จัดตั้งศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี

ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี จัดตั้งขึ้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณเงินกู้และเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าโดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 4 ปี เพื่อริเริ่มบริการฐานข้อมูล และข่าวสารสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธุรกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศไทย ในรูปเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน และใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลดต้นทุนสารสนเทศต่างประเทศ จึงเป็นหน่วยงานบริการสารสนเทศแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดบริการเชิงพาณิชย์ที่ไม่หวังผลกำไร สร้างเครือข่ายห้องสมุดและผู้ใช้บริการ สร้างสรรค์บริการและเทคโนโลยีใหม่ บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์จากต่างประเทศ พัฒนาฐานข้อมูลบรรณานุกรมร่วมกับภาคีสมาชิก สามารถสนองความต้องการสารสนเทศและเติมเต็มแก่สังคมสารสนเทศและความรู้ภูมิปัญญาให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง กำหนดเปิดบริการในเดือนมกราคม 2533

เริ่มต้นการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเปิดใช้เครือข่าย “ไทยสาร” เพื่อการบริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

จัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center : NECTEC หรือเนคเทค) ก่อตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2529 โดยในระยะเริ่มต้นมีสถานะเป็นโครงการภายใต้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ชื่อในขณะนั้น)

ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม 2534 เนคเทคได้เปลี่ยนแปลงสถานะเป็นศูนย์แห่งชาติเฉพาะทาง และเปลี่ยนการจัดรูปแบบองค์กรใหม่ เพื่อให้มีความคล่องตัวขึ้นกว่าเดิม ตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 พ.ร.บ. ฉบับนี้ก่อให้เกิดการรวมตัวกันขององค์กรต่างๆ 4 องค์กรที่มีอยู่ขณะนั้น ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Development Board: STDB หรือ กพวท.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ขึ้นเป็นสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Development Agency: NSTDA หรือ สวทช.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ในขณะนั้น)

website : https://www.nectec.or.th/

ที่มา : https://www.nectec.or.th/about/about-history.html

จัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (National Metal and Materials Technology : MTEC) ก่อตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 โดยเป็นโครงการหนึ่งในสำนักงานปลัด กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน (ชื่อในขณะนั้น) และได้รวมเข้าเป็นศูนย์วิจัยแห่งชาติเฉพาะทางในสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2534 โดยภารกิจหลักมุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ

website : https://www.mtec.or.th/

ที่มา : https://www.mtec.or.th/about-mtec/

ประกาศใช้รหัสอักขระภาษาไทยสําหรับคอมพิวเตอร์ (มอก. 620-2529)

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ นี้ ได้ประกาศใช้เป็นครั้งแรกตามมาตรฐานเลขที่ มอก.620-2529 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 102 วันที่ 17 มิถุนายน พุทธศักราช 2529 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดเกี่ยวกับหมายเลขอักขระและชื่ออักขระ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องใช้ในการจดทะเบียนอักขระไทยกับองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน อีกทั้งข้อความบางตอนในมาตรฐานเดิมยังไม่ชัดเจนพอซึ่งอาจทำให้การนำรหัสไปใช้งานไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ จึงแก้ไขปรับปรุงโดยยกเลิกมาตรฐานเดิมและกำหนดมาตรฐานนี้ขึ้นใหม่

ที่มา : https://www.nectec.or.th/it-standards/std620/std620.html

จัดตั้ง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (Biotec)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

ไบโอเทคจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2526 ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ต่อมาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ปี พ.ศ. 2534 ไบโอเทคมีเป้าหมายหลักในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศให้เกิดผลทั้งในเชิงความเป็นเลิศทางวิชาการ (Excellence) และเป็นความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยทั้งในเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาสังคมและชุมชน (Relevance) เพื่อให้เกิดผลกระทบสูง (Impact)

website : https://www.biotec.or.th/

ที่มา : http://www.biotec.or.th/th/index.php/รู้จักไบโอเทค/การจัดตั้งและพันธกิจ