ผ่ากลยุทธ NICT ญี่ปุ่น มุ่งเป้าสู่ Society 5.0

          เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาสังคมโลก เช่น ภัยธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน โรคระบาด และการปรับตัวให้เข้ากับสังคม New Normal ในยุคหลังโควิด 19 ได้อย่างยืดหยุ่น สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (ญี่ปุ่น) หรือ NICT (National Institute of Information and Communications Technology) ในฐานะองค์กรวิจัยและพัฒนาระดับชาติแห่งเดียวของญี่ปุ่น ตั้งเป้าที่จะสร้างนวัตกรรม เพื่อปฏิรูปญี่ปุ่นให้ไปสู่สังคมที่ยั่งยืนและแข็งแกร่ง การเร่งการเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิทัล และการบรรลุสู่เป้าหมาย Society 5.0 ซึ่งเป็นสังคมที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางด้วยระบบการผสมผสานระหว่างไซเบอร์สเปซและพื้นที่ทางกายภาพ จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

          NICT ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 มีงานหลัก 3 เรื่อง คือ

          – การกระจายข้อมูลทางแม่เหล็กไฟฟ้า การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นวิทยุ
          – การสนับสนุนสำหรับผู้ที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านการสื่อสาร / ออกอากาศขั้นสูง
          – การส่งเสริมธุรกิจด้านคมนาคม / กิจการกระจายเสียง

          แผนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ 6 ของญี่ปุ่น ตามมติ ครม. ของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 ได้กำหนดให้ Society 5.0 เป็นสังคมเป้าหมายที่ควรจะเป็นในอนาคต

          โดยในแผนระยะกลางถึงระยะยาวของ NICT (เมษายน พ.ศ. 2564 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2569) ได้สานต่อ 5 สาขาสำคัญ ได้แก่

          1. เทคโนโลยีแม่เหล็กไฟฟ้าชั้นสูง (Advanced electromagnetic technology)
          2. เครือข่ายที่เป็นนวัตกรรม (Innovative networks)
          3. ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (Cybersecurity)
          4. การสื่อสารสากล (Universal communication)
          5. วิทยาศาสตร์ขั้นแนวหน้า (Frontier science)

          ทาง NICT ยังส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในแบบตัดขวางและเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 4 ด้านยุทธศาสตร์ ได้แก่

          – Beyond 5G
          – AI (Artificial Intelligence)
          – การสื่อสารข้อมูลควอนตัม
          – ความปลอดภัยทางไซเบอร์


VoiceTra แอปแปลภาษาฟรีที่ร่วมพัฒนาโดย NICT ญี่ปุ่น มีให้ดาวน์โหลดฟรีทั้ง iOS และ Android

          สำหรับการวิจัยและพัฒนา Beyond 5G ตั้งเป้าที่จะสร้างเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมที่เป็นองค์ประกอบในการมุ่งไปสู่ยุคถัดไปของระบบการสื่อสารเคลื่อนที่รุ่นที่ 5 (5G) และนำไปใช้ในสังคม AI สร้างเทคโนโลยีล่ามพูดพร้อม (Simultaneous Translation) ในระดับที่ใช้งานได้จริง เพื่อให้เกิดสังคมที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางซึ่งเป็นเป้าหมายที่ Society 5.0 ตั้งไว้

          ในการสื่อสารข้อมูลควอนตัม มีการสร้างเทคโนโลยีรากฐานสำหรับการสร้างเครือข่ายควอนตัมที่รวมเอาดาวเทียมและเครือข่ายภาคพื้นดินเอาไว้ เช่น การเข้ารหัสควอนตัมที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ และเทคโนโลยีโหนดควอนตัมในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยตั้งเป้าที่จะสร้างเทคโนโลยีที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการกับการโจมตีทางไซเบอร์และเทคโนโลยีที่สามารถรับรองความปลอดภัยได้ แม้ในยุคของคอมพิวเตอร์ควอนตัม


นิทรรศการแสดงข้อมูลของ NICT ในพื้นที่ JAPAN Pavilion งานมหกรรมวิทย์ 64 อิมแพ็ค เมืองทอง

          การทำงานร่วมกันข้ามสาขางาน นอกจากจะมีความสำคัญต่อการเพิ่มระดับเทคโนโลยีในองค์ประกอบแต่ละส่วนแล้ว ยังสำคัญต่อการเชื่อมโยงระหว่างกันและการสร้างระบบทั้งหมด โดยผ่านกิจกรรมดังกล่าวเหล่านี้ NICT จะส่งเสริมนวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) เพื่อช่วยเหลือในการแก้ปัญหาทางสังคมและระดับภูมิภาค จะทำการแปลงเป็นดิจิทัล (Digital transfer) มุ่งมั่นสร้างคุณค่าเพื่อระบบสังคมยุคใหม่ และทำ SDGs ที่มีความหลากหลายและความยั่งยืนให้สำเร็จต่อไป

          นอกจากนี้ NICT ยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาของประเทศไทยอีกหลายแห่ง ในการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และสร้างสถานีเรดาร์ในประเทศไทยอีกด้วย

About Author