magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home NSTDA วรรณเพ็ญ’สาวน้อยไทยหัวใจ’โรบ็อต’
formats

วรรณเพ็ญ’สาวน้อยไทยหัวใจ’โรบ็อต’

วรรณเพ็ญ แซ่เปี่ยน หรือน้องฟาง สาวน้อยมหัศจรรย์วัย 24 ปี พ่วงดีกรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาไฟฟ้า จากรั้วสีชมพู จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มาพร้อมกับแนวคิดสุดน่าทึ่งคือ อยากเห็นโอกาสการเติบโตในอนาคตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ประเทศไทยที่เป็นแรง บันดาลใจให้สาวน้อยคนเก่ง หันมาพุ่งความสนใจพัฒนาหุ่นยนต์ฝีมือคนไทยในเชิงธุรกิจภายใต้ชื่อ”แมสคอต โรบ็อต”

เธอเล่าว่า แนวคิดธุรกิจดังกล่าวถูกต่อยอดมาจาก เมื่อครั้งที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่โดยรวมกลุ่มเป็นทีมกับเพื่อนๆส่งผลงานเข้า ประกวดหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ซึ่งในครั้งนั้นถือว่าสร้างประสบการณ์ครั้งสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ ในรูปแบบเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน พร้อมกับได้กลุ่มเพื่อนๆที่มีความเชี่ยวชาญกันคนละด้านมาลงขันเปิดธุรกิจ เพื่อสร้างฝันเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตร่วมกัน

สำหรับไอเดียการพัฒนาหุ่นยนต์ “แมสคอต โรบ็อต นั้น” มาจากการเห็นปัญหาของผู้สวมใส่ชุดสัตว์สัญลักษณ์ นำโชค หรือแมสคอต ที่มาออกกิจกรรมการตลาด (อีเวนต์) ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกสถานที่ และมักพบข้อจำกัดในการสวมใส่ชุดแมสคอต ซึ่งสวม ได้ไม่นานก็จะต้องถอดออกเพื่อให้ผู้สวมใส่ข้างในที่เป็น”คนจริงๆ” ได้พักสูดอากาศหายใจด้วยข้อจำกัดนี้จะทำให้ “แมสคอต” ขาดความ ต่อเนื่องในการช่วยสร้างสีสันและความสนุกให้ในแต่ละ งานอีเวนต์จากปัญหาดังกล่าวนี่เอง ที่ทำให้เธอและหุ้นส่วนทาง ธุรกิจเห็นเป็นโอกาสในการทำตลาดหุ่นยนต์แมสคอต ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มโปรแกรมหุ่นยนต์แมสคอต โรบ็อต ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอีเวนต์หรือการ ประชาสัมพันธ์จากการออกบูธกิจกรรมการตลาดของเจ้าของ งานต่างๆ ทั่วไป

“เราได้พัฒนาหุ่นยนต์แมสคอต โรบ็อต ขึ้นมา ให้สามารถพูดประชาสัมพันธ์สินค้า หรืองานอีเวนต์ตามข้อมูลที่ได้รับมาจากเจ้าของงาน ซึ่งตัวแมสคอตเองยังสามารถเดินไปมาได้ทั่วงานอีกด้วย หุ่นยนต์ตัวนี้จะเข้ามาช่วยสร้างสีสันให้กับงาน ที่แตกต่างไปจากการใช้แมสคอตปกติทั่วไป” น้องฟาง บอกถึงจุดเด่น

ทว่า ก่อนที่จะนำแมสคอต โรบ็อต มาอยู่ในรูปแบบธุรกิจได้ในปัจจุบันนั้น เธอยกเครดิตให้กับการเข้าร่วมในโครงการ “Samart Innovation Awards” หรือโครงการ เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีที่ส่งเสริมให้เกิดนักคิดนักพัฒนารุ่นใหม่ เพื่อสร้างโอกาสและการต่อยอดทางธุรกิจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการที่ร่วมมือ ระหว่างบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น และ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งจากการเข้าร่วมโครงการในปีที่ ผ่านมานั้น ทำให้ได้ความรู้นำไปพัฒนาสู่การทำตลาดผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีที่จับต้องได้ในโลกแห่งความจริง

สำหรับหุ่นยนต์ต้นแบบที่เธอและทีมงานส่งเข้าประกวด ผ่านโครงการดังกล่าวในปีก่อน ใช้ชื่อว่า”ลุกมี” LookME พาหนะอัจฉริยะสารพัดประโยชน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันมีหลายบริษัทต้องปิดตัวลงไป เนื่องจากไม่สามารถรับภาระค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น และไม่มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอที่จะซื้อระบบอัตโนมัติจากต่างประเทศที่มี ราคาสูงได้

ขณะที่พาหนะอัจฉริยะสารพัดประโยชน์นี้ สามารถรองรับการใช้งานได้หลากหลาย ในราคาที่เอื้อมถึงได้และคุ้มค่าต่อการลงทุน โดยผลิตภัณฑ์ที่ทางทีมพัฒนาขึ้นมาได้มีการทดลองใช้งานในสภาพแวดล้อมจริง จึงสามารถรับประกันได้ว่าคุณภาพไม่ด้อยไปกว่าสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ อย่างแน่นอน หรือจะกล่าวได้อีกทางว่า “ผลิตภัณฑ์ฝีมือคนไทย ราคาถูก คุณภาพพรีเมียม”

ทั้งนี้ ยังได้วางจุดเด่นใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีให้พาหนะ สามารถระบุตำแหน่งและสร้างแผนที่ของสิ่งแวดล้อม ขึ้นแบบ Real Time สามารถสร้าง Path Planning ซึ่งเป็น กระบวนการวางแผนเส้นทางการเคลื่อนที่จากจุดที่อยู่ปัจจุบันไปยังปลายทางได้ อย่างแม่นยำ

รวมถึงระบบประมวลผลที่สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง และ Optimization เส้นทางเพื่อประหยัดเวลาและพลังงานสามารถใช้งานได้ในอุตสาหกรรมหลากหลาย ประเภท เช่น อุตสาหกรรมการผลิตและขนส่ง อุตสาหกรรมภาคบริการ อุตสาหกรรมสื่อโฆษณา อุตสาหกรรมการเกษตร เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าแรงที่มีแนว โน้มสูงขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยรวม สามารถทำงานในพื้นที่เสี่ยงอันตราย หรือยากต่อการเข้าถึงของมนุษย์ได้

อย่างไรก็ตาม ในตอนแรกเธอคิดเพียงแค่ว่าจะพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อนำมาให้บริการเท่านั้นยังไม่ มี “บิซิเนส โมเดล” หรือแผนธุรกิจแต่อย่างใด จากต้นทุนในการผลิตหุ่นยนต์ 1 ตัว อยู่ที่ 1 ล้านบาท ซึ่งจากการนำหลักของการตลาดและธุรกิจ มาปรับใช้ทำให้รู้ว่าหากจะผลิตขึ้นมา เพื่อทำตลาดทันทีเลยนั้นค่อนข้างยากในด้านการขาย แต่หากอยู่ในรูปแบบของการเช่าบริการจะมีความคุ้มค่ามากกว่า ซึ่งปัจจุบันคิดค่าบริการต่อครั้งอยู่ที่ 1-1.5 หมื่นบาทต่อ1 งาน ขึ้นอยู่กับสัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างในแต่ละงานหรือขนาดของสถานที่

สำหรับหลักการทำงานหุ่นยนต์แมสคอต โรบ็อต ดังกล่าว ทีมงานบริษัทได้พัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาจากไฟเบอร์กลาส พร้อมเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์คำสั่งการใช้งานต่างๆ เอาไว้ ทั้งการจดจำแผนที่ภายในการจัดงาน ข้อมูลที่ต้องใช้ เป็นต้น ที่ สามารถนำแฟลตฟอร์มดังกล่าว เข้าไปติดตั้งเพื่อใช้งานและนำชุดแมสคอตชุดสัตว์ต่างๆ อย่าง หมี นก กระต่าย ฯลฯ มาสวมทับเพื่อนำไปใช้งานได้เลยทันทีมาสวมทับเพื่อนำไปใช้งานได้เลยทันที

น้องฟางยังได้ย้อนไปถึงผลงานหุ่นยนต์ที่เธอและเพื่อนๆได้ฝากฝีมือไว้ก่อน หน้านี้คือ หุ่นยนต์พนักงานต้อนรับในร้าน อาหารเอ็มเคสุกี้ ที่สร้างความฮือฮาในวงการร้านอาหารมา แล้ว จนมาถึงหุ่นยนต์รุ่นล่าสุดแมสคอต โรบ็อต ในปัจจุบัน ที่ยังอยู่ระหว่างการเพิ่มลูกเล่นและการใช้งานด้านใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ตามความต้องการของตลาด

โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโรงงานประเภทต่างๆ ที่ในอนาคตอาจต้องมีการนำหุ่นยนต์เข้าไปใช้งานทดแทนแรงงานคน ทั้งเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในชีวิต เช่นเดียวกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ โดยเฉพาะในญี่ปุ่นประเทศต้นแบบด้านการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อเชิงพาณิชย์

พร้อมกล่าวทิ้งท้ายถึงอนาคตอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทย ว่ายังมีทั้งโอกาสและการเติบโตจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมโรงงานที่หุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากใน อนาคตหากได้รับการส่งเสริม โดยเฉพาะด้านทุนอุดหนุนวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนอย่างต่อ เนื่อง

เช่นเดียวกับเธอ ที่ต่อยอดความคิดจากโลกจินตนาการให้ออกมาสู่โลกธุรกิจหุ่นยนต์เพื่องานบริการได้จริง

หุ่นยนต์ตัวนี้จะเข้ามาช่วยสร้างสีสันให้กับงานที่แตกต่างไปจากการใช้แมสคอตปกติทั่วไป

รายการอ้างอิง :

ดวงใจ จิตต์มงคล. (2557). วรรณเพ็ญ’สาวน้อยไทยหัวใจ’โรบ็อต’. โพสต์ทูเดย์ (คมคน).. ฉบับวันที่ 08 มีนาคม, หน้า 10,11.– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


two + 7 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>