หนอนแม่โจ้: อีกหนึ่งผู้ย่อยขยะอินทรีย์ที่น่าจับตา

หนอนแม่โจ้: อีกหนึ่งผู้ย่อยขยะอินทรีย์ที่น่าจับตา

ในช่วงหลายปีมานี้กระแสความนิยมเลี้ยง “ไส้เดือนดิน” มีมากขึ้น ด้วยเป็นตัวเอกที่ช่วยกำจัดขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังให้ผลผลิตเป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและน้ำไส้เดือนดินที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตสวยงาม  แม้จะมีผู้สนใจเลี้ยงไส้เดือนดินมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการกำจัดขยะอินทรีย์ที่นับวันจะมีมากขึ้น นับเป็นเรื่องดีที่วันนี้นักวิจัยไทยได้ค้นพบแมลงตัวน้อยอีกชนิดหนึ่งที่ย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ดีไม่น้อยกว่าไส้เดือนดิน และยังมีเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสูงสำหรับสัตว์เศรษฐกิจ รวมทั้งมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกไม่น้อย จาก “ไส้เดือนดิน” ถึง “หนอนแม่โจ้” หลังจากที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่วงกว้างแล้วนั้น “ไส้เดือนดิน” ได้ชักนำให้ทีมวิจัยได้รู้จักกับแมลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในโรงเลี้ยงไส้เดือนดินของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำไปสู่การศึกษาวิจัยแมลงชนิดนี้อย่างจริงจังโดยได้ทุนสนับสนุนวิจัยจาก สวทช. ตั้งแต่ปี 2553 ทีมวิจัยศึกษาพบว่า แมลงดังกล่าวเป็นตัวเต็มวัยของแมลงวันลายชนิดหนึ่ง ซึ่งตัวหนอนของแมลงนี้ช่วยจัดการขยะอินทรีย์ได้ด้วย ทีมวิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงที่ครบวงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้ และตั้งชื่อหนอนแมลงนี้ว่า “หนอนแม่โจ้ (Maejo Maggots)” หลังจากที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร

“ชันโรง”: ผึ้งจิ๋ว รายได้แจ่ม

“ชันโรง”: ผึ้งจิ๋ว รายได้แจ่ม

“ใช่ผึ้งมั้ย” “เก็บน้ำผึ้งขายได้มั้ย” คำถามยอดนิยมที่คุณวสันต์ ภูผา เกษตรกรสวนผลไม้และผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงชันโรง ได้ยินเสมอจากผู้มาเยี่ยมชม “ศูนย์สาธิตการเพาะเลี้ยงชันโรง (ผึ้งจิ๋ว)” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม แต่กว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องชันโรงและมีศูนย์สาธิตเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋วแห่งใหญ่นี้ได้ ก็ไม่ใช่เรื่องจิ๋วๆ จาก “ผึ้ง” สู่ “ชันโรง” ตอบโจทย์สวนผลไม้ เช่นเดียวกับเกษตรกรทั่วไปที่ต้องการให้สวนผลไม้ตนเองมีผลผลิตเพิ่ม เมื่อรู้ว่าสวนลิ้นจี่ในพื้นที่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการเลี้ยง “ผึ้ง” ช่วยผสมเกสร คุณวสันต์ไม่รีรอที่จะเรียนรู้และลงทุนร่วมครึ่งล้านบาทเลี้ยงผึ้งในพื้นที่ของตน แต่กลับไม่เป็นดังที่คาดหวัง ด้วยพฤติกรรมของผึ้งที่จะผสมพันธุ์บนอากาศ จึงกลายเป็นอาหารอันโอชะของนกประจำถิ่นอย่าง “นกจาบคา” แม้สูญเงินจำนวนมากไปแล้ว แต่ด้วยความต้องการเพิ่มผลผลิตให้สวนผลไม้ตนเอง คุณวสันต์ย้อนนึกถึงแมลงผสมเกสรอีกชนิดหนึ่งที่คุ้นเคยมาแต่เด็ก “รู้ว่าชันโรงเป็นแมลงผสมเกสร ก็ไปแคะรังชันโรงที่อยู่ใต้เตียงนอนได้มา 4 รัง เอามาใส่รังที่เหลือจากการเลี้ยงผึ้ง ผ่านไป 6 เดือนจำนวนเพิ่มขึ้นเต็มรัง ก็ลองแยกรังเอง” แม้จะรู้ว่าชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรตระกูลเดียวกับผึ้ง เพียงแต่ไม่มีเหล็กไน

“เลี้ยงผึ้ง” ที่ได้มากกว่า “น้ำผึ้ง”

้honey

    เรารู้จัก “ผึ้ง” ในฐานะแมลงผสมเกสรที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่ภายใต้เหล็กไนที่เป็นอาวุธประจำกาย แมลงตัวเล็กนี้ยังสัมพันธ์กับระบบนิเวศ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน หรือแม้แต่งบประมาณค่ารักษาพยาบาลของประเทศ โดยมี “งานวิจัย” ที่เชื่อมโยงและสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่ามหาศาลของ “ผึ้ง” – – – – – – – – – – – – – –   พื้นที่แปลงสับปะรด 25 ไร่ ถูกแปลงสภาพเป็นพื้นที่เกษตรผสมผสาน ปลูกไม้ผลไม้ดอก พืชผัก เลี้ยงเป็ด วัว ฯลฯ ซึ่ง แมนรัตน์ ฐิติธนากุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 ต.บ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ตั้งใจให้พื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ หวังช่วยปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตรเชิงเดี่ยวอย่างสับปะรดให้ชาวบ้าน

ผึ้ง/ชันโรง

ผึ้ง/ชันโรง

“ผึ้งและชันโรง” เป็นแมลงผสมเกสรดอกไม้ที่สำคัญ ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ขณะเดียวกันผลพลอยได้จากแมลงทั้งสองชนิด ไม่ว่าจะเป็น น้ำผึ้ง หรือไขผึ้ง ยังอุดมด้วยคุณค่าโภชนาการ และนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกด้วย  บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “เลี้ยงผึ้ง” ที่ได้มากกว่า “น้ำผึ้ง” “ชันโรง” : ผึ้งจิ๋ว รายได้แจ่ม สิ่งพิมพ์ น้ำเชื่อมจากผลลำไย อาหารเสริมสำหรับ “ผึ้งพันธุ์” ชันโรง แมลงผสมเกสรพืชชั้นยอด วิดีโอ Club Farm Day The Series ตอน เลี้ยงผึ้ง พึ่งเทคโนโลยี Club Farm Day The

ฐานเรียนรู้ “การผลิตอาหารโคคุณภาพ”

ฐานเรียนรู้ “การผลิตอาหารโคคุณภาพ”

“การเลี้ยงโคแม่พันธุ์เพื่อเลี้ยงเอาลูกโค แต่ก่อนที่ฟาร์มผมเน้นให้อาหารหยาบที่หาวัตถุดิบได้ง่ายในท้องถิ่น จะเป็นพืชชนิดไหนก็ได้ ขอให้ต้นทุนถูกที่สุด เอามาผสมกับอาหารข้น โรยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ด้านบนเป็นท็อปปิ้งให้โคกินจนอิ่ม จนได้มาอบรมกับ สวทช. ถึงได้รู้ว่า อาหารหยาบหรือพืชแต่ละชนิดให้สารอาหารและพลังงานที่แตกต่างกัน” “FP Samanmit Farm” ของ ภุมรินทร์ สมานมิตร-สุนันทา สังข์ทอง ได้รับคัดเลือกจากสมาชิกกลุ่มโคเนื้อทาจิมะในจังหวัดระยอง ให้เป็นต้นแบบฐานเรียนรู้การเลี้ยงโคเนื้อของพื้นที่ ด้วยบริหารจัดการฟาร์มขนาดกลางที่มีโคราว 60 ตัว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โคมีคุณภาพ ได้น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงการดูและสภาพแวดล้อมฟาร์มให้สะอาด อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนความรู้เทคโนโลยีการผลิต­­อาหารโค ภายใต้โครงการ การผลิตอาหารโคเพื่อความยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) พัฒนาสูตรอาหารโคที่เน้นการใช้วัตถุดิบหลักในท้องถิ่น สำรวจและเก็บตัวอย่างวัตถุดิบเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางโภชนะ สร้างทางเลือกให้เกษตรนำไปปรับใช้เพื่อให้ได้คุณค่าตามความต้องการโภชนะของโค

โคขุน ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ

โคขุน ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ

ทุกๆ วันก่อนไปทำงานและเลิกงานจากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา สุริยะ ทองสา จะแบ่งเวลามาดูแลโคสายพันธุ์ลูกผสมบราห์มัน-ชาโลเล่ย์ที่ “สุนิสาฟาร์ม” ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา ฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อที่เขาตั้งใจทำไว้รองรับชีวิตหลังเกษียณ ด้วยคลุกคลีอยู่ในแวดวงการเลี้ยงสัตว์ สุริยะ มองว่าหากเลี้ยงสัตว์เป็นรายได้เสริม “โค” หรือ “วัว” เป็นตัวเลือกที่ให้ราคางาม แม้จะมีต้นทุนค่าอาหารสูง แต่วัตถุดิบทางการเกษตรที่มีมากมายในท้องถิ่นเป็นตัวช่วยได้ “ถ้าลดต้นทุนได้มาก จะมีกำไรมาก แม้ว่าขายราคาเท่ากัน แต่ต้นทุนจะเป็นตัวกำหนดว่าได้กำไรมากหรือน้อย” เป็นแนวคิดการทำฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อของ สุริยะ ที่เริ่มจากเลี้ยงปล่อยทุ่งและขายให้พ่อค้าทั่วไป ก่อนเปลี่ยนมาเลี้ยงวัวแบบไขมันแทรกหรือ “โคขุน” ส่งให้ “สหกรณ์โคขุนดอกคำใต้” ด้วยเหตุผลตลาดรับซื้อแน่นอนและราคารับซื้อสูงกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 110 บาท ขณะที่วัวเนื้อทั่วไปราคากิโลกรัมละ 80 บาท เมื่อตัดสินใจหันมาเลี้ยงวัวไขมันแทรก สุริยะ หาความรู้จากหน่วยงานที่สังกัดและค้นคว้าข้อมูลจากวารสารต่างๆ ทำให้พบว่านอกจากสายพันธุ์และการจัดการสภาพแวดล้อมในฟาร์มแล้ว “อาหาร” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัวมีไขมันแทรก “เดิมเน้นให้หญ้าเนเปียร์ รูซี่ กินนี่ แต่วัวที่ต้องการไขมันแทรก ไม่เน้นหญ้า จะเน้นฟาง อาหารข้น อาหารประเภทแป้ง เคยเอาเปลือกข้าวโพดมาให้วัวกิน เพราะคิดว่าคล้ายฟางและเป็นของเหลือทิ้งอยู่แล้ว เห็นแล้วเสียดาย

นวัตกรรมฟางข้าวอินทรีย์: ผลิตภัณฑ์จากบ้านสามขา จังหวัดลำปาง

นวัตกรรมฟางข้าวอินทรีย์: ผลิตภัณฑ์จากบ้านสามขา จังหวัดลำปาง

อย่าโยนฉันทิ้ง ให้โอกาสฉันงอกงามในสวนคุณ “กระดาษที่สื่อสารมากกว่าตัวหนังสือ” คุณเคยได้รับกระดาษโน๊ตที่ส่งผ่านด้วยข้อความสั้นๆ ไหม? หลังจากคุณอ่านข้อความแล้ว กระดาษเหล่านั้นหายไปไหน? วันนี้กระดาษโน๊ตจากฟางข้าว หรือ “สวนกระดาษ” ทำให้คุณเข้าใจมากกว่าตัวหนังสือ เพราะสวนกระดาษ คือสิ่งที่สื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการดูแลเอาใจใส่เมล็ดพันธุ์ในกระดาษให้งอกเจริญเติบโตเป็นต้นกล้า กระทั่งนำไปบริโภคได้ กระดาษฟางข้าวไม่เพียงใช้เขียนเพื่อสื่อข้อความ แต่เป็นปุ๋ยไร้สารเคมีชั้นดี ทำให้พืชเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อศัตรูพืช เมื่อถึงช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวในหลายพื้นที่ในประเทศไทย “ฟางข้าว” ส่วนที่เหลือใช้จากการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกกลายเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมกำจัดฟางข้าวโดยการเผาทำลายมากกว่าการปล่อยให้ย่อยสลาย เพราะความสะดวก รวดเร็ว และการขาดแคลนแรงงาน กลายเป็นปัญหาหมอกควันหรือมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นทุกปี รวมทั้งการสูญเสียอินทรีย์วัตถุที่กลับคืนสู่ผืนดิน “หมู่บ้านสามขา” มีการรณรงค์ในเรื่องการเผา จนได้รับรางวัลเป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาฟางข้าว หมู่บ้านสามขา อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ล้อมรอบด้วยภูเขา เป็นแหล่งต้นน้ำธรรมชาติที่บริสุทธิ์จากยอดดอย ชาวบ้านสามขาใช้น้ำธรรมชาติจากยอดดอยสำหรับอุปโภคและบริโภค การทำเกษตรทำนายึดถือตามวิถีชีวิตคนในชุมชนที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ใช้หลักการของเกษตรแบบอินทรีย์ คือการทำนาโดยไม่ใช้สารเคมี

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“สมัยก่อนหว่านถั่วเขียวที่หัวไร่ปลายนา เอาไว้ทำไส้ขนม หว่านถั่วลิสงไว้ทำกระยาสารท รุ่นพ่อแม่เก็บเมล็ดไว้นิดหน่อยเพื่อใช้หว่านรอบต่อไป” ประดิษฐ์ เขม้นเขตร์กิจ ผู้ใหญ่บ้านดอยหวาย หมู่ 7 ต.บ่อยาง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี บอกเล่าวิถีการปลูกพืชหลังของคนรุ่นพ่อแม่เมื่อกว่า 40 ปีจากพืชที่ปลูกไว้เพื่อใช้ในครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกไม่มากมาย วิถีการปลูกถั่วเขียวของชุมชนเริ่มปรับเปลี่ยนได้ราว 15 ปี หลังมีข้อกำหนดห้ามทำนาปรัง เกิดการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกถั่วเขียวเป็น “อาชีพเสริม” มีทั้งส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพืชไร่ชัยนาทและจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางป้อนสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สำหรับชาวนาจะเริ่มปลูกถั่วเขียวหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยปลูกในช่วงพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ส่วนชาวไร่จะปลูกถั่วเขียวในช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนลงปลูกข้าวโพด สายพันธุ์ถั่วเขียวที่ชาวบ้านนิยมปลูก เช่น ชัยนาท 84-1 กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 “ช่วงปี 2559 เมล็ดพันธุ์กำแพงแสนมีไม่พอ ลูกบ้านอยากได้พันธุ์อื่นมาปลูกเพิ่ม ก็ไปสอบถามจากเกษตรอำเภอ ถึงได้รู้ว่ามีพันธุ์ KUML เข้ามาใหม่” ประดิษฐ์ ย้อนความเมื่อวันที่ได้รู้จักถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่