magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN Information Literacy ในมิติของอาเซียน
formats

Information Literacy ในมิติของอาเซียน

การสัมมนา เรื่อง Information Literacy ในมิติของอาเซียน วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC
ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น

Information Literacy ในมิติของอาเซียน ใประกอบด้วย 2 หัวข้อ คือ

  1.  การรู้สารสนเทศ :แนวคิด การศึกษา และวิจัยในประเทศไทย และกลุ่มประชาคมอาเซียนโดย ศ.ดร.ชุติมา สัจจานันท์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  2.  การรู้สารสนเทศในยุคดิจิทัล : นโยบายและมุมมองในมิติเทคโนโลยีสารสนเทศ
    โดย ดร. กษิติธร ภูภราดัย สวทช.

วิทยากรทั้งสองท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนี้เป็นอย่างมาก

คำว่า Information Literacy หรือที่มักจะเรียกกันว่า IL หรือที่มีการแปลกันโดยทั่วไปว่า การรู้สารสนเทศ นั้น เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและการศึกษา ประเทศที่พัฒนาแล้วให้ความสำคัญและถือเป็นนโยบายระดับชาติ มีการจัดทำมาตรฐาน แนวทางหรือตัวแบบการรู้สารสนเทศสำหรับประชาชน และกลุ่มต่างๆ เพื่อเป็นกรอบการสอนเรื่องการรู้สารสนเทศ

สำหรับประเทศไทยนั้น มีการกำหนดเกี่ยวกับ Information Literacy ไว้ในกรอบนโยบาย เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย หรือ ICT2020
ในยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ พัฒนาทุนมนุษย์ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน รวมถึงพัฒนาบุคลากร ICT ที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับสากล และสามารถใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนธุรกิจและสร้างนวัตกรรมด้านสินค้าและบริการ ข้อกำหนดและมาตรการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว คือ การปรับปรุงเนื้อหาหรือหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยให้เพิ่มเนื้อหาที่เป็นการเสริมสร้างทักษะในการใช้ประโยชน์จาก ICT ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ การดำรงชีวิต
การจ้างงานในศตวรรษที่ 21 โดยให้ความสำคัญกับทักษะ 3 ประการคือ

  1. ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร (ICT literacy)
  2. การรอบรู้ เข้าถึง สามารถพัฒนาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ (Information literacy)
  3. การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy)

ถ้าจากกรอบนโยบายฯ ที่กำหนดไว้นี้ ก็จะเห็นว่าประเทศไทยก็ให้ความสำคัญในเรื่องของการรู้สารสนเทศนี้เป็นอย่างมากเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ซึ่งจะเหมือนหรือแตกต่าง หรือความเข้มข้นจะหนัก เบากว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน

ความจำเป็นของการรู้สารสนเทศ

  1.  การท่วมท้นหรือการ”ทะลักทะลาย”ของสารสนเทศ (information explosion)
  2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร อินเทอร์เน็ต เครือข่ายสังคมออนไลน์ การสื่อสารไร้พรมแดน โลกาภิวัตน์
  3. การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ที่เน้นวิธีการเรียน (learning how to learn) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) การแสวงหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ

ปัญหาเกี่ยวเนื่องกับการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ของประเทศส่วนใหญ่ในประชาคมอาเซียน

  • ประชาชนอ่านหนังสือน้อย มีพฤติกรรมการคัดลอก ขาดทักษะการประเมิน คิดวิเคราะห์
  • ทรัพยากรห้องสมุดขาดแคลน ห้องสมุดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้และไม่ได้มีบทบาทในเรื่องการรู้สารสนเทศ
  • ครู/บรรณารักษ์มีปัญหาความรู้ ความเข้าใจการรู้สารสนเทศและขาดสมรรถนะการรู้สารสนเทศ
  • รูปแบบและเทคนิคการสอนของครูผู้สอนเน้นเนื้อหา และขาดความสนใจ/ความตระหนัก/ความสามารถบูรณาการการรู้สารสนเทศ
  • ผู้บริหารขาดความรู้ ความเข้าใจและเห็นว่าการรู้สารสนเทศเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือหลักสูตร

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-2seminar.php– ( 710 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


seven − = 5

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>