หลักการ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโครงการนักวิจัยแกนนำ ดำเนินการคัดเลือกนักวิจัยศักยภาพสูงจำนวนหนึ่ง เป็นนักวิจัยแกนนำ สวทช. โดยให้การสนับสนุนงบประมาณรวมไม่เกิน 20 ล้านบาท ในระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี เพื่อแสดงความเป็นเลิศในสาขาที่เชี่ยวชาญ และผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ เพื่อเร่งให้เกิดการเพิ่มคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น จากผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานของนักวิจัยแกนนำ จึงประกาศช่องทางการสนับสนุน แผนงานการยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และ/หรือ การใช้ประโยชน์ ที่อาจพัฒนาขยายไปสู่ภาคผลิต ภาคบริการ หรือภาคอุตสาหกรรมได้ในอนาคต

 

คำนิยาม แผนการยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น

เป็นแผนงานที่ต่อยอดจากผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการนักวิจัยแกนนำ เพื่อเร่งให้เกิดผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงขึ้นจากเดิม มิได้เป็นการขยายขอบเขตของงานวิจัยให้กว้างขึ้น ผลงานที่เกิดขึ้นนี้มุ่งหวังให้นำไปสู่ 1. ความเป็นเลิศทางวิชาการ เช่น การตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติชั้นนำของโลก เช่น Nature index หรือเทียบเท่า และ/หรือ 2. นวัตกรรมทางวิชาการที่มีศักยภาพการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือเชิงสาธารณประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม

หมายเหตุ

*หัวหน้าโครงการพิจารณารายการผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการวิจัย และเลือกผลงานวิจัยที่มีศักยภาพต่อยอดเพื่อเสนอรายละเอียดแผนงานในการขอรับการสนับสนุน

 

การสนับสนุน

จำนวนไม่เกิน 2 แผนงาน งบประมาณไม่เกิน 15 ล้านบาท/แผนงาน

 

คุณสมบัติของผู้เสนอแผนงาน และการดำเนินงาน

  1. เป็นหัวหน้าโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการวิจัยภายใต้โครงการนักวิจัยแกนนำ และโครงการ NSTDA Chair Professor ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงานเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 14 เดือน นับจากวันที่ปิดรับสมัคร
  2. การดำเนินงานของแผนงานการยกระดับคุณภาพงานวิจัยให้สูงขึ้นต้องอยู่ภายใต้ระยะเวลาของโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน
  3. โครงการนักวิจัยแกนนำจะประกาศรายละเอียดหลักการการเสนอแผนการยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น เฉพาะในกลุ่มหัวหน้าโครงการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดได้รับทราบ และ เรียนเชิญหัวหน้าโครงการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เสนอแผนงานฯ เพื่อรับการพิจารณา

 

ระยะเวลาการเสนอแผนงาน

2 เดือน นับตั้งแต่วันที่แจ้ง

 

รายละเอียดแผนงาน

  1. ชื่อแผนงาน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  2. งบประมาณ (บาท) ระยะเวลาดำเนินงาน (ปี)
  3. คณะผู้วิจัย
  4. บทคัดย่อและคำสำคัญ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  5. รายละเอียดคณะผู้วิจัย
  6. ขอบเขตของแผนงานวิจัย
  7. ที่มาและการทบทวนวรรณกรรม
  8. เป้าหมายการยกระดับคุณภาพงานวิจัยให้สูงขึ้น
  9. วัตถุประสงค์หลัก
  10. Target Output Profiles ที่สำคัญของข้อเสนอแผนงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้
  11. แผนผังแสดงความเชื่อมโยงกับแผนงานที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการต่อเนื่อง
  12. ผลงานเด่นและผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับจากแผนงาน รวมทั้ง แสดงเอกสารประกอบ ได้แก่
    • บทคัดย่อ/สิทธิบัตร ของผลงานเด่นภายใต้โครงการ ที่คาดว่าจะสามารถตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ Nature index หรือวารสารวิชาการอันดับต้นของสาขาวิชา และระบุ Key-finding ในแต่ช่วงระยะเวลาตามเนื้อหาในบทคัดย่อ/สิทธิบัตร
    • รายชื่อวารสารวารสารวิชาการอันดับต้นของสาขาวิชา ที่ประสงค์จะตีพิมพ์
  1. ผลงานที่คาดว่าจะได้รับ (จำนวนนับ)
  2. รายละเอียดแผนงานหลัก
  3. รายละเอียดการดำเนินการวิจัย
  4. งบประมาณ (ไม่เกิน 15 ล้านบาท)
    • หมวดค่าจ้าง/ค่าตอบแทน (ไม่เกิน 40% ของงบประมาณรวม)
    • หมวดทุนศึกษาวิจัย (ค่าลงทะเบียน และค่าใช้จ่ายประจำเดือน)
    • หมวดค่าวัสดุ/สารเคมี
    • หมวดค่าใช้สอย (ค่าวิเคราะห์ตัวอย่าง ค่าเดินทางเพื่อปฏิบัติงานในประเทศ ค่าจดสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ ค่าจัดประชุมหารือ และอื่นๆ)
    • หมวดความร่วมมือกับภาคการผลิตและบริการ
    • หมวดเดินทางต่างประเทศ (ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี)
    • หมวดค่าบริหารโครงการเพื่อจ่ายให้กับต้นสังกัด (ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี)
    • หมวดค่าครุภัณฑ์ ไม่เกิน 500,000 บาท ตลอดโครงการ
  1. เอกสารอ้างอิง
  2. ประวัติเต็มของคณะผู้วิจัยทุกท่าน

 

เกณฑ์การพิจารณา แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  1. แผนงานและวัตถุประสงค์ 30%
    • ที่มาและเป้าหมายการยกระดับคุณภาพงานวิจัยให้สูงขึ้น
    • ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
    • ความเชื่อมโยงกับแผนงานหลัก
    • ความเหมาะสมของงบประมาณและวิธีดำเนินการในช่วงเวลาที่เสนอ
    • ความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่
  1. ความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายและโอกาสความสำเร็จของผลงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 50%
    • มีความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายและผลสำเร็จที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
    • เกิดการยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น เช่น การตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ชั้นนำของโลก เช่น Nature index หรือเทียบเท่า หรือวารสารอันดับต้นของสาขา การยื่นจดสิทธิบัตรระดับนานาชาติ  การสร้างนวัตกรรมทางวิชาการที่มีศักยภาพการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือเชิงสาธารณประโยชน์
    • ความเหมาะสมของผลสำเร็จของผลงานวิจัยในเชิงคุณภาพ
  1. ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการที่เสนอ 20% เช่น
    • มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการพัฒนาด้านวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ หรือ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ
    • มีความเชื่อมโยง และมีความเป็นไปได้สู่การใช้ประโยชน์ในภาคการผลิตและบริการหรือ ภาคสังคม หรือ
    • สามารถคาดหวังผลกระทบในระดับสูงทางด้านเศรษฐกิจ และ/หรือ สังคม

หลักการแผนยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น

แบบขอรับการสนับสนุนแผนยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น