magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน ความคาดหวังในการนำธาตุบนดวงจันทร์มาใช้ประโยชน์
formats

ความคาดหวังในการนำธาตุบนดวงจันทร์มาใช้ประโยชน์

มีการศึกษาทางด้านอวกาศพบว่าดวงจันทร์มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุผิวดิน ธาตุที่หายากบนโลกมนุษย์และน้ำแข็งที่เกิดจากสารประกอบของน้ำ ซึ่งพบโดยประมาณ 1.6 พันล้านตันที่ขั้วดวงจันทร์ จากการตีพิมพ์ของนิตยสาร Physics World นักเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์ Richard Corfield กล่าวถึงวิธีการที่บริษัทเอกชนและหน่วยงานด้านอวกาศมีความต้องการที่จะนำแหล่งทรัพยากรเหล่านี้มาใช้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ในอนาคต และเปลี่ยนภูมิทัศน์ที่แห้งแล้งให้กลายเป็นเงิน บริษัท Shackleton Energy Company (SEC) ใน Texas มีแผนที่จะทำเหมืองสำรองขนาดใหญ่ โดยส่งคนและหุ่นยนต์เพื่อขุดเหมืองที่ขั้วดวงจันทร์ และทำการสกัดไฮโดรเจนและออกซิเจนจากน้ำแข็ง เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบเชื้อเพลิงจรวดและสามารถขายให้กับคู่ค้าในอวกาศในวงโคจรโลกต่ำ (low Earth orbit) Dale Tietz ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท SEC กล่าวถึงแผนการสร้างสถานีบริการเชื้อเพลิงในอวกาศ โดยที่จะมีเชื้อเพลิงสำหรับจรวดขายในราคาที่ถูกกว่าการส่งเชื้อเพลิงไปจากโลก Moon Express เป็นอีกหนึ่งบริษัทเงินทุนเอกชนที่ทำการศึกษาทรัพยากรบนดวงจันทร์ที่ให้ความสนใจในการสกัดส่วนประกอบน้ำแข็งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตเป็นพลังงานเชื้อเพลิง แต่อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป โดยวางแผนที่จะดำเนินการผลิตเชื้อเพลิงโดยการใช้ high-test peroxide (HTP) ซึ่งเป็นที่รู้จักและมีการใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวดมาเป็นระยะยาวนาน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/20077-science-and-technology-news

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2558). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2558. ค้นข้อมูลวันที่ 8 เมษายน 2558 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× nine = 27

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>