ประเทศไทยผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแปรรูปมากเป็นอันดับต้นของโลก โดยในปี 2564 กรมการค้าต่างประเทศรายงานว่าประเทศไทยส่งออกมันสำปะหลังแปรรูปเป็นมูลค่ารวมสูงกว่า 1.23 แสนล้านบาท แต่ทว่าหลังจากช่วงปี 2562 ที่ไทยเริ่มพบรอยโรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava Mosaic Disease: CMD) และประกาศการระบาดอย่างเป็นทางการในปี 2565 อุตสาหกรรมมันสำปะหลังกลับต้องเผชิญกับความสั่นคลอนจากการขาดแคลนวัตถุดิบเรื่อยมา เพราะโรค CMD นอกจากจะทำให้หัวมันแคระแกร็นและคุณภาพผลผลิตตกต่ำแล้ว ยังเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้ง่าย รวดเร็ว แต่ยับยั้งการแพร่ระบาดยากเพราะมีแมลงหวี่ขาวเป็นตัวกระจายโรค พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่ของไทยจึงกลายไปเป็นพื้นที่สีแดงหรือพื้นที่ที่ต้องเผชิญปัญหาโรค CMD ระบาดภายในระยะเวลาเพียง 2-3 ปี อย่างไรก็ตามท่ามกลางวิกฤตใหญ่ที่ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ยังมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงเกษตรกรผู้เพาะปลูกมันสำปะหลังที่เลือกยืนหยัดหาแนวทางฝ่าฟันวิกฤตนี้ เพราะพวกเขาเชื่อว่า ‘การสู้ไปด้วยกันจะนำไปสู่การผ่านพ้นวิกฤตได้’ ปัญหาเกิด ‘ตัวกลางเร่งขยับ’ ชวินทร์ ปลื้มเจริญ นักวิชาการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
สท. ร่วมแชร์การถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังสู่เกษตรกร
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 นายชวินทร์ ปลื้มเจริญ นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมนำเสนอข้อมูลและประสบการณ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลัง เพื่อคัดกรองโรคใบด่างมันสำปะหลังและท่อนพันธุ์มันสำปะหลังปลอดโรค ในกิจกรรม NSTDA Meets The Press หัวข้อ “ทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. ผลิตเทคโนโลยีสู้โรคใบด่างมันสำปะหลัง” ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) “ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา โรคใบด่างมันสำปะหลังได้สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกใหญ่ที่สุดในประเทศ และแพร่ระบาดไปหลายจังหวัด โดยสาเหตุเกิดจากเกษตรกรนำท่อนพันธุ์จากต่างถิ่นเข้ามาในพื้นที่และไม่ทราบว่าต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกนั้นติดโรคใบด่าง ซึ่งชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังที่พัฒนาโดยทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. เป็นแบบ Strip
สวทช.-อุบลไบโอเอทานอล เดินหน้า “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ยกระดับมันสำปะหลังอินทรีย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ภายใต้โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเกษตรอินทรีย์ ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง “อุบลโมเดล” ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ขยายพื้นที่ทำงานครอบคลุม 4 จังหวัดแหล่งผลิตมันสำปะหลังสำคัญของภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ ยกระดับการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต้นทางวัตถุดิบคุณภาพสู่การแปรรูป “ฟลาวมันสำปะหลัง” อาหารแห่งอนาคต ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังด้วยเทคโนโลยี
ดาวน์โหลดหนังสือ
7 ความรู้เกษตรที่ไม่ควรพลาด!!
คลิกเลือกชมวิดีโอความรู้แต่ละเรื่อง
มันสำปะหลัง
“มันสำปะหลัง” พืชหัวที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่สำคัญรองจากข้าวและข้าวโพด ปลูกง่ายในพื้นที่เขตร้อนและร้อนชื้น ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังกว่า 8 ล้านไร่ เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ สร้างรายได้ปีละหลายแสนล้านบาท ไทยเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังรายใหญ่ของโลกและเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน สวทช. ร่วมกับเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี โปรแกรมมันสำปะหลัง (พ.ศ.2560-2564) เพื่อแก้ไขปัญหาด้านมันสําปะหลังของประเทศตลอดห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม 6 กรอบวิจัย ได้แก่ การประเมินเชื้อพันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์มันสําปะหลัง การเขตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตมันสําปะหลัง การเตือนการณ์ การป้องกัน กําจัดโรคและแมลงศัตรูมันสําปะหลังรวมทั้งวัชพืชมันสําปะหลัง การวิจัยและพัฒนา เครื่องจักรกลการเกษตรสําหรับมันสําปะหลัง การปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตมันสําปะหลัง แป้งดัดแปร และผลิตภัณฑ์ใหม่จากมันสําปะหลัง และการศึกษานโยบาย การตลาด และสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ อย่างเป็นระบบ และสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูง เพิ่มรายได้และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่เกษตรกร ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น สท./สวทช.