magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "NSTDA" (Page 2)
formats

นักวิทย์เห็นโอกาสทองตลาดหุ้นเล็งระดมทุนปั้นธุรกิจร้อยล้าน

‘สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ควรรู้คือ วิธีที่ทำให้งานทดลอง กลายเป็นธุรกิจจริงๆ’ 5ปีที่แล้ว “สิทธิชัย แดงประเสริฐ” “พิษณุ แดงประเสริฐ” และ  “พิชชากานต์ พิทยกรพิสุทธิ”3 นักวิทยาศาสตร์ ตัดสินใจวางเดิมพันใน “บริษัท ซีดีไอพี จำกัด” หรือ CDIP  เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ยา และ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องแบบครบวงจร ด้วยเงิน ลงทุนเริ่มต้น 1.3 ล้านบาทและนักวิทยาศาสตร์ 1 คน เรียกได้ว่าเป็นการเริ่มต้นธุรกิจด้วยสูตร “วัดดวง” “พิษณุ แดงประเสริฐ” หนึ่งในผู้บริหารบริษัท ซีดีไอพี เล่าว่า เขาและสิทธิชัยคุ้นเคย ธุรกิจยาอยู่แล้ว เพราะเป็นธุรกิจที่ครอบครัวเขาคลุกคลีมาโดยตลอด เมื่อเขาและคู่แฝดจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านไบโอเทคโนโลยีก็มาสานต่อธุรกิจของครอบครัว ด้วยการทำธุรกิจรับจ้างผลิตยา ภายใต้บริษัท ค๊อกซ์ แล็บบอราทอรี่ส์ เมื่อค๊อกซ์ฯ เริ่มเปิดดำเนินการ ก็พบกับวิกฤติอุตสาหกรรมยาที่ปรับลดลง เพราะนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ทำให้ราคายาปรับตัวลดลงอย่างมี นัยสำคัญ– ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ถอดรหัส ‘ร่มบ่อสร้าง ‘ สู่เออีซีเคลือบนาโน-คาร์บอนฟุตพรินต์

เมื่อปี 2540 หากยังจำได้ “ร่มสันกำแพง”งานหัตถกรรมพื้นบ้านแทบจะหายไปจากเชียงใหม่เลยทีเดียว  สาเหตุมีหลายประการ เช่น การทำร่มในอาเซี่ยนหลายชาติก็ทำได้  พม่าก็มี ลาวก็มี จีนก็มี แล้วเราต่างจากที่อื่น ๆ ตรงไหน จน นส.กัณณิกา บัวจีน กรรมการ ผู้จัดการ ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม ตำบลต้นเปา สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ถอดใจแล้วว่า เราจะดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างไร “ก็ต้องมาคิดใหม่” โดยเฉพาะการ กระโดดเข้าสู่เออีซี โมเดลของร่มบ่อสร้างที่ น.ส. กัณณิกา บัวจีน ให้สัมภาษณ์ สรุปได้ว่า ตลาดมีความต้องการผลิตภัณฑ์ของร่มบ่อสร้าง ตลาดต้องการงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ และตลาดต้องการงานที่เข้ากับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วรรณเพ็ญ’สาวน้อยไทยหัวใจ’โรบ็อต’

วรรณเพ็ญ แซ่เปี่ยน หรือน้องฟาง สาวน้อยมหัศจรรย์วัย 24 ปี พ่วงดีกรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาไฟฟ้า จากรั้วสีชมพู จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มาพร้อมกับแนวคิดสุดน่าทึ่งคือ อยากเห็นโอกาสการเติบโตในอนาคตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ประเทศไทยที่เป็นแรง บันดาลใจให้สาวน้อยคนเก่ง หันมาพุ่งความสนใจพัฒนาหุ่นยนต์ฝีมือคนไทยในเชิงธุรกิจภายใต้ชื่อ”แมสคอต โรบ็อต” เธอเล่าว่า แนวคิดธุรกิจดังกล่าวถูกต่อยอดมาจาก เมื่อครั้งที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่โดยรวมกลุ่มเป็นทีมกับเพื่อนๆส่งผลงานเข้า ประกวดหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ซึ่งในครั้งนั้นถือว่าสร้างประสบการณ์ครั้งสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ ในรูปแบบเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน พร้อมกับได้กลุ่มเพื่อนๆที่มีความเชี่ยวชาญกันคนละด้านมาลงขันเปิดธุรกิจ เพื่อสร้างฝันเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตร่วมกัน สำหรับไอเดียการพัฒนาหุ่นยนต์ “แมสคอต โรบ็อต นั้น” มาจากการเห็นปัญหาของผู้สวมใส่ชุดสัตว์สัญลักษณ์ นำโชค หรือแมสคอต ที่มาออกกิจกรรมการตลาด (อีเวนต์) ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกสถานที่ และมักพบข้อจำกัดในการสวมใส่ชุดแมสคอต ซึ่งสวม ได้ไม่นานก็จะต้องถอดออกเพื่อให้ผู้สวมใส่ข้างในที่เป็น”คนจริงๆ” ได้พักสูดอากาศหายใจด้วยข้อจำกัดนี้จะทำให้ “แมสคอต” ขาดความ ต่อเนื่องในการช่วยสร้างสีสันและความสนุกให้ในแต่ละ งานอีเวนต์– ( 32 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ซิสโก้เพิ่มทีมลุยตลาดภาครัฐมั่นใจชะลอลงทุนแค่ระยะสั้น

“ซิสโก้” มองตลาดไทยบวก แม้วิกฤตการเมืองกระทบลงทุนไอที เชื่อแค่ระยะสั้น เดินหน้าเพิ่มฝ่ายขายและวิศวกรวางแผนเจาะลูกค้าภาครัฐ ขณะที่ภาคธุรกิจเดินหน้า “3G-4G และทีวีดิจิทัล”กระตุ้นการลงทุนโครงข่าย นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน เปิดเผยว่า ซิสโก้ยังมองการลงทุนในไทยเป็นบวก แม้สถานการณ์การเมืองขณะนี้จะทำให้การลงทุนภาครัฐหยุดชะงัก และเอกชนส่วนใหญ่ชะลอลงทุนไปอีก 3 เดือน  เพื่อรอดูสถานการณ์และความต้องการของตลาดให้ชัดเจนก่อน แต่บริษัทรับพนักงานเพิ่มทั้งทีมขายและวิศวกรเพื่อเตรียมเจาะตลาดภาครัฐ จากผลสำรวจล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พบว่าปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีคนใช้บรอดแบนด์อยู่ที่ 4.72 ล้านราย และมีอัตราการเพิ่มต่อครัวเรือนอยู่ที่ 23.63% จาก 22 ล้านครัวเรือนช้ากว่าประเทศอื่น– ( 15 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โครงการ “การพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขันใน AEC”.

Published on March 10, 2014 by in NSTDA

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) สวทช. ขอเชิญผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สมัครเข้าร่วมโครงการ “การพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขันใน AEC” ในหัวข้อ “การยกระดับมาตรฐานการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สู่ตลาด AEC” เพื่อให้ความรู้ด้านการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต วันที่ 24-25 มีนาคม 2557 ณ โรงแรมเซนทรา เซ็นทรัล สเตชั่น กรุงเทพฯ ลงทะเบียนออนไลน์ที่ http://goo.gl/nLev4L ดูรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่ http://www.decc.or.th/content.php?id=294 สอบถามรายละเอียด โทร. 0-2564-6310 ต่อ 117 อี-เมล์ marketing@decc.or.th รายการอ้างอิง : โครงการ “การพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขันใน AEC”. (2557).  ฐานเศรษฐกิจ (Events&Seminars).  ฉบับวันที่ 09 มีนาคม, หน้า 46.– ( 18 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี” ตัวจริง

น้องๆที่ได้รับรางวัลและได้รับทุน “Business Start up Funds” จากโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปี 2 ที่จัดโดย กลุ่มบริษัทสามารถ และสวทช. ได้แก่ผลงานSuper Quadrotor อากาศยานไร้คนขับ ผลงาน Smart NFC โทรศัพท์อัจฉริยะ ผลงานLookME พาหนะอัจฉริยะสารพัดประโยชน์ และ ผลงาน Localalike เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่น ประสบความสำเร็จไปอีกขั้นกับการเตรียมพร้อมเป็นเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีตัวจริง จากการเปิดบริษัทและนำผลงานออกสู่ตลาดได้จริงแล้ว โดยการสนับสนุนทั้งความรู้และโอกาสในการจับคู่ทางธุรกิจจากโครงการฯ …พร้อมเชิญชวนเข้าร่วมประกวดโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปี 3 ซึ่งเปิดรับสมัครแล้วถึงเดือนมีนาคมนี้ ที่ www.nstda.or.th/bic/ หรือ www.samartsia.com รายการอ้างอิง : “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี” ตัวจริง. (2557). แนวหน้า. ฉบับวันที่ 08 มีนาคมม, หน้า 11.– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘เดอะกอริลล่า’รุกขายผ่านเซเว่นฯ

นายวรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จี สปีชี่ส์ จำกัด บริษัทผู้พัฒนาและผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เจลสูดดมสุดเทรนด์แบรนด์เดอะ กอริลล่า (The Gorilla) เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทได้ทดลองขายผลิตภัณฑ์เจลสูดดมสุดเทรนด์แบรนด์ เดอะ กอริลล่า ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย และการออกบูธเพื่อเจาะขายยังกลุ่มผู้บริโภคโดยตรง ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากตลาดดีเกินคาด ทำให้บริษัททุ่บงบประมาณเพื่อมุ่งขยายธุรกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยได้ขยายทั้งด้านกำลังการผลิตรวมถึงการแสวงหาช่องทางการขายใหม่ๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น “ความโดดเด่นของเจลสูดดมสุดเทรนด์แบรนด์ เดอะ กอริลล่า คือความแตกต่างที่นำสารสกัดแคปไซซินจากธรรมชาติที่ได้จากพริกพิโรธ หนึ่งในพริกสายพันธุ์ที่เผ็ดที่สุดในโลกที่ได้ค้นคว้าและวิจัยร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะให้ความหอมสดชื่นที่แตกต่าง และเป็นที่ชื่นชอบของคนไทยมาก ดังจะเห็นได้จากยอดขายที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้ เราต้องการสร้างการเติบโตให้ได้ไม่น้อยกว่า 10 เท่า”– ( 9 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เด็กไทยขึ้นเที่ยวบิน ไร้น้ำหนัก

การปลูกพืชในอวกาศ นับเป็นโจทย์วิจัยอันท้าทายที่องค์กรวิจัยด้านอวกาศทั่วโลกให้ความสนใจอย่างมาก ล่าสุด 4 เยาวชนไทย สร้างอุปกรณ์ติดตามการเคลื่อนที่ของคลอโรพลาสต์เพื่อลำเลียงสารอาหารในสาหร่ายหางกระรอกบนเที่ยวบินไรน้ำหนัก ข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับการปลูกพืชในอวกาศ ณ เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ The Student Zero-gravity Flight Experiment Contest พร้อมกันนี้ยังได้รับโอกาสพิเศษพบ ดร.โมริ มาโมรุ นักบินอวกาศคนแรกของประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งเยี่ยมชมศูนย์พัฒนาดาวเทียมขนาดเล็ก UNIFORM Project ของมหาวิทยาลัยวาเซดะด้วย ดร.สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการการวิจัย สวทช. กล่าวว่า โครงการ The Student Zero-gravity Flight Experiment Contest จัดขึ้นเป็นปีที่ 8 แล้ว ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) หรือแจ๊กซา เพื่อกระตุ้นความสนใจและเพิ่มพูนศักยภาพของเยาวชนไทยในการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ– ( 64 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวทช.ดันไทยขึ้นฮับ บริการไอทีอาเซียน

“สวทช.” หวังไทยขึ้นแท่นผู้นำบริการไอทีภูมิภาคอาเซียน ผนึก 6 พันธมิตร เดินเครื่องจัดอบรมผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีคลาวด์รุ่น 2 ชี้ตลาดโตเร็ว แต่ยังมีจุดอ่อนขาดแคลนบุคลากร เผยไทยยังรั้งอันดับ 3 ตัวเลือกนักลงทุน นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพร้อมสามารถเป็นผู้นำด้านบริการไอทีในระดับอาเซียนได้ อย่างไรก็ตาม แม้มีความได้เปรียบในเรื่องของประชากร โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งจีดีพีที่มีอัตราการเติบโตเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค แต่ไทยยังมีจุดอ่อน หนึ่งในนั้น คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ปัจจุบันต้องยอมรับว่าสิงคโปร์เป็นตัวเลือกอันดับแรกของนักลงทุน ส่วนไทยรั้งอันดับ 3 ตามหลังมาเลเซีย ทั้งยังมีคู่แข่งที่น่ากลัวอย่างเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่ไล่ตามมาติดๆ – ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องหยอดข้าว นวัตกรรมท้องถิ่น

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) ภาคเหนือ  จัดงานประชุมประจำปี 2557 และได้ประกาศผลผญาดีศรีล้านนา ประจำปี  2557 ได้แก่นายประเทือง ศรีสุข เกษตรกรทุ่งรวงทอง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ จากผลงานการคิดค้นเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับการปลูกข้าวแบบนาน้ำตม โดยประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทำนาแบบดั้งเดิม เพื่อแก้ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานในการทำนาดำและปัญหาต้นทุนเมล็ดพันธุ์ เครื่องหยอดนี้ช่วยประหยัดต้นทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวถึง 50% และใช้ปุ๋ยในปริมาณลดลงกว่า 30-40%  จากการทำนาหว่านปกติ ทำให้ต้นทุนการทำนาลดลงแต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรดังกล่าวแล้ว ยังมีการพัฒนากลไกของรถเครื่องหยอดข้าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รถมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์หลากหลายมากขึ้น โดยได้ดัดแปลงส่วนประกอบของรถปรับเป็นเครื่องพ่นปุ๋ยน้ำหรือฮอร์โมนให้กับพืชได้ด้วย นายประเทืองจึงเป็นเกษตรกรนักคิดค้นและนักพัฒนาด้านเครื่องจักรกลเกษตร ถือเป็นต้นแบบเกษตรกรที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ที่นำมาประยุกต์ใช้ได้เองอย่างเหมาะสมกับพื้นที่ ก่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการเผยแพร่ออกไปในวงกว้างสู่เกษตรกรทำนาในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย รายการอ้างอิง : เครื่องหยอดข้าว นวัตกรรมท้องถิ่น. (2557). กรุงเทพธุรกิจ (SCIWATCH). ฉบับวันที่ 05 มีนาคม พ.ศ. 2557, หน้า 7.– ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments