วันนี้(13มี.ค.57)ผลการศึกษาของนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยซัสเส็กซ์ และศูนย์ดูแลช้างแอมโบเซลี ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ ปฏิกิริยาตอบสนองของช้างในเคนยา เมื่อได้ยินเสียงมนุษย์จากหลากหลายเผ่า พันธุ์ แล้วดูว่ามันมีปฏิกิริยาตอบอย่างไร พบว่า ช้างสามารถแยกแยะเสียงของ มนุษย์ได้ว่า คนคนนั้นเป็นภัยคุกคามต่อมันหรือไม่ โดยแยกแยะน้ำเสียงได้ทั้ง อายุ เพศ และเชื้อชาติ อย่างเช่นเมื่อเปิดเสียงของชนเผ่ามาไซ ชนเผ่า แอฟริกันตะวันออก ซึ่งเป็นชนเผ่าที่ล่าช้างมานานหลายศตวรรษให้ช้างได้ ฟัง ปรากฏว่าพวกมันมีปฏิกิริยาที่ตื่นกลัวและพยายามรวมกลุ่มกันเพื่อปกป้อง พื้นที่ของตัวเอง ในขณะที่เปิดเสียงของชนเผ่าอื่นๆ ให้ฟัง ช้างกลับไม่ รู้สึกตื่นกลัวเหมือนกับเสียงของชาวมาไซ อย่างไรก็ตาม ช้างยังสามารถแยกแยะได้มากกว่านั้น เช่นเสียงของชนเผ่ามาไซที่ เป็นผู้หญิง หรือเด็กผู้ชาย มันจะรู้สึกได้ถึงภัยคุกคามที่น้อยลง เมื่อ เทียบกับเสียงของผู้ชายมาไซทั้ง นี้ ผลการวิจัยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่พิสูจน์ได้ว่า ช้างสามารถแยกแยะ เสียงที่ต่างกันของมนุษย์ได้ และทำให้เชื่อว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่มีสามารถ หลบหลีกนักล่าได้อาจจะมีการพัฒนาทักษะในการฟังเช่นเดียวกัน รายการอ้างอิง : ช้างแยกแยะอันตรายจากเสียงของมนุษย์ได้. (2557). TNN24 (วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี). วันที่ 16 มีนาคม 2557. จาก http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=24980&t=news.– ( 5 Views)

สวทช.ผลักดันวิทยาศาสตร์เคลื่อนศก.ไทย
วันนี้(12มี.ค.57)ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สวทช.ได้จัดประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี โดยเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีองค์ความรู้ และการวิจัยพัฒนาของ สวทช.และเครือข่าย ที่มีศักยภาพให้ประเทศไทยแข็งแกร่งพร้อมพัฒนาสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนให้ภาคเอกชน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ พร้อมเป็นการผลักดันให้เกิดระบบการวิจัยของประเทศที่เข้มแข็งขึ้น ทั้งนี้ งาน NAC 2014 จัดขึ้นในวันที่ 31 มี.ค. – 3 เม.ย.นี้ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ภายใต้แนวคิด วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี : พลังขับเคลื่อนการพีฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นเวทีให้กับนักวิจัย เผยแพร่ข้อมูลความรู้และผลงานวิจัยถึงความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ อาทิ เทคโนโลยีเล่านิทาน 3 มิติ ระบบนำส่งเซลล์มีชีวิต ยางล้อประหยัดรถยนตร์ นอกจากนี้ ยังมีการสัมนาวิชาการ ในหัวข้อการเดินทางสู่อวกาศไทย จากวิศวกรดาวเทียมหญิงไทยคนแรกที่เดินทางสู่อวกาศ และมหกรรมรับสมัครงานกว่า 2000 อัตรา ในสาขานักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ด้านนางสาวพัชรี แขมโครต โปรดิวเซอร์ บริษัทซอฟต์บิส จำกัด 1ในบริษัทที่นำผลงานมาแสดงภายในงาน เปิดเผยถึง

เพิ่มอาหารกากใยคู่ออกกำลังกายห่างไกลมะเร็งลำไส้
ทุกข์ของสาว ๆ มีมากมายหลายด้าน สำหรับสาว ๆ ออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่กับโต๊ะทำงานทั้งวัน การกินที่ง่าย ๆ เร็ว ๆ ในชั่วโมงที่เร่งรีบเพื่อทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลาของเจ้านายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำ เช้าแซนด์วิชจากร้านสะดวกซื้อ กลางวันไก่ทอดข้าวเหนียวป้าหน้าออฟฟิศ บ่ายขนมกรุบกรอบ เย็นตามด้วยพิซซ่า 1 ถาดกับเพื่อนสาวในออฟฟิศ จึงมีผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงเป็นอันดับ 5 รองจากมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งปอด นพ.อิทธิชัย วัชรีคุปต์ แพทย์สาขาอายุรกรรมทั่วไป คลินิกเครือรพ.กล้วยน้ำไท กล่าวว่า พฤติกรรมการรับประทานฟาสต์ฟู้ดที่เรามักคิดไปว่า “สะดวก ง่าย รวดเร็ว” เป็นอาหารที่มีกากใยน้อย ไขมันสูง ยิ่งกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกาย และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ พบประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคดังกล่าว, เคยมีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็งรังไข่ ปากมดลูก, เคยมีติ่งเนื้อชนิดโพลิปส์ในลำไส้ใหญ่, เคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ, สูบบุหรี่เป็นประจำ หรืออ้วน จะยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่– ( 10 Views)

สวทช.เปิดระบบยื่นใบรับรองเว้นภาษีวิจัยออนไลน์
วันนี้(14 มีนาคม)ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช. ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ร่วมกับ กรมสรรพากร และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( สรอ. ) จัดงานแถลง ข่าว “เปิดตัวระบบ RDC Online” ให้บริการยื่นขอรับรองโครงการวิจัยฯ ยกเว้นภาษี 200% ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ง่ายต่อการตรวจสอบและติดตามผลพร้อมรองรับการ เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวว่า เนื่องจากผู้ประกอบการภาคเอกชนมีความตื่นตัวของการทำงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น โดยข้อมูลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ในปีงบประมาณ 2554-2556) มีมูลค่า โครงการที่ได้รับการพิจารณารับรองเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจากปีงบประมาณ 2552 สวทช. จึงร่วมกับ กรมสรรพากร และ สรอ. พัฒนาระบบสนับสนุนการดำเนินงานรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ของผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่เรียกว่า “ระบบ RDC Online”

สวทช.โชว์นวัตกรรมใหม่สื่อโฆษณาบนล้อมอเตอร์ไซต์
วันนี้(12 มีนาคม)ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยรังสิต ปทุมธานี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) แถลงข่าวการจัดงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ประจำปี 2557 หรืองานแนค 2014(NSTDA Annual Conference 2014 : NAC 2014) โดย ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. เปิดเผยว่า สวทช.จัด งานประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี โดยเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีที่เกิดจากองค์ความรู้และการวิจัยพัฒนาของ สวทช.และเครือข่ายที่มีศักยภาพ ในการช่วยผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและพร้อมพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน สำหรับงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: พลังขับเคลื่อน การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งนอกจากจะมีเวทีสัมมนาวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้รวมถึงแนวคิดในการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนแล้วยังมีนิทรรศการการนำเสนอผลงานของนักวิจัยของ สวทช. จาก 4ศูนย์แห่งชาติ รวมถึงผลงานนวัตกรรมจากภาคเอกชนทั้งในส่วนของผู้ประกอบการหน้าใหม่และบริษัทพื้นที่เช่าในอุทยาน วิทยาศาสตร์ประเทศไทย และพันธมิตรต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะได้– ( 21 Views)

ไทย-ญี่ปุ่นผนึกการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว
สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเศรษฐกิจ กทม. 11 มี.ค.2557 – ไทย-ญี่ปุ่นผนึกการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว เผยผลประชุมศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น หนุนสร้างพันธมิตรธุรกิจ-เชื่อมฐานข้อมูลเบ็ดเสร็จ ทำหนังสั้นหนุนร้านอาหารไทยซีเล็คท์ ผู้ส่งออกลุยงานแฟร์อาหารใหญ่สุดในเอเชีย นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปประชุมคณะกรรมการศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (เอเจซี) เพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงาน แผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ในปีงบประมาณ 2557 (1 เมษายน 2557-31 มีนาคม 2558) ปีนี้รัฐบาลญี่ปุ่นโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (มิติ) ได้ประกาศให้เงินสนับสนุนพิเศษเพิ่มเติมแก่เอเจซีจำนวน 130 ล้านเยน (ประมาณ 43 ล้านบาท) เพื่อให้เอเจซีนำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรม 2 ด้าน – ( 32 Views)

2 งานวิจัยเพื่อเกษตรกร
งานวิจัยจาก สวทช.ภาคเหนือ ที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับ ภาคเอกชนที่ต้องการจะผลิตอาหารเสริมสำหรับจำหน่ายให้กับเกษตรกร งานวิจัยชิ้นแรก โดย ดร.ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา โครงการอาหารหมักจากเศษเหลือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารสำหรับโค เป็นการผลิตอาหารหมักจากเศษเหลือข้าวโพดซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายและมีราคา ถูกในท้องถิ่นจังหวัดพะเยา โดยสามารถผลิตเป็นอาหารสัตว์โปรตีนสูง คือ อาหารหมัก (Silage) ที่ต้นทุนต่ำลง และสามารถทดแทนหญ้าสดในฤดูแล้ง จุดเด่นก็คือการใช้ประโยชน์จากข้าวโพดที่เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และลดปัญหาการเผา ได้อาหารหมักคุณภาพดีสำหรับการเลี้ยงโคเนื้อ, โคนม เศษเหลือจากข้าวโพดมีปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้น จากเดิมต่ำกว่า 2.0 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 4-10 เปอร์เซ็นต์ ช่วยลดต้นทุนค่าอาหาร 40-50 บาท/ตัว/วัน สำหรับ ผู้สนใจ หน่วยงานเอกชน สามารถเข้าไปรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำไปผลิตอาหารหมักจำหน่ายได้ โปรตีน ก้อน อาหารเสริมโปรตีนทดแทนอาหารข้นสำหรับการเลี้ยงโค นักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.โชค โสรัจกุล คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา โปรตีนอาหารสัตว์มีราคาแพง ดังนั้น การเสริมโปรตีนก้อนจะสามารถช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ได้ เกษตรกรยังสามารถผลิตได้เอง มีขั้นตอนและส่วนผสมที่ไม่ซับซ้อน จุดเด่นโปรตีนก้อน (Protein Block)

ยุทธศาสตร์สร้าง’คนไอที’ติวเข้มบัณฑิตสายพันธุ์ใหม่
ประเทศไทย รวมถึงหลายประเทศในอาเซียนมีความต้องการบุคลากรด้านไอซีทีจำนวนมาก และปัจจุบันต้องยอมรับว่ายัง “ขาดแคลน” อยู่ ทำให้สถาบันการศึกษาต้องเร่งผลิตบัณฑิตในสายอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการอุตสาหกรรม ส่งเสริมการแข่งขัน และพัฒนาประเทศให้โดดเด่นในเวทีระดับโลก ขณะที่เมื่อเร็วๆ นี้ “สวทช.” ได้ดึง 6 พันธมิตร ที่มีทั้งสถาบันการศึกษา บริษัทไอทีระดับโลก รวมถึงหน่วยงานพัฒนาเทคโนโลยี เร่งแผนจัดอบรมผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีคลาวด์รุ่น 2 เพื่อดันไทยขึ้นแท่นผู้นำบริการไอทีภูมิภาคอาเซียน โดยชี้ว่าไทยยังมีจุดอ่อน คือ ขาดแคลนบุคลากร และยังคงรั้งประเทศอันดับ 3 ที่นักลงทุนเลือก – ( 85 Views)

เทียบชั้น R&D อาเซียน อาวุธลับสู้แข่งขันดุ
การวิจัยและพัฒนา หรือ อาร์แอนด์ดี คืออาวุธสำคัญสำหรับประเทศในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการค้ายุคใหม่ ซึ่งเมื่อหันมาดูพบว่าการลงทุนด้านนี้ของไทยยังอยู่ในระดับต่ำมาก ข้อมูลของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า เมื่อเทียบในกลุ่มอาเซียน ไทยมีการลงทุนด้านอาร์แอนด์ดีอยู่ในอันดับ3 หรือมีมูลค่าเท่ากับ 0.37% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 10 ล้านล้านบาท ส่วนประเทศที่ลงทุนด้านนี้มากที่สุดคือสิงคโปร์ที่ใช้งบประมาณไป 2.8% ของจีดีพี และอันดับ 2 คือ มาเลเซีย 1.8-1.9% ของจีดีพี แม้ว่าประเทศไทยยังลงทุนด้านอาร์แอนด์ดีน้อยแต่ก็น่าสนใจว่ามีแนวโน้มเพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆจนมาอยู่ในระดับดังกล่าวในปัจจุบัน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ให้ข้อมูลว่า การลงทุนวิจัยของไทยที่เพิ่มขึ้นมาจากภาคเอกชน ที่มียอดลงทุนเพิ่มจาก 1 หมื่นล้านบาทในปี2555 เป็น 2.06 หมื่นล้านบาทในปี 2556 ส่วนภาครัฐมีงบวิจัยประมาณ 2.02 หมื่นล้านบาท โดยสัดส่วนการลงทุนอาร์แอนด์ดีในปี 2556 อยู่ที่ภาคเอกชน 51% และภาครัฐ 49%จากที่ในปี 2555 ภาครัฐมีสัดส่วน 55% และภาคเอกชน 45%–

‘วิทยาศาสตร์สู่ท้องถิ่นทุรกันดาร’สร้างเครือข่ายสุขอนามัย…ส่งเสริมความรู้
การแปรรูปนมเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มนมของสามเณรที่ไม่ชอบให้ได้รับสารอาหารในน้ำนมโดยแปรรูปเป็นโยเกิร์ต ส่งเสริมโภชนาการและสุขอนามัยของสามเณร โรงเรียนร้องแหย่วิทยาคม จ.แพร่ เป็นหนึ่งในตัวอย่างโครงงานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โครงการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงงานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าว นอกจากครูและสามเณรนักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันก่อเกิดการพัฒนาด้านวิชาการ ในองค์ความรู้ที่ได้รับรวมถึงประสบการณ์จากการทำงานวิทยาศาสตร์ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขอนามัย แก้ปัญหาด้านโภชนาการและสุขอนามัยของสามเณรนักเรียนในโรงเรียนได้ อีกทั้งใน โครงการฯ ซึ่งมีโครงงานวิทยาศาสตร์หลายด้านทั้งสิ่งแวดล้อม ด้านอาชีพ วัฒนธรรม ยังเกิดการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน วัด ชุมชน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ– ( 35 Views)