การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566   คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

ศรีสะเกษ

สวทช. โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานภายใต้โครงการ “การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้ (ปี พ.ศ.2567-2571)”  Quick Win:  ข้าวหอมมะลิ สิ่งทอ ถั่วเขียว สมุนไพร ผักอินทรีย์ มันสำปะหลัง พริก โคเนื้อ การท่องเที่ยว 1. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชและยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีของเกษตรกร 3. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร 4. การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม5. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง 6. การยกระดับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยนวนุรักษ์แพลตฟอร์ม เป้าหมาย: เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงเทคโนโลยี 3,344 คน

เกษตรกรเฮปลูกถั่วเขียวคุณภาพ KUML รายได้ไม่ธรรมดา สวทช.-พันธมิตรหนุนปลูกครบวงจรใช้กลไก ‘ตลาดนำการผลิต’

เกษตรกรเฮปลูกถั่วเขียวคุณภาพ KUML รายได้ไม่ธรรมดา สวทช.-พันธมิตรหนุนปลูกครบวงจรใช้กลไก ‘ตลาดนำการผลิต’

เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2567 ณ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดศรีสะเกษ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร (Press Tour) เพื่อเยี่ยมชมความสำเร็จโครงการการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ปีงบประมาณ 2566 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้ ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และ รศ. ดร.ประกิจ

สท.-เกษตรอำเภอเมืองจันทร์ ศรีสะเกษ หนุนความรู้-ขยายผลแปลงสาธิตถั่วเขียว KUML

สท.-เกษตรอำเภอเมืองจันทร์ ศรีสะเกษ หนุนความรู้-ขยายผลแปลงสาธิตถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษและสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจันทร์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML ณ หอประชุมอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเกษตรกรจากตำบลหนองใหญ่ ตำบลตาโกน และตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ รวม 139 คน เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งรับฟังข้อมูลการรับซื้อผลผลิตจากห้างหุ้นส่วนจำกัดศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัท เอสซีพีฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นจุดรับซื้อในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้เทศบาลตำบลเมืองจันทร์ เทศบาลตำบลหนองใหญ่และองค์การบริหารส่วนตำบลตาโกน ได้สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมอบรมและจัดซื้อจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML เบอร์ 4 จำนวน 525 กิโลกรัม