Course online: HandySense

กำหนดการอบรมหลักสูตรออนไลน์ “เทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะแบบเข้มข้นโดยใช้นวัตกรรมเปิด HandySense” วันที่ 23-24 สิงหาคม 2564 จัดโดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564 8.30 – 09.00 น. แนะนำหลักสูตร  09.00 – 11.00 น. ระบบพื้นฐาน HandySense -HandySense คืออะไร -การใช้งานเบื้องต้น HandySense ด้านการเกษตร (พืชไร่, พืชสวน) -การใช้งาน Sensor สำหรับระบบควบคุม โดย

สารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช

ไวรัส NPV กำจัดหนอนศัตรูพืช 1. ไวรัส NPV คืออะไร 2. วิธีสังเกตหนอนเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 3. Tips การใช้ NPV อย่างไรให้ได้ผลดีขึ้น 4. การต่อเชื้อไวรัส NPV ไว้ใช้ในครั้งต่อไป บิวเวอเรีย บาเซียนา: รากำจัดแมลงศัตรูพืช 1. บิวเวอเรีย รากำจัดแมลงศัตรูพืช กับ ดร.มงคล อุตมโท 2. ขั้นตอนการผลิตสปอร์ราบิวเวอเรียบนข้าวสาร

โครงการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อชุมชน

โครงการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community based Technology and innovation Assistance Project: CTAP) มุ่งนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก CTAP ดาวน์โหลดใบสมัคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสวทช. ภาคเหนือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติชั้น 2 อาคาร B อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ155 หมู่ที่ 2 ต.แม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50100โทรศัพท์ 053 948671-80 ต่อ 2208 โทรสาร 053 226265อีเมล agritec@nstda.or.th

โรงเรือนปลูกพืช

โรงเรือนปลูกพืช

จากสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอนของฤดูกาล ภัยธรรมชาติและการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช การนำ “เทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืช” มาปรับใช้ จึงเป็นทางเลือกที่ได้รับการตอบรับมากขึ้น เพราะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยได้ง่าย ลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช อีกทั้งยังวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นยำและได้ผลผลิตตามแผน ซึ่งเทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืชมีหลายรูปแบบ การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับงบประมาณ สภาพแวดล้อม และความรู้ของผู้ใช้ สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี “โรงเรือนพลาสติกเพือ่การผลิตพืชผักคุณภาพ” ที่พัฒนาโดย สวทช.  เป็นรูปแบบโรงเรือนสองชั้น ออกแบบโดยใช้หลักการลอยตัวของอากาศ เมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น จะไหลออกช่องระหว่างหลังคาล่างและหลังคาบนได้ทั้งซ้ายและขวา และดึงอากาศเย็นภายนอกเข้ามาแทนที่ภายในโรงเรือน เกิดการไหลเวียนอากาศแบบธรรมชาติ (natural flow) อีกทั้งการกระจายแสงที่ครอบคลุมทุกจุดในโรงเรือนพลาสติก ทำให้พืชได้รับแสงอย่างทั่วถึง ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงและการสร้างอาหารของพืช ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพภายใต้ระยะเวลาการเพาะปลูกที่สั้นลง นอกจากรูปแบบโรงเรือนของ สวทช. แล้ว สท. ยังได้สนับสนุนความรู้การใช้ “โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ” สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้การปลูกผัก ต้องการปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน

ความแตกต่างของมันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ 1 พิรุณ 2 และพิรุณ 4

มันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ 1 พิรุณ 2 และ พิรุณ 4 พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของ กรมวิชาการเกษตร (ดร.โอภาษ บุญเส็ง) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล (รศ.ดร.กนกพร ไตรวิทยากร และคณะ) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เกิดจากการผสมแบบสลับ (cross-reciprocal) โดยเลือกใช้พันธุ์ห้วยบง 60 เป็นต้นแม่ ซึ่งมีลักษณะปริมาณแป้งในหัวสดสูง ผลผลิตสูง ปริมาณไซยาไนด์สูง และอัตราการเจริญเติบโตในช่วงแรกต่ำ และเลือกใช้พันธุ์ห้านาทีเป็นต้นพ่อ ซึ่งมีลักษณะปริมาณแป้งในหัวสดต่ำ ผลผลิตต่ำ ปริมาณไซยาไนด์ต่ำ และอัตราการเจริญเติบโตในช่วงแรกสูง เริ่มต้นผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี 2549 ลูกผสมที่สร้างขึ้นส่วนหนึ่งนำไปใช้ในการศึกษาและพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล (DNA-marker) เพื่อช่วยในการคัดเลือกปริมาณแป้งสูง และไซยาไนด์ต่ำ อีกส่วนหนึ่งนำไปคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามแบบวิธีมาตรฐาน (conventional

นักการตลาดชุมชน…ที่มีคุณธรรม

นักการตลาดชุมชน…ที่มีคุณธรรม “นักการตลาดชุมชน เป็นข้อต่อระหว่างชุมชนกับตลาด เราอยู่ตรงกลาง แต่เราไม่ใช่พ่อค้าคนกลาง เพราะเรามี ‘คุณธรรม’ ไม่ใช่แค่ซื้อของเขามาแล้วเอาไปขาย แต่ต้องคิดงานและทำงานร่วมกับชุมชน แล้วชุมชนจะเป็นคนบอกว่ามีคุณธรรมหรือไม่” คำนิยาม “นักการตลาดชุมชน” ที่อัจฉริยา ศิริโชติ ใช้เมื่อแนะนำ “อาชีพ” ของเธอ จากครูสอนบัญชีในโรงเรียนเอกชน ขยับเป็นผู้ประเมินสถานศึกษา และก้าวมาทำงานด้านเกษตรและชุมชนในโครงการเครือข่ายชาวนาวิถีเกษตรอินทรีย์ จากคำชักชวนของ ผศ.ธนศักดิ์ สุขสง อดีตผู้อำนวยการศูนย์สาธิตฝึกอาชีพเศรษฐกิจพอเพียง รุ่นพี่สมัยเรียนปริญญาโทด้านพัฒนาสังคม นิด้า ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ “นักการตลาดชุมชน (ที่มีคุณธรรม)” ในปี 2560 “ตอนแรกชั่งใจว่าจะร่วมโครงการดีมั้ย เพราะตัวเองไม่ชอบการตลาด วิชาการขายการตลาดไม่เอาเลย เพราะคิดว่าต้องไปขาย ไม่ใช่ตัวเรา แต่อาจารย์ธนศักดิ์ให้มองถึงชุมชน สิ่งที่ชุมชนมีปัญหาคือเรื่องการตลาด มีของในมือ แต่โดนกดขี่”

อื่นๆ

“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง เมื่อเอ่ยถึง “จุลินทรีย์” ภาพในความคิดของหลายคนเป็น “สิ่งมีชีวิตเล็กๆ” เล็กขนาดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นี้ เราจะนึกถึงอะไร ….. “จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย มีทั้งตัวดีและไม่ดี ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยตัวไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ ในขณะที่ตัวดีนั้นสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น บางตัวย่อยสลายเซลลูโลสหรือสารอินทรีย์ได้” ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ช่วยขยายความเข้าใจต่อ “จุลินทรีย์” มากขึ้น เมื่อจุลินทรีย์มีหลากหลายกลุ่มและยังมีทั้งตัวดีและไม่ดี การจะนำจุลินทรีย์มาใช้งานจึงต้องคัดเลือกชนิดและคุณสมบัติที่ต้องการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่งานวิจัยของ ดร.ฐปน–ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้