ฟิล์มกรองแสงอัจฉริยะ

ชื่อนักวิจัย

ดร.ชุติมา วาณิชวัฒนเดชา และทีมวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนที่มีแสงแดดตลอดทั้งปี โดยแสงแดดจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความร้อนในอาคาร การใช้ฟิล์มกรองแสงเพื่อป้องกันแสงแดดจะช่วยลดความร้อนสะสมภายในอาคาร และลดการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ทำให้ประหยัดพลังงาน และป้องกันรังสียูวีซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย และผิวหนัง ฟิล์มกรองแสงอัจฉริยะที่ผลิตจากเทคโนโลยีโฟโตรโครมิกอินทรีย์นี้ มีความโปร่งแสง (แสงส่องผ่านได้มากกว่า 40%) ทำให้สามารถมองเห็นทัศนียะภาพภายนอกได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันก็ให้ความเป็นส่วนตัว ช่วยลดแสงจ้าในตอนกลางวัน และลดความร้อนจากรังสีอินฟาเรดได้มากถึง 64% โดยสามารถป้องกันรังสียูวีได้มากกว่า 99% ลดการส่งผ่านแสงอาทิตย์ได้เทียบเท่ากับฟิล์มกรองแสงเซรามิกซ์ และลดความร้อนเข้าสู่อาคารเทียบเท่าฟิล์มมืด ตามมาตรฐาน ISO9050

คุณสมบัติ และจุดเด่นของเทคโนโลยี
  • ฟิล์มกรองแสงอัจฉริยะผลิตจากเทคโนโลยีโฟโตรโครมิกอินทรีย์
  • ใช้เทคโนโลยีอัดรีดแผ่นขั้นตอนเดียวในการขึ้นรูปฟิล์ม
  • ฟิล์มมีลักษณะโปร่งแสง และปรับความเข้มอัตโนมัติเมื่อได้รับแสงแดด
  • ลดคลื่นรังสีความร้อนได้ถึง 64% และป้องกันรังสียูวีได้มากกว่า 99%
  • ลดการส่องผ่านของแสงอาทิตย์เทียบเท่ากับฟิล์มกรองแสงชนิดนาโนเซรามิกส์
  • ไร้กาว ลอกและติดซ้ำได้ง่าย
  • ไม่ส่งผลรบกวนคลื่นสัญญาณทุกชนิด
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103001514 เรื่อง องค์ประกอบของฟิล์มโฟโตโครมิกพอลิไวนิลคลอไรด์ วันที่ยื่นคำขอ 1 มิถุนายน2564

สถานภาพของผลงานวิจัย

ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ/ และผู้ร่วมวิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม

ติดต่อสอบถาม

จิรนันท์ บุบผามาลา
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.