ดาวน์โหลดเอกสาร
กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองมังจัดงาน “สะเต็มศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์”
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลางร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร เปิดเวทีเสวนา “STEM ศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์” จุดประกายความรู้ นำแนวคิดสะเต็มศึกษาพัฒนาการทำเกษตร พร้อมนำชมแปลงปลูก-แลกเปลี่ยนความรู้กับเกษตรกรเจ้าของแปลง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลางร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร อาทิ สวทช. สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 4 กรมวิชาการเกษตร สำนักงานพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชมรมคนรักในหลวงอุบลราชธานี บริษัท สังคมสุขภาพ เป็นต้น จัดโครงการประชารัฐภักดี เกษตรอินทรีย์ตามรอยพ่อ เผยแพร่ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี กิจกรรมในงานประกอบด้วย เวทีเสวนา “STEM ศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์” ถ่ายทอดความรู้ แนวคิด และการประยุกต์ใช้ STEM กับการทำเกษตรอินทรีย์ จากผู้ร่วมเสวนา
เสวนา “สะเต็มศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์”
จากเวทีสัมมนา “STEM ศึกษากับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์” ในงานโครงการประชารัฐภักดี เกษตรอินทรีย์ตามรอยพ่อ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 จัดโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลางและเครือข่ายพันธมิตร ณ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย คุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง คุณกัลยารัตน์ รัตนะจิตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช. คุณพเยาว์ พรหมพันธ์ใจ ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 4 กรมวิชาการเกษตร คุณบุญถม กุมพล ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี กรมพัฒนาที่ดิน และคุณแขลดา จิตปัญญา ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมสุขภาพ บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด
มะเขือเทศเชอรี่สีดำอินทรีย์
กิจกรรม “ศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง” เป็นหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานโครงการประชารัฐภักดี เกษตรอินทรีย์ตามรอยพ่อ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่ง “การปลูกมะเขือเทศแบล็คเชอรี่อินทรีย์ หรือมะเขือเทศเชอรี่สีดำอินทรีย์” ของคุณสุรทอน เหมือนมาด หนึ่งในสมาชิกกลุ่มฯ ได้รับความสนใจจากผู้เยี่ยมชมแปลงไม่น้อย เมื่อปี 2557 ลูกสาวคุณสุรทอน ซึ่งเรียนอยู่ที่ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับผลมะเขือเทศแบล็คเชอรี่จาก ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ แล้ว คุณสุรทอนและภรรยาได้ช่วยกันเก็บเมล็ดพันธุ์ โดยตั้งใจปลูกเป็นพืชหลังนา ปีแรกปลูกเพื่อทำพันธุ์ ปีที่สองปลูกขายซึ่งได้ผลผลิตไม่มาก และเริ่มปลูกขายครั้งที่สองเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2559 ระยะเวลาปลูกประมาณ 120 วัน เก็บผลผลิตในช่วงอายุ 70 วัน การปลูกและดูแลทำเช่นเดียวกับการปลูกมะเขือเทศเชอรี่สแนคสลิม ผลผลิตที่ได้ประมาณ 2-3
เทคนิคปลูก “หอมอินทรีย์สำลีแดง-กระเทียมแก้ว” ให้ได้หัวใหญ่ คุณภาพดี
นอกจาก “ผักสลัด มะเขือเทศ และข้าวอินทรีย์” จะเป็นผลผลิตอินทรีย์ที่ขึ้นชื่อของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานีแล้ว “หอมแดงและกระเทียม” ที่มีขนาดใหญ่ คุณภาพดี ก็ได้รับการตอบรับไม่แพ้กัน คุณสำลี บัวเงิน สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์โนนกลาง เจ้าของหอมแดงพันธุ์ “สำลีแดง” ชื่อสายพันธุ์ที่คุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มฯ ตั้งให้ ด้วยเป็นพันธุ์ที่ส่งต่อจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ และคุณสำลีเก็บและต่อพันธุ์เอง ส่วนกระเทียมเป็นพันธุ์กระเทียมแก้ว ผลผลิตหอมแดงและกระเทียมของคุณสำลีมีขนาดใหญ่ สีสวย เก็บได้นาน และคุณภาพดี สร้างรายได้หลักแสนต่อไร่ คุณสำลี บอกว่า การเตรียมดินเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ได้หอม กระเทียม ที่ดีและใหญ่ การตรวจวัดค่า pH ดิน (ค่าความเป็นกรดด่าง) จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งค่า pH
เคล็ดวิชาเกษตรอินทรีย์
“ผลผลิตอินทรีย์” เป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่ให้ความใส่ใจอาหารการกินมากขึ้น แม้ราคาจำหน่ายจะค่อนข้างสูง แต่เพื่อสุขภาพแล้ว ผู้คนไม่น้อยยินดีที่จะจ่าย เมื่อความต้องการ “ผลผลิตอินทรีย์” มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสของฟากผู้ผลิตอย่าง “เกษตรกร” ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของอาชีพเกษตรกรให้ดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ “คุณภาพของผลผลิตอินทรีย์” ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภคได้เพียงใด “การทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีอุดมการณ์และมีวิชาการ” ผลึกความคิดที่ตกตะกอนจากการเรียนรู้และมุ่งมั่นกับการทำเกษตรอินทรีย์มากว่า 20 ปีของคุณปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี และอดีตอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ “อุดมการณ์ คือ ความมุ่งมั่น มีศรัทธาและความเชื่อมั่นในวิชาชีพเกษตรกรของตัวเอง เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ และส่งต่อความรู้ให้ชุมชนได้ วิชาการ คือ เกษตรกรเป็นนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ แต่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการได้ เกษตรกรต้องเรียนรู้” คุณปิยะทัศน์ ขยายความสิ่งที่เกษตรกรต้องเรียนรู้ ประกอบด้วย ดิน เพราะดินคือหัวใจของการทำเกษตร เกษตรกรต้องรู้ว่า
“เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” อีกย่างก้าวของ “กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์โนนกลาง”
“ปลูกสลัดรอบนึง มีต้นทุนเมล็ดพันธุ์ 40 บาท แต่ไม่งอกทุกเมล็ด ได้ประมาณ 70% ถึงได้อยากทำเมล็ดพันธุ์เก็บไว้ใช้เอง ถ้าเราทำเอง ได้เท่าไหร่ก็ช่างมัน เสียหายเท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีต้นทุน” คุณพนมนคร ทำมาทอง เกษตรกรบอกถึงเหตุผลที่ต้องการทำเมล็ดพันธุ์ผักสลัดไว้ใช้เอง และวันนี้เขาและเพื่อนๆ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ได้มาร่วมเรียนรู้ “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ไว้ใช้เอง” จาก รศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดโดยฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเกษตรและชุมชน สท. “ลดต้นทุนการผลิต มีเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกตลอดไป อนุรักษ์พันธุ์พืช และเพื่อความมั่นคงทางอาหาร” เป็นคำตอบว่าทำไมต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง แล้วเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเองจะมีคุณภาพเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาหรือไม่นั้น อาจารย์บุญส่ง บอกว่า มีหลายพืชสามารถทำได้หากมีการจัดการที่ถูกต้อง รวบรวมพันธุกรรมพืช โดยเก็บรวบรวมตัวอย่างพันธุ์พืชที่ต้องการจากแหล่งต่างๆ
ชุดเทคโนโลยี สวทช. ที่บ้านหนองมัง
การเติบโตอย่างเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง บ้านหนองมัง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิต สร้างรายได้ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้สมาชิก ผลผลิตของกลุ่มฯ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคทั้งในและนอกพื้นที่ และยังจัดส่งผลผลิตให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในกรุงเทพฯ กลุ่มฯ จัดทำกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม หรือ PGS (Participatory Guarantee System) ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) และมีทายาทเกษตรกรและนักการตลาดรุ่นใหม่ที่บ่มเพาะความรู้เพื่อต่อยอดการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มฯ ให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน ชุดเทคโนโลยีที่ สวทช. ได้สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์โนนกลาง บ้านหนองมัง ได้แก่ โรงเรือนพลาสติกเพื่อการผลิตพืชผักคุณภาพ โครงสร้างโรงเรือน ออกแบบให้มี 2 ชั้น เพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทอากาศ เมื่ออุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงขึ้น อากาศลอยตัวออกทางช่องลมระหว่างหลังคาทั้ง 2 ชั้น ระบบบริหารจัดการโรงเรือน ดิน หัวใจของการปลูกพืช
วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง
สวทช. ทำงานในพื้นที่บ้านหนองมัง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี มาตั้งแต่ปี 2549 โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตการทำเกษตร โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมุ่งมั่นเปลี่ยนแนวทางการทำเกษตรจากเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ สวทช. ได้เติมเต็มความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมถ่ายทอดสู่เกษตรกร เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเกิด “ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง” ที่เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านเกษตรอินทรีย์จากผู้สนใจทั่วประเทศ สื่อประชาสัมพันธ์ > ข้อมูลสรุป: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง: ปลูกผักด้วยความรู้ผสานภูมิปัญญา > บทความ: พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ > บทความ: สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ > บทความ: ชุดเทคโนโลยี สวทช. ที่บ้านหนองมัง > บทความ: “เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” อีกย่างก้าวของ