magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การประชุมวิชาการประจำปี ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน
formats

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่องความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายในส่วนของคุณปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดังนี้

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) ครอบคลุม 4 เรื่อง คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบ ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า โดยวิทยากรเน้นบรรยายเรื่องเครื่องหมายการค้า  ว่าจะปกป้องและขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าอย่างไรในกลุ่มประเทศอาเซียน

ทั้งนี้การเข้าร่วม AEC วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าให้ดีขึ้น ซึ่งพื้นฐานอยู่ที่การวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งโดยภาพรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี 4 ข้อ คือ เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

ในอาเซียน ประเทศสิงคโปร์ประกาศว่าจะเป็น IP Hub ในอาเซียน และประเทศไทยน่าจะอยู่ในอันดับที่ 3 ในทุกเรื่อง รองจาก สิงคโปร์ และมาเลเซีย และการยื่นขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไหนจดมากจะเจริญ อันดับ 1 คือ สหรัฐอเมริกา เครื่องหมายการค้า ประเทศจีน เป็นอันดับ 1

ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มอาเซียน จากสถิติการยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2553 พบว่า

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิงคโปร์ นำเป็นอันดับ 1 จำนวน 9,773 คำขอ รองลงมา คือ มาเลเซีย จำนวน 6,463 คำขอ ฟิลิปปินส์ จำนวน 3,389 คำขอ
  • เครื่องหมายการค้า พบว่า ไทย นำเป็นอันดับ 1 จำนวน 37,656 คำขอ รองลงมา คือ มาเลเซีย จำนวน 26,370 คำขอ สิงคโปร์ จำนวน 17,504 คำขอ

ทรัพย์สินทางปัญญาในกรอบอาเซียน มีคณะทำงานความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน (AWGIPC) กำหนดการประชุมคณะทำงานอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง เพื่อร่วมกันหารือ และพิจารณากิจกรรมความร่วมมือเพื่อยกระดับระบบทรัพย์สินทางปัญญาในอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน ปี 2554-2556 ใน 5 เป้าหมาย คือ

  •  เพื่อสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในระบบทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียนโดยคำนึงถึงระดับการพัฒนาที่ต่างกัน
  • เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมายและนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาในระดับประเทศและระดับภูมิภาคของอาเซียน
  • เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ การสร้างความตระหนัก และการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์ เพื่อทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาประเทศ
  • เพื่อร่วมมีบทบาทในเวทีทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศและสร้างความสัมพันธ์กับคู่เจรจา
  • เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนและส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรในสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน

การเตรียมการด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยเพื่อรองรับ AEC

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป้าหมายประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกภาคี PCT แล้วตั้งแต่ปี 2009
  • สิทธิบัตรการออกแบบ เป้าหมายอาเซียนอย่างน้อย 7 ประเทศ เข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮก (Hague Agreement) ไทยอยู่ระหว่างศึกษาประโยชน์ที่จะได้รับแล้ว และเตรียมการแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรต่อไป
  • ลิขสิทธิ์ เป้าหมายส่งเสริมให้อาเซียนทุกประเทศมีการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าตอบแทนลิขสิทธิ์ (Copyright Management Organization : CMO) ไทยเป็นประเทศผู้นำกิจกรรมในเรื่องนี้ และได้มีการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้ง CMO แล้ว
  • เครื่องหมายการค้า เป้าหมายสมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคีสมาชิกพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol) ซึ่งเป็นระบบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ไทยอยู่ระหว่างเสนอร่างแก้ไข พรบ. เครื่องหมายการค้าให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และเตรียมพร้อมด้านบุคลากร การปรับองค์กร และการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

สุดท้ายสิ่งที่สำคัญในเรื่องความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มอาเซียน คือ ASEAN IP Portal เป้าหมายจัดทำเว็บไซต์ ASEAN IP Portal เป็นศูนย์กลางข้อมูล เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งไทยเป็นประเทศผู้นำกิจกรรมในเรื่องนี้ คาดว่าจะสามารถเปิดให้ประชาชนเข้าสืบค้นข้อมูลได้ภายในกลางปี 2556

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-4seminar.php– ( 1192 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− two = 3

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>