บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)

สท. และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) มีความร่วมมือในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ส่งเสริมและแก้ปัญหาให้เกษตรกรในพื้นที่การดำเนินงานของบริษัทฯ อาทิ การถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกกาแฟ การแก้ปัญหามอดกาแฟและการแปรรูป การทำเกษตรในระบบอินทรีย์ การเชื่อมโยงเครือข่ายและศึกษาดูงานการผลิตและแปรรูปแมคคาเดเมียอย่างครบวงจร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือเผยแพร่ชุดความรู้เทคโนโลยีด้านเกษตรของ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ผ่านแอปพลิเคชั่น Por-Pieng ที่บริษัทฯ พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นช่องทางขยายองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายและผู้สนใจ

“มะคาเดเมีย”…แรงบันดาลใจจากพ่อหลวง

“มะคาเดเมีย”…แรงบันดาลใจจากพ่อหลวง

ความแห้งแล้ง ความจน เป็นต้นเหตุ    ให้พลัดเขต บ้านเกิด เตลิดหนี ย้ายถิ่นฐาน ดิ้นรน ให้อยู่ดี                        มาถึงที่ นาแห้ว จังหวัดเลย เป็นหญิงแกร่ง แห่งเมืองย่า อย่าท้อถอย  เริ่มจากน้อย ค่อยสร้างไป ไม่นิ่งเฉย ทำเกษตรฯ เลี้ยงสัตว์ อย่างที่เคย         จนงอกเงย มีพอใช้ ได้แบ่งปัน เอาคำสอน

เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางเกษตรด้วย “การแปรรูป”

เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางเกษตรด้วย “การแปรรูป”

จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกสตรอเบอรี่ให้กับชุมชน ไม่เพียงการจำหน่ายผลสดจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกแล้ว ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสตรอเบอรี่ก็ได้ความรับนิยมจากผู้บริโภคเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น น้ำสตรอเบอรี่ แยมสตรอเบอรี่ จากการรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปสตรอเบอรี่ นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มแปรรูปและจดทะเบียนในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนภายใต้ชื่อ “กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านบ่อเหมืองน้อย” ในปี 2546 ผลิตภัณฑ์แปรรูป ได้แก่ น้ำสตรอเบอรี่ แยมสตรอเบอรี่ น้ำเสาวรส มะคาเดเมียอบแห้ง และช็อคโกแลตมะคาเดเมีย กลุ่มแปรรูปฯ มีเงินหมุนเวียนจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กว่า 7.5 ล้านบาท (ปี 2557) สมาชิกมีรายได้เฉลี่ย 5 หมื่นบาท/คน/ปี และยังสร้างงานให้คนในชุมชนอีก 20 คน สำหรับการแปรรูปมะคาเดเมียนั้น สวทช. ได้สนับสนุนสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พัฒนา “เครื่องอบแห้งมะคาเดเมียโดยใช้กะลามะคาเดเมียทดแทนการใช้ก๊าซแอลพีจี” และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้ชุมชน ทำให้กลุ่มแปรรูปฯ ลดค่าใช้จ่ายการใช้ก๊าซ LPG

จุดเปลี่ยนชีวิต..จุดพลิกเกษตรกร

จุดเปลี่ยนชีวิต..จุดพลิกเกษตรกร

อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลติดชายแดนอันดับต้นๆ ของประเทศ หากเดินทางต่อตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1328 จะยิ่งเข้าใกล้แม่น้ำเหืองซึ่งคั่นพรมแดนระหว่างไทยและ สปปป.ลาว เป็นที่ตั้งของบ้านห้วยน้ำผักและบ้านบ่อเหมืองน้อยซึ่งกองทัพภาคที่ 2 ขอจัดตั้งหลังเสร็จศึกร่มเกล้าด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง พร้อมกับรับสมัครทหารกองหนุนเข้ามาอยู่หมู่บ้านละ 75 ครอบครัว จัดสรรที่ดินทำกินให้ครอบครัวละ 10 ไร่ และส่งเสริมให้ปลูกพืชตามแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องด้วยศักยภาพพื้นที่และภูมิอากาศเหมาะแก่การปลูกพืชเมืองหนาว “ในพื้นที่ 10 ไร่ไม่ได้ให้อิสระในช่วงเริ่มต้น แต่บังคับให้ปลูกพืชยืนต้น คือ แมคคาเดเมียคนละ 50 ต้น อะโวคาโด พลับ ท้อ และพืชที่นำพันธุ์มาแจกให้ ส่วนพืชระยะสั้นเป็นสตรอว์เบอร์รี่ เสาวรสคนละ 2 ไร่ เพราะเป็นพืชที่ได้ผลผลิตเร็ว คนปลูกจะได้เลี้ยงตัวเองได้เร็ว นอกนั้นจะปลูกข้าวโพดหรืออะไรอื่นก็ได้”  กัลยณัฎฐ์