จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานเกษตรอำเภอวังเหนือ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายคำ เปิด “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน” ณ สุขใจฟาร์ม ต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง พร้อมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การผลิตกล้าคุณภาพและการเพาะต้นอ่อน โดยมี นางวณิชดา ไชยศิริ นายอำเภอวังเหนือ เป็นประธานเปิดงาน “เราเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีองค์ความรู้เกษตรอะไรเลย ได้แต่ดูจากยูทูป กูเกิ้ล ซึ่งไม่สามารถให้องค์ความรู้กับเราได้ 100% จนได้ไปอบรมการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพกับ สวทช.-ม.แม่โจ้ เป็นองค์ความรู้ตามหลักวิชาการ เอามาปรับใช้กับพื้นที่ของเรา ได้ลองผิดลองถูก จนปีนี้เข้าสู่ปีที่ 6 เราพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้เผยแพร่ความรู้ให้คนในชุมชนได้ผลิตผักอินทรีย์มีคุณภาพ เราเชื่อว่าความรู้ที่ได้ทำให้คุณภาพของผักและคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงๆ” นายภัทรพล วนะธนนนท์

สวทช. ร่วม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก”

สวทช. ร่วม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก”

เมื่อวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก” ในงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 8 ณ สวนสามพราน ต.ยายชา อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่ง สท. ได้ร่วมจัดกิจกรรมเสวนา นิทรรศการให้ความรู้ และกิจกรรมฝึกปฏิบัติการ (workshop) เสวนา “ปลูกผักให้มีคุณภาพ” และ “ห่วงโซ่อาหารโมเดลถั่วเขียว KUML อินทรีย์” สองหัวข้อเสวนาที่ สท. ได้นำเสนอบทบาทการทำงานในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพและการผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์ โดยมีคุณณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท.

อยู่ดีมีแฮง..ม่วนหลายกับท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา

อยู่ดีมีแฮง..ม่วนหลายกับท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา

“ฉันมีโอกาสได้ไปทำงานและรับบทเป็นนักท่องเที่ยว ไปเที่ยวชุมชนแห่งนี้พร้อมๆ กับพี่ๆ นักท่องเที่ยว 16 คน จากบ้านรวมไทย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อช่วงวันที่ 25-27 มกราคม 2566 นี่เป็นครั้งแรกที่ชุมชนเปิดรับนักท่องเที่ยว ทดลองจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเรียนรู้และพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร-สุขภาพได้เต็มรูปแบบต่อไป …จากที่ฉันได้ไปสัมผัสก็บอกได้ทันทีว่าชุมชนฆ้องชัยแห่งนี้ “มีอะไรดี…” น.ส.ขวัญธิดา ดงหลง นักวิชาการ ฝ่ายจัดการความรู้และสร้างความตระหนัก หากอยากปลดปล่อยความเหนื่อยล้าจากการงาน พักสายตากับทุ่งนาเขียวขจี อิ่มหนำกับเมนูอาหารพื้นถิ่นจากแปลงเกษตรอินทรีย์ อิ่มเอมใจกับรอยยิ้มและมิตรภาพของผู้คนแล้วล่ะก็ อยากให้ได้ลองมาสัมผัสบรรยากาศของที่แห่งนี้ “ชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์” อากาศดี “โฮมสเตย์กำนันแดง” ตั้งอยู่กลางทุ่งนาเขียวขจี สายหมอกจางๆ ต้องแสงแดดอ่อนยามเช้ารับกับเสียงไก่ขัน ปลุกความสดชื่นให้นักท่องเที่ยวได้สูดรับอากาศบริสุทธิ์เต็มอิ่ม บ้านไม้ชั้นเดียวร่มรื่นด้วยต้นไม้รอบบ้าน ชวนให้ลงเดินเล่นที่นี่ยังเป็นแหล่งเลี้ยงและอนุรักษ์ควายไทย 14 ตัว

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เก็บตก!! งานสัมมนาและแสดงนวัตกรรม สวทช. – วิทย์สัญจร วิจัยเข้มแข็งเสริมแกร่งภูมิภาค ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา จัดโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสร้างสรรค์ พันธมิตรร่วมใจ ล้านนาก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจคือ “เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน” ชีวิตที่เลือกเป็น “เกษตรกร” จากอดีตลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ตัดสินใจนำเงินเก็บสะสมไปซื้อที่ดินในอ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อเป็นเกษตรกรเมื่อปี 2532 เริ่มต้นจากปลูกสับปะรด ข้าวโพดอ่อน แต่การรับซื้อที่ถูกกดราคา

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิด “สถานีเรียนรู้ (Training Hub) ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ” ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมีนางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี (สท.) เป็นผู้แทนจาก สวทช. เข้าร่วมงาน ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว สวทช. โดย สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาสถานีเรียนรู้ (Training Hub) เพื่อรองรับการเรียนรู้ระดับภาคสนามให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของทั้งสองหน่วยงานผ่านหลักสูตรการอบรม ฐานเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มต้นจากฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ในพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ฟาร์ม 907 ไร่)

กิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดกิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับ ปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’ เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้  (บนฟาร์ม 907 ไร่) โดยมี 2 กิจกรรม ได้แก่  > สาธิต “เพาะกล้าดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”โดย อาจารย์ทวีป เสนคำวงศ์อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ > เสวนา เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ ให้ ‘ตลาด’ จำโดย คุณภัทรพล วนะธนนท์ เกษตรกรเจ้าของ

“ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริง และความรู้เกษตรอินทรีย์

“ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริง และความรู้เกษตรอินทรีย์

จะปลูกพืชชนิดไหน ต้องหาความรู้ว่าพืชต้องการอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ เพื่อลดความเสี่ยงการผลิต แล้วจัดการให้ได้ ผลผลิตก็จะได้ 100% -ภิญญา ศรีสาหร่าย- “กลับบ้านเถอะลูก พ่อปลูกต้นท้อไว้รอเจ้า  กลับบ้านสู่บ้านเรา ไหนว่าเจ้าไปเพื่อเรียน หลายปีผ่านไป สุขทุกข์อย่างไร พ่อรออยู่    ดอกท้อชู ช่อชู ไกลสุดกู่ หรืออย่างไร พ่อทำฝนเทียมและห้วนฝาย ไว้คอยเจ้า พร้อมเมล็ดพันธุ์ชนิดใหม่ๆ เจ้าจงมาเตรียมการหว่านไถ่ เพื่อจะได้มีอยู่ มีกิน กลับบ้านเถอะลูก เจ้ากลับบ้านถูกใช่ไหม    เจ้าจงมาเป็นชีวิตใหม่ เป็นแสงตะเกียงและเสียงพิณ ให้ผู้อยู่ถิ่น…ได้ชื่นใจ” “แม่ไม่เคยบอกให้ลาออกจากงานมาปลูกผัก แม่ไม่เคยรู้ว่าได้เงินเดือนเท่าไหร่ ทุกเดือนแม่ยังส่งเงินให้” ภิญญา ศรีสาหร่าย สมาชิกกกลุ่มร่มโพธิ์ เครือข่ายมูลนิธิสังคมสุขใจ สามพรานโมเดล อดีตวิศวกรเงินเดือนเฉียดแสน