อว. -สวทช. จับมือภาคเอกชน ปูพรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 จังหวัด พื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

อว. -สวทช. จับมือภาคเอกชน ปูพรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 จังหวัด  พื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

รัฐมนตรีฯ กระทรวง อว. นำนักวิจัย สวทช. ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ชุมชน ยกระดับ-เพิ่มมูลค่าผ้าทอของทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีนาโน พร้อมหนุนปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ เป็นพืชหลังนา จับมือภาคเอกชนรับซื้อผลผลิต สร้างอาชีพ เสริมรายได้ สอดคล้องพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประชาชนอยู่ดี กินดี คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีรายได้เพิ่ม ข้ามพ้นความยากจน ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ผศ. ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง

ยางชุมน้อยโมเดล: การปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่อแปรรูป

ยางชุมน้อยโมเดล: การปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่อแปรรูป

อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นพื้นที่ผลิตพริกชั้นดีของประเทศไทย เกษตรกรในพื้นที่มีอาชีพผลิตพริกจำหน่ายให้ลูกค้าในประเทศ แต่เกษตรกรยังมีรายได้น้อย ทั้งๆ ที่ทำการเกษตรมานาน มีความชำนาญและขยัน การผลิตพริกแบบเดิมมีต้นทุนสูง มีปัญหาโรคแมลงและใช้สารเคมีปริมาณมาก ทำให้ สุจิตรา จันทะศิลา ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และต้องการกลับบ้านมาช่วยเหลือเกษตรกรที่บ้านเกิด จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนติ้ว ตำบลโนนคูณ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ 27 สิงหาคม 2558 ให้เกษตรกรผลิตพริกแห้งปลอดภัยเพื่อแปรรูปและส่งออก เช่น ผลิตพริกสายพันธุ์ “ยอดสนเข็ม 80” ป้อนให้บริษัท บางกอกแลปแอนด์คอสเมติก จำกัด โดยประกันราคารับซื้อ บริษัทฯ ต้องการผลผลิตพริกแห้งพันธุ์นี้ประมาณปีละ 5 – 10 ตันต่อปี หรือ พริกสด