทคโนสัญจร ค่าย เด็กเยาวชนและครู กิจกรรมสร้างสื่อวิทยาศาสตร์หลากหลายรูปแบบเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้หรือสร้างอาชีพ กิจกรรมของฝ่ายพัฒนาชุมชนและผู้ด้อยโอกาส แผนการอบรม ผลการอบรม งานประชุมวิชาการ รายการโทรทัศน์ (ชาววิทย์ ชิดชาวบ้าน) เยี่ยมฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ที่ http://nstda.or.th/rural/– ( 14 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments