“เราดูตัวเลขความชื้นดินในระบบ ค่าตัวเลขเท่านี้ สภาพต้นทุเรียนได้ เราจะประคองการให้น้ำไว้ที่ค่าตัวเลขนี้ แต่ก่อนไม่เคยรู้ความชื้นในดินและไม่รู้ว่าทุเรียนแต่ละช่วงการเติบโตต้องการน้ำไม่เท่ากัน เราให้น้ำเท่ากันตลอด” อนุชา ติลลักษณ์ เจ้าของสวน ผช.เก่ง ต.บ้านแลง อ.เมือง จ.ระยอง เล่าถึงวิธีการให้น้ำสวนทุเรียนที่เปลี่ยนไปหลังจากได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบควบคุมการให้น้ำโดยใช้เซนเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศและความชื้นดิน (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ) อดีตช่างเครื่องยนต์เริ่มฝึกมือทำสวนทุเรียนอยู่กว่า 4 ปี ก่อนตัดสินใจปรับเปลี่ยนป่ายาง 10 ไร่ เป็นสวนทุเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ลงมือลงแรงทำสวนจริงจังจนได้ผลผลิตครั้งแรก 5 ตัน เมื่อปี พ.ศ. 2565 “อาศัยหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตและเรียนรู้จากคนอื่น เราต้องเป็นคนน้ำไม่เต็มแก้ว ถ้าน้ำเต็มแก้ว ก็ไม่มีคนคุยกับเรา ลองผิดลองถูกแล้วปรับให้เหมาะกับสวนเราเอง ต้องหาจุดตัวเองให้เจอ” หลังผลผลิตแรกผลิดอกออกผล สวน ผช.เก่ง
บริหารจัดการ “สวนทุเรียน” ด้วย “เทคโนโลยีและนวัตกรรม”
ดาวน์โหลดเอกสาร
คิดอย่างสมาร์ท ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสวนทุเรียน
พื้นที่ EEC หรือระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ครอบคลุม 3 จังหวัดสำคัญของภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เป็นหมุดหมายการพัฒนาประเทศภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ “ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ: เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับควบคุมการให้น้ำในแปลงเกษตร” เป็นหนึ่งในสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดระยองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 โดยมีสวนทุเรียนที่ได้ติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว 33 แห่ง (ข้อมูลปี พ.ศ.2565) แม้ระบบฟาร์มรักษ์น้ำฯ เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทำสวนทุเรียน แต่มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่พร้อมเปิดรับและปรับตัวกับการใช้เทคโนโลยี ด้วยมองเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงคุณภาพของผลผลิต หากยังรวมถึงต้นทุนการผลิตของสวนด้วย อย่างไรก็ตามแม้เกษตรกรพร้อมเรียนรู้และใช้เทคโนโลยี แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้และความพร้อมของพื้นที่ที่จะรองรับการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการวางระบบน้ำ ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สำคัญของสวน
ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ: เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับควบคุมการให้น้ำในแปลงเกษตร
ดาวน์โหลดเอกสาร