จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานเกษตรอำเภอวังเหนือ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายคำ เปิด “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน” ณ สุขใจฟาร์ม ต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง พร้อมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การผลิตกล้าคุณภาพและการเพาะต้นอ่อน โดยมี นางวณิชดา ไชยศิริ นายอำเภอวังเหนือ เป็นประธานเปิดงาน “เราเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีองค์ความรู้เกษตรอะไรเลย ได้แต่ดูจากยูทูป กูเกิ้ล ซึ่งไม่สามารถให้องค์ความรู้กับเราได้ 100% จนได้ไปอบรมการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพกับ สวทช.-ม.แม่โจ้ เป็นองค์ความรู้ตามหลักวิชาการ เอามาปรับใช้กับพื้นที่ของเรา ได้ลองผิดลองถูก จนปีนี้เข้าสู่ปีที่ 6 เราพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้เผยแพร่ความรู้ให้คนในชุมชนได้ผลิตผักอินทรีย์มีคุณภาพ เราเชื่อว่าความรู้ที่ได้ทำให้คุณภาพของผักและคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงๆ” นายภัทรพล วนะธนนนท์

‘แปลงผักสุขใจ’ สู่ ‘สายใยรัก’

‘แปลงผักสุขใจ’ สู่ ‘สายใยรัก’

“เขาเป็นคนพิการ แต่เขาไม่ได้ทำให้ดูเป็นคนพิการเลย เขาทำงานได้เหมือนคนปกติ ถากหญ้าได้ ทำโน่นนี่ได้ ขนาดเขาไม่ปกติ เขายังสู้เลย” น้องแนน-นางสาวนลินี พรมสังข์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สะท้อนความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากที่ “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ของ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” เสร็จสมบูรณ์ น้องแนนและเพื่อนๆ ชั้นปี 4 จากสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นแรงกำลังสำคัญสร้างโรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำและปรับปรุงแปลงผักบนพื้นที่ของ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” อ.เวียงเหนือ จ.ลำปาง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2563 จากความร่วมมือของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักกี้ซี้ด อโกร และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” เป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ของนายภัทราพล วนะธนนนท์ เจ้าของ

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เก็บตก!! งานสัมมนาและแสดงนวัตกรรม สวทช. – วิทย์สัญจร วิจัยเข้มแข็งเสริมแกร่งภูมิภาค ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา จัดโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสร้างสรรค์ พันธมิตรร่วมใจ ล้านนาก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจคือ “เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน” ชีวิตที่เลือกเป็น “เกษตรกร” จากอดีตลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ตัดสินใจนำเงินเก็บสะสมไปซื้อที่ดินในอ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อเป็นเกษตรกรเมื่อปี 2532 เริ่มต้นจากปลูกสับปะรด ข้าวโพดอ่อน แต่การรับซื้อที่ถูกกดราคา

สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พัฒนางานวิจัย-ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พัฒนางานวิจัย-ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาสวนดุสิต ภายใต้ “การพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อร่วมกันสนับสนุนงานวิจัยและผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สาธิต และทดสอบเทคโนโลยีด้านเกษตรและอาหาร โดยบูรณาการองค์ความรู้จากทั้งสองหน่วยงานและเครือข่ายพันธมิตร เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่รองรับการเรียนรู้ในระดับภาคสนามและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ชุมชนโดยเน้นการลงมือปฏิบัติ นำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ให้เกิดการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ที่ผ่านมา สวทช. ได้พัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งด้านการเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งเร่งผลักดันให้เกิดการสาธิตและขยายผล พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรและชุมชน ให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อให้ชุมชนและเกษตรกรได้นำผลงานวิจัยไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร สร้างมูลค่าและรายได้ เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือจากภาคการผลิตสู่ภาคการตลาด ทั้งนี้ สวทช. ได้ผนึกกำลังและสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์