magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by tipparat (Page 2)
formats

ในไม่ช้าพวกเราจะได้เห็นผลไม้ที่ได้รับการพัฒนาทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป

จากเผยแพร่ในวารสาร Trends in Biotechnology ความก้าวหน้าเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงของจีโนมทำได้อย่างแม่นยำ ทำให้เป็นไปได้ที่ผลไม้และพืชอื่นๆ อาจจะได้รับการพัฒนาทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป ผลไม้ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป (genetically edited fruits) อาจได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปมากกว่าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organisms, GMOs) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป นี่สามารถหมายความว่าผลไม้ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านยีนแปลกปลอมเข้าไป เช่น กล้วยชนิดพิเศษซึ่งผลิตวิตามิน เอ มากขึ้นสามารถปรากฏบนชั้นของร้านขายของชำ ติดตามอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ : Cell Press (2014, August 13). Coming soon: Genetically edited ‘super bananas’ and other fruit?. ScienceDaily. Retrieved September 30, 2014, from http://www.sciencedaily.com/releases/2014/08/140813131044.htm– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชุดทดสอบ (ทางเคมี) อย่างง่ายทำงานอย่างไร?

Published on August 13, 2014 by in S&T Stories

หลายคนคงรู้ว่าชุดทดสอบอย่างง่าย (test kit) มักใช้เพื่อคัดกรองตัวอย่าง ก่อนที่จะนำไปทดสอบอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำสูง เพื่อให้ได้ผลถูกต้องมากขึ้น มีบทความหนึ่งแนะนำให้พวกเรารู้จักชุดทดสอบอย่างง่ายมากขึ้น เช่น พูดถึงหลักการทำงานของชุดทดสอบอย่างง่าย ชุดทดสอบอย่างง่ายที่ดีควรมีสมบัติอย่างไร ปฏิกริยาเคมีที่นำมาใช้กับชุดทดสอบอย่างง่ายมีหลายปฏิกิริยา ได้แก่ 1. ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับด่าง 2. ปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน 3. ปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน 4. ปฏิกิริยาของเอนไซม์ นอกจากนี้ในบทความยังอธิบายหลักการทำงานของชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : ศุภมาส ด่านวิทยากุล. “ชุดทดสอบ (ทางเคมี) อย่างง่ายทำงานอย่างไร?” เทคโนโลยีวัสดุ. 74 : 17-20 : กรกฎาคม – กันยายน 2557.– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สนุกกับผลึกหิมะ

Published on August 13, 2014 by in S&T Stories

เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีโอกาสอ่านบทความเรื่อง สนุกกับผลึกหิมะ มีการแนะนำให้รู้จักผลึกหิมะหลากหลายแบบพร้อมทั้งมีรูปภาพประกอบ เช่น ผลึกหิมะรูปปริซึมอย่างง่าย (simple prism) เป็นผลึกหิมะที่มีรูปร่างอย่างง่ายๆ มีรูปร่างคล้ายกล่องขนม Koala’s March ซึ่งมีหน้าตัดรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า หากยาวหน่อยก็เรียกว่า แท่ง (column) แต่หากสั้นและแบนก็เรียกว่า แผ่น (plate) ผลึกหิมะรูปปริซึมยังสามารถมีฝาปิดทั้ง 2 ด้าน บน-ล่าง โดยฝาปิดอาจมีรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลาย ผลึกหิมะแบบนี้เรียกว่าแท่งมีฝาปิด (capped column) นอกจากนี้ในบทความยังพูดถึงโมเดลผลึกหิมะและการสร้างซึ่งเกิดจากแรงบันดาลใจให้คนเราสร้างสรรค์งานศิลปะง่ายๆ จากผลึกหิมะในธรรมชาติ ติดตามอ่านเรื่องราวฉบับเต็มได้จาก : บัญชา ธนบุญสมบัติ. “สนุกกับผลึกหิมะ” เทคโนโลยีวัสดุ. 74 : 13-16 : กรกฎาคม – กันยายน 2557.– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หมัดทรงพลังของกั้งตั๊กแตน 7 สี: ต้นแบบวัสดุที่รอคอย

Published on August 13, 2014 by in S&T Stories

คณะนักวิจัยนำโดยเดวิด ไคเซลอัส (David Kisailus) วิศวกรเคมีของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ได้พัฒนาวัสดุชนิดใหม่ที่มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงสูงได้สำเร็จโดยการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งทำให้ความต้องการของมนุษย์ที่จะมียานพาหนะประหยัดพลังงาน เสื้อเกราะทรงประสิทธภาพ หรืออุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บของนักกีฬาที่ได้ผลชะงัดคงเป็นไปได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า กั้งตั๊กแตน 7 สีมีหมัดที่หนักกว่าน้ำหนักของตัวเองมากกว่า 1,000 เท่า มีความเร็วราว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และที่สำคัญสามารถชกเหยื่อได้มากถึง 50,000 ครั้งโดยกำปั้นของมันไม่ได้รับความเสียหายใดๆ นอกจากนี้การชกเป็นชุดอย่างรวดเร็วจะทำให้น้ำบริเวณรอบๆ หมัดร้อนเหมือนน้ำต้ม เกิดฟองอากาศจำนวนมากไประเบิดบนตัวเหยื่อ เหยื่อจึงเหมือนโดนชกซ้ำอีกรอบ ด้วยเหตุนี้เองทำให้คณะนักวิจัยของไคเซลอัสสนใจและพยายามที่จะไขความลับที่ซุกซ่อนอยู่ในกำปั้นของกั้งตั๊กแตน 7 สี ติดตามอ่านเรื่องราวทั้งหมดได้จาก : อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร. “หมัดทรงพลังของกั้งตั๊กแตน 7 สี: ต้นแบบวัสดุที่รอคอย” เทคโนโลยีวัสดุ. 74 : 11-12 : กรกฎาคม – กันยายน 2557.– ( 799 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เชื้อเพลิงจากสาหร่าย

Published on August 11, 2014 by in S&T Stories

ปัจจุบันน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้นมาก เพราะปริมาณน้ำมันในธรรมชาติเริ่มลดน้อยลง หลายคนเกรงว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันไปทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการมองหาแหล่งเชื้อเพลิงทางเลือกอย่างเร่งด่วน แนวทางหนึ่งที่กำลังเป็นที่น่าจับตามองคือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของสาหร่ายบางชนิดให้กลายเป็นแหล่งผลิตน้ำมันขนาดจิ๋ว นักวิทยาศาสตร์มีแนวทางในการพัฒนาอย่างไร ทำไมต้องเป็นน้ำมันจากสาหร่าย และสิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจเลือกใช้สาหร่ายคืออะไร ติดตามหาคำตอบได้จากบทความเรื่อง เชื้อเพลิงจากสาหร่าย เขียนโดย อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร ในวารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 61 : ตุลาคม – ธันวาคม 2553 หน้า 29-35– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คู่กัดเทคโนโลยี: ไฟฟ้ากระแสตรง VS กระแสสลับ

Published on August 11, 2014 by in S&T Stories

ครั้งหนึ่งเคยเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า สงครามกระแสไฟ (currents war) แต่สงครามนี้ไม่ใช่การแย่งกันใช้กระแสไฟฟ้า แต่เป็นการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยีไฟฟ้ากระแสตรงที่พัฒนาโดยโทมัส อัลวา เอดิสัน  (Thomas Alva Edison) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเกิดก่อนกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นภายหลังอย่างไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งพัฒนาโดยนิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) ติดตามอ่านเรื่องราวที่มาของเหตุการณ์ในครั้งนั้นและการก่อกำเนิดของไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับได้จากบทความเรื่อง คู่กัดเทคโนโลยี: ไฟฟ้ากระแสตรง VS กระแสสลับ เขียนโดย The One ในวารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 61 : ตุลาคม – ธันวาคม 2553 หน้า 19-23– ( 89 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ท่อนาโนคาร์บอน: วัสดุในอนาคต

Published on August 11, 2014 by in S&T Stories

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ท่อนาโนคาร์บอน และรู้ว่าท่อนาโนคาร์บอนนี้นำไปประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง เช่น วัสดุอิเล็กโทรดในวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดความต้านทาน ท่อนาโนคาร์บอนที่มีสมบัติเป็นวัสดุกึ่งตัวนำสามารถสร้างเป็นเซนเซอร์ในการตรวจวัดแก๊ส ด้วยคุณสมบัติพิเศษด้านความแข็งแรงของท่อนาโนคาร์บอนที่เหนือกว่าโลหะและวัสดุอื่นๆ จึงนำไปใช้สร้างความแข็งแรงให้กับไม้เทนนิส ไม้เบสบอล จักรยาน ถึงอย่างไรก็ตามยังมีหลายคนอยากรู้จักท่อนาโนคาร์บอนให้มากขึ้น ติดตามอ่านบทความที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจเรื่อง ท่อนาโนคาร์บอน: วัสดุในอนาคต ซึ่งได้พูดถึงหัวข้อ มารู้จักกับท่อนาโนคาร์บอน การสังเคราะห์ท่อนาโนคาร์บอน สมบัติของท่อนาโนคาร์บอนกับการประยุกต์ใช้ ได้จาก : อภิชาติ ด่านวิทยากุล. “ท่อนาโนคาร์บอน: วัสดุในอนาคต” เทคโนโลยีวัสดุ. 61 : 13-18 : ตุลาคม – ธันวาคม 2553.– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มุมกลับของนาโนซิลเวอร์

Published on August 11, 2014 by in S&T Stories

ในช่วงที่นาโนเทคโนโลยีกำลังมาแรง หลายคนต้องเคยได้ยินคำโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากมายที่ใช้นาโนซิลเวอร์ เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร เสื้อผ้าที่ปราศจากกลิ่น อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยผู้ผลิตจะกล่าวถึงสมบัติเด่นของนาโนซิลเวอร์ที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี ถึงอย่างไรก็ตามอาจมีคำถามว่าหากอนุภาคนาโนซิลเวอร์ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมจะมีผลกระทบอะไรบ้าง? ติดตามอ่านบทความที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจเรื่อง มุมกลับของนาโนซิลเวอร์ ได้จาก : ต้นน้ำ. “มุมกลับของนาโนซิลเวอร์” เทคโนโลยีวัสดุ. 61 : 8-12 : ตุลาคม – ธันวาคม 2553.– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิธีการใหม่ใช้เพื่อตรวจสอบเชื้อมาลาเรียที่ดื้อต่อยา artemisinin

Published on June 17, 2014 by in S&T Stories

นักวิจัยจาก National Institute of Allergy and Infectious diseases ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ National Institutes of Health ร่วมมือกับนักวิจัยชาวฝรั่งเศสและกัมพูชาในประเทศกัมพูชา พัฒนา 2 วิธีการตรวจสอบเชื้อมาลาเรียดื้อต่อยา artemisinin หรือไวต่อยา artemisinin โดยรู้ผลการตรวจสอบในเวลาเพียง 3 วัน ซึ่งมีข้อดีคือรู้ผลการตรวจสอบที่รวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายน้อยในการตวจสอบ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการตรวจสอบการตอบสนองต่อยา (drug-responsiveness tests) ที่เป็นวิธีการที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยวิธีดังกล่าวต้องมีการเก็บตัวอย่างเลือดทุกๆ 6 ชั่วโมงเป็นเวลาหลายวันจากผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย วิธีแรกเป็นการตรวจสอบเลือดที่ได้จากผู้ป่วยมาลาเรียในเวลาเดียวกับการให้ยาครั้งแรกที่มี artemisinin เป็นส่วนประกอบเพื่อทำการรักษาโรคมาลาเรีย วิธีการนี้สามารถทำนายว่าผู้ป่วยมีเชื้อมาลาเรียที่ดื้อต่อยาแบบมีการกำจัดยาแบบช้าๆ นอกจากนี้ยังใช้ติดตามการเกิดขึ้นหรือการแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียที่ดื้อต่อยา artemisinin ในการศึกษาครั้งนี้นักวิจัยใช้วิธีการนี้ตรวจสอบเชื้อมาลาเรียที่ดื้อต่อยา artemisinin ในพื้นที่กัมพูชาตอนเหนือและทางตะวันออกเป็นครั้งแรก วิธีที่สองทำการตรวจสอบกับเชื้อมาลาเรียที่เจริญในห้องปฏิบัติการ โดยต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการนำเชื้อมาลาเรียจากผู้ป่วยแล้วนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ แล้วให้ยากับเชื้อมาลาเรียที่มีอายุ 3 ชั่วโมงหรือมีอายุน้อยกว่า โดยวิธีการนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการศึกษาในอนาคตเพื่อให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานระดับโมเลกุลของการดื้อต่อยา artemisinin และเพื่อใช้ในการหายารักษาโรคมาลาเรียชนิดใหม่ ที่มา: NIH/National Institute of Allergy and Infectious

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ค้นพบสารประกอบเกลือแกงชนิดใหม่

นักเคมี Artem Oganov ของมหาวิทยาลัย Stony Brook University รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทดลองในสภาวะที่มีอุณหภูมิและความดันสูง แล้วพบว่า เกิดสารประกอบชนิดใหม่ โดย Oganov กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นสิ่งท้าทายสำหรับนักเคมี ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากทฤษฎี ซึ่งโดยปกติแล้วอะตอมโซเดียมและคลอไรด์จับกันแบบ 1 ต่อ 1 (NaCl) ซึ่งมีพันธะภายในจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบเป็นรูปทรงลูกบาศก์ ในขณะที่ในสภาวะสุดขีด (Extreme condition) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความดัน สามารถเปลี่ยนปฏิกิริยาและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม เช่น ความดันสูงจะสามารถเปลี่ยนพันธะไอออนนิคในสารจำพวกเกลือที่ยอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น หรือพันธะโลหะ ซึ่งมีอิเล็กตรอนเคลื่อนย้ายโดยรอบอย่างอิสระ ส่งผลให้อะตอมโซเดียมและคลอไรด์สามารถจับกันได้ในอัตราส่วน 1 ต่อ 3, 3 ต่อ 2 และ 1 ต่อ 7 เช่น สารประกอบโซเดียมไตรคลอไรด์ (NaCl3) ซึ่งอาจจะมีคุณสมบัตินำไฟฟ้า ถึงอย่างไรก็ตามการค้นพบสารประกอบใหม่นี้ยังไม่มีความเสถียร ถ้าหากมีการปรับสภาวะ เช่น ลดความดัน ลดอุณหภูมิ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news ที่มา:

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments