เกณฑ์การพิจารณา แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 หัวหน้าโครงการและทีมวิจัย

  1. ความเป็นผู้นำ เฉพาะหัวหน้าโครงการ (20%)
  • หัวหน้าโครงการเป็นนักวิจัยที่มีประสบการณ์สูงเทียบเคียงได้กับนักวิจัยระดับศาสตราจารย์
  • มีผลงานเป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับจากนักวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ
  • มีลักษณะเป็นผู้นำกลุ่ม จะมีความสามารถในการนำทีมไปสู่ความสำเร็จ
  1. ความสามารถทางด้านวิชาการ (20%)
  • มีความรู้และความชำนาญในด้านที่เสนอขอรับการสนับสนุน
  • มีการผลิตผลงานวิจัยทางด้านที่เสนอมาอย่างต่อเนื่อง
  • ผลงานของผู้นำกลุ่มและกลุ่มวิจัยในอดีตทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
  • มีความสามารถประยุกต์งานวิชาการในการแก้ปัญหาที่ท้าทาย และพัฒนาผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
  1. มีผลงาน ประวัติ และประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของภาคการผลิต หรือบริการ หรือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม หรือชุมชน (10%)

 

ส่วนที่ 2 โครงการวิจัย

  1. แผนงานและวัตถุประสงค์ (15%)
  • ความเชื่อมโยงงานวิจัยจากหลากหลายสาขาวิชา
  • ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์และเป้าหมายโครงการ
  • ความชัดเจนของแผนงานและความเชื่อมโยงระหว่างโครงการย่อย
  • ความเหมาะสมของวิธีดำเนินการในช่วงเวลาที่เสนอ และความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่
  • ความซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับโครงการอื่นหรือเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม
  1. ผลงานที่คาดว่าจะได้รับ (15%)
  • งานวิจัยที่มีคุณภาพสูง มีองค์ความรู้พื้นฐานที่เข้มแข็ง สามารถตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับนานาชาติชั้นนำ หรือวารสารที่มี Impact factor
    อันดับต้นของสาขาวิชา
  • ผลงานสามารถนำไปแก้ปัญหาให้กับภาคผลิตและบริการ หรือปัญหาทางภาคสังคมได้อย่างชัดเจน หรือมีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้หรือ
    นำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ประโยชน์จริงได้
  • ผลงานที่คาดว่าจะได้รับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และช่วงเวลาที่เสนอ
  • ความเหมาะสมของเกณฑ์ประเมินผลสำเร็จของผลงานวิจัยในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ เช่น จำนวน/ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์บทความ
    สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ต้นแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบุคลากร (นักศึกษา นักวิจัยจากเอกชน)
  1. ความสำคัญของโครงการ และความเชื่อมโยงกับภาคผลิตและบริการหรือภาคสังคม (20%)
  • มีความเร่งด่วน และความจำเป็นกับการพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ
  • มีคุณค่าใน ด้านการพัฒนาวิชาการอย่างมาก ด้านเศรษฐกิจ หรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • มีความเชื่อมโยง และมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในภาคผลิตและบริการ ภาคสังคม
  • สร้างผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ หรือภาคสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาโรค
  • สามารถระบุกลุ่มของผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย
  • ผลงานวิจัยสามารถช่วยเสริมสร้างความมั่งคั่ง และ/หรือ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

 

กระบวนการพิจารณาคัดเลือก จะดำเนินการโดยคณะกรรมการ อย่างน้อย 2 ชุด

  • คณะผู้เชี่ยวชาญประเมินข้อเสนอรายโครงการ (Proposal Reviewers) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการในแต่ละสาขาเทคโนโลยี เพื่อจัดอันดับข้อเสนอโครงการ
    ที่ส่งเข้ามา โดยพิจารณาจากความเห็นจากคณะผู้เชี่ยวชาญประเมินข้อเสนอโครงการ (ทางเลือก)
  • คณะกรรมการส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยแกนนำ เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ โดยพิจารณาจากความเห็นของคณะผู้เชี่ยวชาญประเมินข้อเสนอโครงการ ควบคู่กับความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ

หมายเหตุ: ผลการพิจารณาของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด