© 2023 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ
Empowering your business with
Digital 4.0 plus
- UNAI office : ระบบติดตามครุภัณฑ์ภายในอาคาร
- การพัฒนาแพลต์ฟอร์มหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติและหุ่นยนต์บริการ
- Graphene-Zinc ion battery (ZafeBatt)
- นวัตกรรมหุ่นยนต์บริการส่งของอัตโนมัติภายในอาคารและแพลตฟอร์มปุ่มกดลิฟต์ไร้สัมผัส MagikTuch-IoT
29 March 2023 | 13.30-15.00
UNAI office : ระบบติดตามครุภัณฑ์ภายในอาคาร
ติดป้ายระบุตำแหน่งให้ครุภัณฑ์ในอาคารเพื่อบอกตำแหน่งได้ตลอดเวลาอย่างแม่นยำผ่านบลูทูธและ wifi ใช้พลังงานต่ำ ประสิทธิภาพสูง ลดการสูญเสียเวลาและทรัพย์สิน หาง่าย หายรู้ เพิ่มมูลค่าให้ระบบ Enterprise resource planning
ดร.กฤษณ์ อธิกุลวงศ์
ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ (LAI)
กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
การพัฒนาแพลต์ฟอร์มหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติและหุ่นยนต์บริการ
โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติแบบ Blockly programming ให้สามารถเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายได้แม้มีสิ่งกีดขวาง ต่อกับเซนเซอร์ได้หลายชนิด แจ้งระดับพลังงานคงเหลือได้ นำไปสร้างเป็นหุ่นยนต์ได้หลายประเภท
ดร.อภิสิทธิ์ ตันตระวรศิลป์
ทีมวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน (SMR)
กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
Graphene-Zinc ion battery (ZafeBatt)
ทีมวิจัยจากฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ สวทช. สามารถพัฒนาต้นแบบแบตเตอรี่กราฟีนสังกะสีไอออนในระดับห้องปฏิบัติการและสามารถขยายผลไปสู่การผลิตเซลล์แบตเตอรี่กราฟีนสังกะสีไอออนชนิดเซลล์กระเป๋า (Pouch cell) ในระดับโรงงานต้นแบบได้ โดยได้นำเทคโนโลยีวัสดุกราฟีนมาประยุกต์ใช้ในการเตรียมขั้วไฟฟ้าทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้ นอกจากนี้แบตเตอรี่กราฟีนสังกะสีไอออนชนิดเซลล์แบบกระเป๋าที่ผลิตจากโรงงานต้นแบบได้ผ่านการทดสอบมาตรฐานการใช้งานด้านความปลอดภัย ตามมาตรฐาน มอก 2017-2548 จากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) ปัจจุบันทีมวิจัยได้ทำการออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงาน (Battery Management System; BMS) และสามารถประกอบโมดูลย่อยของแบตเตอรี่กราฟีนสังกะสีไอออนขนาด 28-30 โวลต์ และอยู่ระหว่างทำการทดสอบการใช้งานตามมาตรฐานความปลอดภัยในระดับโมดูลตามมาตรฐาน IEC 62619:2022
ดร. ชาคริต ศรีประจวบวงษ์
ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมกราฟีนสำหรับงานด้านพลังงาน (GEL)
ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (GPERD)
ดร. ชัชวรินทร์ ปูชัย
ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมกราฟีนสำหรับงานด้านพลังงาน (GEL)
ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (GPERD)
นวัตกรรมหุ่นยนต์บริการส่งของอัตโนมัติภายในอาคารและแพลตฟอร์มปุ่มกดลิฟต์ไร้สัมผัส MagikTuch-IoT
หุ่นยนต์บริการส่งของอัตโนมัติที่มีความสามารถในการโดยสารลิฟต์ได้อย่างอัตโนมัติ ด้วยแพลตฟอร์มปุ่มกดลิฟต์ไร้สัมผัส (MagikTuch-IoT) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถติดตั้งครอบบนปุ่มกดลิฟต์โดยสารเดิมได้โดยไม่ต้องดัดแปลงหรือเพิ่มเติมวงจรควบคุมลิฟต์โดยสาร จึงทำให้ไม่มีผลกระทบใดๆกับระบบลิฟต์โดยสารเดิม
คุณวีระยุทธ วัลย์ลดา
ฝ่ายวิจัยนวัตกรรมไร้สายและระบบอัจฉริยะ (WISRD)
บริการของสวทช.
สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น
ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทำธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น
ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์:
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120