ราชบุรีโมเดล

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สวทช. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จับมือจังหวัดราชบุรีและหน่วยงานพันธมิตร อาทิ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทยสถาบันอาหาร ฯลฯ บูรณาการความร่วมมือภายใต้กลไก “จตุภาคี” นำร่องขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดด้วยการบูรณาการเชิงพื้นที่ตั้งเป้ายกระดับเกษตรกรสู่ smart farmer ปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าเกษตรสู่ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และมูลค่าสูงตลอดห่วงโซ่อุปสงค์-อุปทานสู่การสร้างคุณค่าเพิ่มจากการใช้ทรัพยากรชีวภาพเหล่านั้นมาแปรรูปภายใต้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี
  1. รักษาอัตลักษณ์ และมาตรฐาน มะพร้าวน้ำหอม GI ราชบุรี
    • ใช้เทคโนโลยีด้านจีโนมตรวจสอบความหอมของมะพร้าวที่จะผลิตเป็นต้นพันธุ์
    • ศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมและตรวจสอบพฤกษเคมีของมะพร้าวน้ำหอมราชบุรีกับมะพร้าวน้ำหอมอื่นๆเพื่อระบุอัตลักษณ์ด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
      แสดงความเป็น GI ของมะพร้าวน้ำหอมราชบุรี
    • สร้างมาตรฐานและแนวทางการตรวจรับรองแปลงผลิตพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี
  2. เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอมด้วยนวัตกรรม สามารถใช้ทั้งมะพร้าวคุณภาพดีที่เหลือทิ้ง และมะพร้าวตกเกรด มาพัฒนาเป็นเครื่องดื่มโพรไบโอติกสพร้อมดื่ม
    ผลิตภัณฑ์เลียนแบบโยเกิร์ตและโยเกิร์ตพร้อมดื่ม ผงมะพร้าวเร่งการเจริญเติบโตของพืช และอื่นๆ อีกหลายชนิด
  3. นำเศษเหลือจากอุตสาหกรรมมะพร้าวน้ำหอมมาสร้างประโยชน์ เป็นสารบำรุงดิน กระถาง เชื้อเพลิงอัดแท่ง ลดขยะเป็นศูนย์ (zero waste)
พืชผักปลอดภัย

พัฒนาให้จังหวัดราชบุรีเป็นแหล่งผลิตพืชผักปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ที่ดีแก่เกษตรกรด้วยความรู้และเทคโนโลยี

  • ยกระดับเกษตรกรรุ่นใหม่กลุ่มเกษตรอินทรีย์ร่มโพธิ์ราชบุรี ได้มาตรฐานฟาร์มผลิตพืชผักอินทรีย์เป็น IFOAM และORGANIC THAILAND
  • ส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพจัดการศัตรูพืชด้วยแบบแผนการใช้ชีวภัณฑ์แบบผสมผสาน (SOP) ที่เหมาะสมกับชนิดศัตรูพืช
  • เพิ่มประสิทธิภาพและทุ่นแรงงานในการฉีดพ่นด้วยเครื่องฉีดพ่นชีวภัณฑ์
อ้อย
  • แก้ปัญหาการบริหารจัดการอ้อยเชิงพื้นที่แบบครบวงจร ด้วยโมเดลทำนายผลผลิตและค่าความหวานล่วงหน้าก่อนหีบอ้อยโดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ถูกต้องและทันสมัยขนาดใหญ่ (Big data)
  • ยกระดับสู่การเป็น Smart Farming ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการน้ำด้วยระบบน้ำหยด การใช้ปุ๋ยชีวภาพแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (ปุ๋ยชีวภาพ PGPR)
สุกร

รักษาอันดับจังหวัดที่เลี้ยงสุกรมากที่สุดในประเทศโดยลดความเสี่ยงของการระบาดโรค และการจัดการฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

1.ควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยและอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

  • Sandbox ควบคุมโรคเชิงพื้นที่ด้วยการจัดทำคอมพาร์ทเมนต์ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยและอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
  • เฝ้าระวังด้วยการใช้ชุดตรวจเชื้อสาเหตุโรคปากและเท้าเปื่อยในสุกรประสิทธิภาพสูง
  • ป้องกัน ควบคุมการระบาดของโรคด้วย Autogenous Vaccine จากเชื้อท้องถิ่น

2.ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาการปล่อยน้ำเสียจากฟาร์มสู่ลุ่มน้ำแม่กลองและปัญหากลิ่น

  • จัดการของเสียและน้ำเสียด้วยระบบบำบัดแบบไร้อากาศ ผลิตก๊าซชีวภาพนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม
  • การเลี้ยงสุกรชีวภาพ (หมูหลุม) ไม่มีกลิ่นรบกวน ไม่ต้องมีระบบบำบัดนำเสีย
กุ้งก้ามกราม

รักษาและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น

  • ระบบการเลี้ยงที่เพิ่มสัดส่วนผลผลิตกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ลดปัญหาของเสียสะสมภายในบ่อ ทำให้บ่อมีความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตและลดปัญหาการเกิดโรค
    จึงสามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี
  • ยกระดับฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้ได้คุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP
โคนม

ยกระดับฟาร์มโคนมสู่การเป็นปศุสัตว์สีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • หมุนเวียนใช้ประโยชน์น้ำเสียนำไปใช้ในการปลูกหญ้าเนเปียร์ทำเป็นอาหารสัตว์
  • นำระบบดิจิตอลเพิ่มประสิทธิภาพบำบัดน้ำเสียเปลี่ยนเป็นพลังงานชีวภาพหมุนเวียนภายในฟาร์ม