ผลที่คาดว่าจะได้รับ  

  • กลุ่มวิจัยที่เข้มแข็ง และโครงสร้างในการพัฒนานักวิจัยของประเทศ
    • กลุ่มนักวิจัยแกนนำที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพสูง ในสาขาวิชาต่างๆ จำนวน 1-2 กลุ่มต่อปี
      โดยมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการงานวิจัย
    • โครงสร้างในการพัฒนาวิชาชีพนักวิจัยที่ชัดเจน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีนักวิจัยระดับอาวุโสเป็นที่ปรึกษา
      และมีนักวิจัยรุ่นใหญ่เป็นพี่เลี้ยง
    • นักศึกษาระดับปริญญาโท เอก และนักวิจัยหลังปริญญาเอก จำนวนมาก
  • ผลงานที่มีคุณภาพและปริมาณเหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ
    • ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เทคโนโลยีต้นแบบ จำนวนหนึ่ง ที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ และ/หรือ เชิงสาธารณประโยชน์
      ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานทางอุตสาหกรรมของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย
    • ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพในระดับสูง ได้แก่ การยื่นจดสิทธิบัตร ผลงานตีพิมพ์
      ในวารสารระดับนานาชาติชั้นนำ Nature index หรือวารสารที่มี Impact factor อันดับต้นของสาขาวิชา องค์ความรู้ใหม่ และ/หรือ
      นวัตกรรมทางวิชาการใหม่ที่มีการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือเชิงสาธารณประโยชน์
  • การเผยแพร่ผลงานเพื่อให้ความรู้แก่สังคม เช่น บทความ คู่มือ หรือหนังสือ เป็นต้นเพื่อให้บุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้