PETE เปลปกป้อง
เปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับการแพทย์ฉุกเฉิน
เปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เหมาะสมสำหรับการใช้งานในด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ประกอบด้วย
  1. ระบบสร้างและควบคุมแรงดันลบแบบโมดูล ที่มีประสิทธิภาพการป้องกันการแพร่เชื้อสูงถึง 99.995% มีขนาดเล็ก ทำให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก ประหยัดพลังงาน สามารถติดตั้งได้เข้ากับเปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหลายขนาด
  2. แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ผลิตจากวัสดุที่สามารถนำเปลเข้าเครื่อง X-ray และอุโมงค์ CT scan ได้ ทำให้สามารถลดขั้นตอนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย รวมถึงการลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถพับเก็บเป็นชุดให้สามารถลากคล้ายกระเป๋าเดินทาง หรือสะพายหลัง ประหยัดพื้นที่เหมาะกับการใช้งานบนรถพยาบาลร่วมกับเตียงพยาบาล แผ่นรองหลัง หรือเปลตักที่มีอยู่เดิม มีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักผู้ป่วยได้กว่า 250 กิโลกรัม
  3. ระบบสร้างและควบคุมแรงดันลบอัตโนมัติ ที่สามารถควบคุมแรงดันอากาศให้เหมาะสมตามการใช้งานได้โดยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
  • ระบบสร้างและควบคุมแรงดันลบแบบโมดูล (Modular negative pressure generation unit) ที่มีประสิทธิภาพการป้องกันการแพร่เชื้อสูงถึง 99.995% มีขนาดเล็กทำให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก ประหยัดพลังงานสามารถติดตั้งเข้ากับเปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้หลายขนาด
  • เปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบพับเก็บได้ (Foldable patient transportation chamber) ประหยัดพื้นที่ เหมาะกับการใช้งานบนรถพยาบาลร่วมกับเตียงพยาบาล แผ่นรองหลัง หรือเปลตักที่มีอยู่เดิม มีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักผู้ป่วยได้กว่า 250 กิโลกรัม
  • ใช้วัสดุที่สามารถนำเปลเข้าเครื่อง X-ray และอุโมงค์ CT scan ได้
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
  • ใช้วัสดุที่สามารถนำเข้าเครื่อง X-ray และอุโมงค์ CT scan ได้
  • มีขนาดที่สามารถนำไปติดตั้งบนเตียง เตียงเข็น หรือเปลรถพยาบาลได้
  • ระบบสร้างแรงดันลมแบบเคลื่อนย้ายได้ (Mobile unit) มีแผ่นกรองชนิด HEPA filter กรองอนุภาค 0.3 ไมครอน ประสิทธิภาพ 99.995% และหลอด UV เพื่อฆ่าเชื้อก่อนปล่อยอากาศสู่ภายนอก
  • มีช่องสำหรับทำหัตถการและใส่สายอุปกรณ์จากภายนอก
  • รองรับไฟฟ้ากระแสสลับ (220 V) และกระแสตรงจากแบตเตอรี่สำรอง
  • มีระบบแจ้งเตือน (Pressure alarm) เมื่อแรงดันลบภายในต่ำกว่าค่าที่กำหนด
การประยุกต์ใช้งาน
ในสภาวะปกติใหม่ การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ มีความสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้ระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินจากจุดเกิดเหตุ และระหว่างนำส่งโรงพยาบาล (Pre-hospital life support) เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกเหนือจากการมีบุคลากรเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนรถพยาบาลที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยชีวิตตามมาตรฐานสากลแล้ว การใช้ห้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบแรงดันลบ (Patient isolation and transportation chamber) จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีอุปกรณ์ดังกล่าวทั้งในรูปแบบของการนำเข้าจากต่างประเทศ และการพัฒนาภายในประเทศแล้ว อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่ของคณะวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล และประสบการณ์ (User insights) จากผู้ใช้ พบว่าอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมีปัญหาที่สำคัญหลายประการ อาทิ การไม่สามารถใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยรถพยาบาล การไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ความไม่สะดวกในขั้นตอนการรักษาพยาบาล เช่น การฉายรังสีโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหลายครั้งเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยรวม โครงการนี้คือการต่อยอดพัฒนาเปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับการแพทย์ฉุกเฉิน (Patient Isolation and Transportation Chamber) สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุด้วยรถพยาบาลระหว่างนำส่งโรงพยาบาลภายใน หรือระหว่างสถานพยาบาล โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อ
  1. ลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  2. ลดขั้นตอนการเคลื่อนย้ายแบบ one-stop service
  3. ลดระยะเวลาและภาระการปฏิบัติงาน
  4. มีการทดสอบประสิทธิภาพที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
กลุ่มลูกค้า: โรงพยาบาล มูลนิธิกู้ภัย
ผู้ใช้งาน: ผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
ผู้จำหน่ายเครื่องมือแพทย์ ที่ได้การรับรอง ISO 13485
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เรื่อง “โมดูลสร้างความดันลบแบบพกพา” เลขที่คำขอ 2001005466 วันที่ยื่นคำขอ 25 กันยายน 2563
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เรื่อง “ห้องแรงดันลบ” เลขที่คำขอ 2002004366 วันที่ยื่นคำขอ 25 กันยายน 2563
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เรื่อง “เครื่องสร้างแรงดันลบแบบพกพา” เลขที่คำขอ 2002004367 วันที่ยื่นคำขอ 25 กันยายน 2563
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ผ่านการทดสอบ Clean room performance test ตามมาตรฐาน ISO 14644
  • อยู่ระหว่างการทดสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าของเครื่องมือแพทย์ (IEC 60601) ที่ PTEC
  • อยู่ระหว่างการทดสอบความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC) ที่ PTEC
  • อยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพของหลอด UV-C ที่ PTEC ภาพรวมตลาด
ผลประโยชน์ (Impact)
เชิงวิชาการ/วิทยาศาสตร์:
องค์ความรู้ในการพัฒนาระบบควบคุมแรงดันลบที่มีประสิทธิภาพสามารถผ่านมาตรฐานห้องปลอดเชื้อ (Clean room test standard)
เชิงเศรษฐกิจ/พาณิชย์:
ทดแทนการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ
เชิงสังคม/สิ่งแวดล้อม:
ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เช่น โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค เป็นต้น
"เปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับการแพทย์ฉุกเฉิน"
ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ ทีมวิจัยการออกแบบและแก้ปัญหาอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์ 0-2564-6500 ต่อ 4350
E-mail:
นายพรพิพัฒน์ อยู่สา
ทีมวิจัยการออกแบบและแก้ปัญหาอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์ 0-2564-6500 ต่อ 4350
E-mail:
นางสาวเสาวลักษณ์ ตั้งวานิชกพงษ์
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์ 0-2564-6500 ต่อ 4783
E-mail:
นางสาวกุลภัทร์ เฉลิมงาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี สวทช.
โทรศัพท์ 0-2564-7000 ต่อ 1617
E-mail:
ศูนย์ลงทุน
ฝ่ายบริการทางการเงินเพื่อนวัตกรรม สวทช.
โทรศัพท์ 0-2564-7000 ต่อ 1340
E-mail: