สท. พร้อมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ติดตามกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML อำนาจเจริญ-ยโสธร-ศรีสะเกษ

สท. พร้อมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ติดตามกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML อำนาจเจริญ-ยโสธร-ศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ 9-12 มกราคม 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยวิจัย ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วย รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ลงพื้นที่ติดตาม ให้คำปรึกษาและวางแผนการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML กลุ่มผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์: วิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์: สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาเเละไทยเจริญ จำกัด ตำบลสามัคคี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์เเละข้าวอินทรีย์บ้านคำครตา

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

พื้นที่ “ทุ่งกุลาร้องไห้” ดินแดนที่ขึ้นชื่อถึงความแห้งแล้งและทุรกันดาร แต่กลับเป็นแหล่งผลิต “ข้าวหอมมะลิ” ที่เลื่องลือระดับโลก สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร สนับสนุนความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม “เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ภายใต้โครงการ Inclusive Innovation ส่งเสริมธุรกิจเกษตรและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ไม่เพียงเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ยืนหนึ่งในเวทีโลก หากยังสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้เกษตรกรไทย ดังเช่นที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านจันทร์หอม ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ข้าวจันทร์หอมรวงทอง: มาตรฐานข้าวอินทรีย์ และได้รับการขึ้นทะเบียน GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีสมาชิก 28 คน พื้นที่เพาะปลูก 700 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ใช้ชื่อ “ข้าวจันทร์หอมรวงทอง” เมื่อนำมาหุง