ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช.คนแรก

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์

อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 1 ตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2538 [มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง]

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 30 มิถุนายน พ.ศ.2541 [มติคณะรัฐมนตรี]

ประวัติการทำงาน

ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2512) จนได้รับโปรดเกล้าฯเป็นศาสตราจารย์ (2526) และศาสตราจารย์ระดับ 11 (2532) ตามลำดับ ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (2516-8) กับ ศาสตราจารย์พอล บอเยอร์ (ผู้ได้รับรางวัลโนเบล) ได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์เยี่ยม ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก (2533) และ Distinguished Scholar-in-Residence ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (2551) งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานด้านการพัฒนายาต้านมาลาเรีย โดยเฉพาะกลุ่มของยาที่เรียกว่า แอนติโฟเลต และชีวเคมีพื้นฐานของมาลาเรีย

นอกจากนั้นแล้วยังเป็นนักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และที่ปรึกษาอาวุโสของผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผลงานที่สำคัญ คือการค้นพบกลไกของการดื้อยาแอนติโฟเลตของเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของเอ็นไซม์ในเชื้อที่เป็นเป้าหมายของยา ได้ค้นพบโครงสร้างของเอ็นไซม์นี้ ทำให้สามารถออกแบบและสังเคราะห์ยาใหม่ที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อที่ดื้อยาเก่าได้ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 112 เรื่อง เขียนหนังสือและตำรา 11 เรื่อง สิทธิบัตร 3 เรื่อง เป็นผู้มีผลงานเด่นในเรื่องเกี่ยวกับมาลาเรียและนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาชีวเคมี เมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของโลกที่ค้นพบโครงสร้าง 3 มิติของโปรตีนของเชื้อมาลาเรีย ที่มีความสำคัญโดยเป็นเป้าหมายของยาต้านมาลาเรีย[3] และค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและคุณสมบัติหลายประการของเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย และความเกี่ยวโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กับอาการของโรคนี้ทางโลหิตวิทยา ค้นพบเอนไซม์ใหม่และวิถีปฏิกิริยาใหม่ของเชื้อมาลาเรีย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์และใช้สารโฟเลต อันเป็นแนวทางในการพัฒนายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่

Read more

ตู้โทรศัพท์สาขาอัตโนมัติ (PABX)

ปัจจุบันตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติขนาดใหญ่ที่พบในประเทศส่วนใหญ่แล้วนำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนตู้สาขาโทรศัพท์ที่ผลิตในประเทศก็มีขนาดเล็ก และส่วนใหญ่เป็นชนิดอนาล็อก โครงการวิจัยนี้เป็นการสร้างต้นแบบทางอุตสาหกรรมตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติขนาดใหญ่ชนิดดิจิตอล ซึ่งมีโอกาสที่จะผลิตใช้ภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าได้ อนึ่ง โครงการนี้เป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว โดยในปีที่แล้วผลการดำเนินงานส่วนใหญ่ยังคงเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน อันได้แก่ การออกแบบและสร้างต้นแบบวงจรสลับช่องสัญญาณแบบมัลติเพล็กซเชิงเวลา วงจรกำเนิดและรับสัญญาน DTMF วงจรสร้างสัญญาณเสียงชนิดต่าง ๆ วงจรคู่สายในวงจร Power Supply รวมทั้งวงจรควบคุมระบบ สำหรับโครงการในปีนี้จะเป็นการรวมระบบเข้าด้วยกัน รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมที่จะใช้งานบนระบบ PABX นี้

ณัฐวุฒิ ขวัญแก้ว , Natavut Kwankeow . (2538). การพัฒนาสร้างต้นแบบทางอุตสาหกรรมตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติขนาดใหญ่ชนิดดิจิตอล ระยะที่ 2. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

บริการฐานข้อมูลออนไลน์ Dialog และ BRS จากต่างประเทศ

หลังจากที่ดำเนินการก่อตั้งศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี และกำหนดนโยบายบริหารจัดการเป็นเวลา 2 ปี ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (Science and Technology Development Board-STDB) ศูนย์ฯ พร้อมให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ Dialog และ BRS จากต่างประเทศ  บริการฝึกอบรม บริการที่ปรึกษากลยุทธ์การสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ การสืบค้นฐานข้อมูลและการจัดบริการเอกสารเรื่องเต็ม ระยะแรกบริการฟรี ต่อมาคิดค่าบริการแบบไม่มีกำไร โดยสำนักงานตั้งอยู่ที่ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว

ผู้ใช้วันเปิดบริการวันแรก คือ ศาสตราจารย์ ดร.กำจร มนุญปิจุ ท่านแรกที่มาติดต่อด้วยตัวเอง และอาจารย์ดรุณา สมบูรณกุล (AIT) ที่มาใช้บริการผ่านทางโทรสาร

มติคณะรัฐมนตรีแรก ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เห็นชอบตามร่างพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ…. ที่สำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาและแก้ไขเสร็จแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภา
ผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป และให้กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงานเสนอ ร่างพระราชกฤษฎีกามิให้นำพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.
2518 มาใช้บังคับกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มาเพื่อ คณะรัฐมนตรี
พิจารณา และให้ประกาศใช้บังคับพร้อมกัน ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย

Link : https://resolution.soc.go.th/?prep_id=109161

จาก TIAC ก้าวสู่ STKS

จาก TIAC สู่ STKS
Timeline เหตุการณ์/กิจกรรมสำคัญ

  • ปี 1990 (2533) บริการฐานข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ
  • ปี 1991 (2534) บริการเอกสารฉบับเต็ม บริการซื้อสื่อจากต่างประเทศ ห้องสมุดเสมือน
  • ปี 1996 (2539) ห้องสมุดดิจิทัล ฐานข้อมูลสารบัญวารสารออนไลน์ ฐานข้อมูลสารานุกรมไทย Cybertools for Research
  • ปี 1997 (2540) บริการฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย
  • ปี 2002 (2545) APIN-Unesco Asia Pacific Information Network
  • ปี 2003 (2546) Journal Link
  • ปี 2004 (2547) STKC, บริการวารสารอิเล็กทรอนิกส์
  • ปี 2006 (2549) สารสนเทศวิเคราะห์
  • ปี 2008 (2551) เปลี่ยนชื่อจาก TIAC เป็น STKS

เริ่มโครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาลศึกษาต่อต่างประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเร่งการผลิตบุคลากรวิจัย 3 สาขา ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ โลหะวัสดุ และคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์

http://stscholar.nstda.or.th/stscholar/csts/index.php/aboutus/1-2012-03-02-06-43-05

มธ. ตอบจดหมายการขอใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ได้ส่งหนังสือที่ วท 0205/109 ลงวันที่ 5 มกราคม 2532 ถึง อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การขอใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดตั้งนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะต้องใช้เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 200 ไร่ และพิจารณาเห็นว่า ที่ดินของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ.ปทุมธานี มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ตั้งของนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั้น ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม อธิการบดี ได้มีหนังสือที่ ทม 0701/266 ลงวันที่ 16 มกราคม 2532 เห็นควรสนับสนุน แต่จะต้องนำเรื่องเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาในรายละเอียดและอนุมัติก่อน

การขอใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดตั้งนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ที่ วท 0205/109 ลงวันที่ 5 มกราคม 2532 ถึง อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การขอใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดตั้งนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะต้องใช้เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 200 ไร่ และพิจารณาเห็นว่า ที่ดินของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ.ปทุมธานี มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ตั้งของนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี