18 ปี ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

18 ปี ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

จุดเริ่มต้นภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงให้ความสนพระทัยเรื่องชีวการแพทย์ โดยเสด็จพระราชดำเนินในการประชุมวิชาการ “Thai-US Symposium on International Development of Thai BME”  ระหว่างวันที่ 11-15 ธันวาคม 2548 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย มีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ  ทำหน้าที่ประสานงานตอนเริ่มต้น และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) เข้าร่วมประสานงานและสนับสนุนขับเคลื่อนภารกิจของภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (Thailand BioMedical Engineering Consortium: BME) ในระยะต่อมา

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

ประธานกรรมการภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

ภารกิจและผลการดำเนินงานของภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

1. ร่วมกำหนดนโยบาย วางแผน และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนา พันธกิจทางด้าน BME 
2. ส่งเสริมเครือข่ายการวิจัยและพัฒนา ด้าน BME 
3. แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิชาการ การเรียนการสอน ด้าน BME 
4. สร้างและพัฒนากำลังคนด้าน BME ของประเทศ
5. ร่วมสร้าง และเพิ่มการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้าน BME

26 มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย ที่มีหลักสูตรการสอนและพันธกิจวิจัยและพัฒนาด้าน BME

BME 1.0 (ปี 2548 -2559) 

พัฒนากำลังคน สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ มุ่งพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์  

  • 3,216 บัณฑิตด้าน BME จาก 13 มหาวิทยาลัย  
  • 50 นักเรียนทุนรัฐบาลที่จบการศึกษา และกลับมาปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัย 
  • 626 อาจารย์และนักวิจัยด้าน BME

BME 2.0 (ปี 2560 – ปัจจุบัน)

เน้นการสร้างผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ และความยั่งยืนของผลงานวิจัย ร่วมขับเคลื่อน BCG สาขาเครื่องมือแพทย์ 

  • ผลักดันผลงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Global Student Innovation Challenge: gSIC) ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ i-CREATe เพื่อต่อยอดเป็นนวัตกรรมออกสู่ผู้ใช้งานในรูปแบบสตาร์ทอัพ โดยมีศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. เป็นพี่เลี้ยง
  • พัฒนาผลงานวิจัยให้ได้มาตรฐาน

นักเรียนทุนด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

ดร. จีราพร ลีลาวัฒนชัย

ตำแหน่ง : นักวิจัย กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ประวัติการศึกษา

  • ระดับปริญญาตรี : สาขา Physics จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ระดับปริญญาโท-เอก : สาขา Biomedical Engineering จาก Cornell University สหรัฐอเมริกา

ขอบเขตงานวิจัยและความเชี่ยวชาญ

  • ชุดตรวจทางการแพทย์
  • เข็มขนาดไมโครเมตร
  • Bionanotechnology

เกียรติประวัติ

  • ได้รับเลือกให้เข้าร่วมงานประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ครั้งที่ 68  ปี 2561 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 
ดร. กันต์ณภพ รัฐวรภัสสร์

ตำแหน่ง : นักวิทยาศาสตร์ประจำงานตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านกลศาสตร์และวิศวกรรมทางการแพทย์ และอาจารย์ผู้สอนโครงการหลักสูตรวิศวกรรมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาตรี : สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ปริญญาโท : สาขาวิศวกรรมทางการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ระดับปริญญาเอก: สาขา Cardiovascular Sciences (Biomedical Engineering and Medical Physics), จาก University of Leicester สหราชอาณาจักร

ขอบเขตงานวิจัยและความเชี่ยวชาญ

  • การประเมินระบบควบคุมการไหลเวียนเลือดในสมองผ่านการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
  • การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ทางระบบประสาทที่ไม่รุกล้ำเพื่อการวินิจฉัยทางคลินิกในการถ่ายภาพทางสรีรวิทยาทางไฟฟ้าและหลอดเลือดสมอง
  • การวัดทาง(ประสาท)สรีรวิทยาและอัลตราซาวนด์ของหลอดเลือดสมอง
ดร. ฐิตินันต์ สวนนันท์

ตำแหน่ง : นักวิจัย  กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

 ประวัติการศึกษา

  • ระดับปริญญาตรี สาขา Bio and Brain Engineering และ Science and Technology Policy จาก Korea Advanced Institute of Science and Technology (KAIST)
  • ระดับปริญญาเอก สาขา Biomaterials and Tissue Engineering จาก University College London สหราชอาณาจักร

ขอบเขตงานวิจัยและความเชี่ยวชาญ

  • วิศวกรรมเนื้อเยื่อสำหรับการฟื้นฟูระบบประสาทส่วนปลาย
  • การเพาะเลี้ยงและเหนี่ยวนำการเรียงตัวของเซลล์ในไฮโดรเจล
  • การออกแบบและวิศวกรรมอุปกรณ์เฉพาะสำหรับการเลี้ยงเซลล์ ด้วยเทคนิค 3D printing
  • การผ่าตัดสัตว์ทดลอง และคัดแยกเซลล์สัตว์เพื่อการเพาะเลี้ยง

ผลงานด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

ชุดทดสอบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการฆ่าเชื้อ

ผู้วิจัยและพัฒนา: ดร. จีราพร ลีลาวัฒนชัย และคณะ
ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน
กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน
ศูนย์​นาโนเทค​โนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เจ้าของผลงาน: การประปาส่วนภูมิภาค​
และ สำนักงาน​พัฒนาวิทยาศาสตร์​และเทคโนโลยีแห่งชาติ
คุณสมบัติ
  • ชุดทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งความดันไอน้ำ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและพัฒนาขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีภายในประเทศ 
  • มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำเนื่องจากพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง 
  • ใช้งานง่ายและอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า  
  • สามารถตรวจวัดผลได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพเทียบเท่าชุดตรวจจากต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง
การเผยแพร่และการนำไปใช้ประโยชน์

ปัจจุบันได้ถูกถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับห้องปฏิบัติการ ISO 17025 ของการประปาส่วนภูมิภาค เพื่อนำไปทดสอบและทำการขยายผลต่อไป ณ ห้องปฏิบัติการเครือข่ายทั่วประเทศ

มาตรฐาน

ISO 13485 (Stage 1: Pre-Audit)


อุปกรณ์ช่วยฝึกเดินพยุงน้ำหนัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เจ้าของผลงาน : คุณวรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร
บริษัท : บริษัท เมดิคิวบ์ จำกัด
รางวัล : ชนะเลิศอันดับที่ 1 (Gold Award) จากงาน (i-CREATe 2017)
คุณสมบัติ

อุปกรณ์ช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยหลังกายภาพบำบัด รวมถึงผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการเดินจากโรคหลอดเลือดสมอง บาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการฝึกเดิน สร้างความมั่นใจในการเดิน ลดภาระการบาดเจ็บของผู้ดูแล ประสิทธิภาพการกายภาพบำบัดสูง ราคาเข้าถึงได้ เทคโนโลยีมีระบบกลไกพยุงน้ำหนักคนไข้ระหว่างเดิน ระบบป้องกันการหกล้ม ระบบช่วยยกขา และออกแบบมาให้เหมาะกับการฝึกที่บ้านและโรงพยาบาล

การเผยแพร่และการนำไปใช้ประโยชน์
  • ยอดขายจากเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึง พฤศจิกายน 2565 จำนวน 443 เครื่อง
  • ให้บริการเช่า 52 เครื่อง
มาตรฐานผลิตภัณฑ์

จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์และมาตรฐานทางด้านไฟฟ้าเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ IEC60601


เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลเคลื่อนที่ขนาดเล็ก บริษัท พิกซาเมด จำกัด

เจ้าของผลงาน : คุณภิญโญ แย้มพราย บริษัท พิกซาเมด จำกัด และทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ภายใต้ สวทช.
คุณสมบัติ
  • เครื่องมีขนาดเล็กและเคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถควบคุมการสั่งถ่ายเอกซเรย์ผ่านคอมพิวเตอร์และแสดงภาพเอกซเรย์ได้ทันที (Fully digital system) ซอฟต์แวร์
  • ใช้งานง่ายและสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้ มีซอฟต์แวร์ Virtual Grid แทนการใช้ Grid จริง ช่วยลดปริมาณรังสีให้กับผู้ป่วย
การเผยแพร่และการนำไปใช้ประโยชน์

โรงพยาบาลขนาดเล็ก ใช้สำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในร่างกายแบบสองมิติ

มาตรฐานผลิตภัณฑ์

ISO 13485, IEC 60601-1, IEC 60601-1-2, ความปลอดภัยทางรังสี, การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์แบบ CSDT


กิจกรรมทางวิชาการด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

ภาคี BME เข้าร่วมการประชุมวิชาการ BMEiCON 2022 ระหว่างวันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
ภาคี BME เข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกครั้งที่ 15
(the 15th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe 2022) ระหว่างวันที่ 26 – 28 สิงหาคม 2565 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์