จัดทำสารสนเทศวิเคราะห์ แผนที่ความรู้ และแผนที่สิทธิบัตร

กิจกรรมสารสนเทศวิเคราะห์เป็นกิจกรรมที่จัดทำเพื่อการติดตาม ตรวจสอบข้อมูลสารสนเทศวิชาการ เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพและแนวโน้มของงานวิจัยระดับนานาชาติ ถือเป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย การนำเครื่องมือหรือเทคนิคเหมืองข้อมูล (Data mining) ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวิชาการเหล่านี้ จะทำให้เห็นภาพรวมด้วยการนำเสนอในรูปแบบของภาพ แผนภูมิ กราฟ หรือแผนที่ ทั้งนี้ STKS ได้ทำเทคนิคดังกล่าวมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอในรูปแบบสารสนเทศใหม่ที่เรียกว่าแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) และแผนที่สิทธิบัตร (Patent Mapping) เพื่อสนับสนุนข้อมูลในการตัดสินใจแก่เจ้าของทุนวิจัย นักวิจัย ในการวิจัยต่อยอดต่อไป โดยแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากแหล่งฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ต่างประเทศที่ สวทช. บอกรับและให้บริการ

ดำเนินการบอกรับฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ต่างประเทศ

ดำเนินการบอกรับฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ต่างประเทศ เพื่อบริการวิชาการ สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา สวทช.

โดยเป็นฐานข้อมูลออนไลน์เชิงพาณิชย์ และเครื่องมือสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Research Publication, Patent Document, Global Market Information และ Analytics Tool รวม 11 ฐานข้อมูล

กลุ่มที่ 1 Research Publication ได้แก่ ฐานข้อมูล ScienceDirect, Sopus, Web of Science, SpringerLink, ACS Publications และ IEEE (Proceedings)

กลุ่มที่ 2 Patent Document ได้แก่ ฐานข้อมูล Orbit Intelligence

กลุ่มที่ 3 Global Market Information ได้แก่ ฐานข้อมูล Orbit Insight, Mintel และ Business Online (BOL)

กลุ่มที่ 4 Analytics Tool ได้แก่ ฐานข้อมูล SciVal

 

 

 

บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ และฐานข้อมูลซีดี-รอม ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

TIAC ให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ และฐานข้อมูลซีดี-รอม ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เช่น Dialog (TM), Lexis/Nexis (TM), STN International (TM) และฐานข้อมูลอื่นๆ ที่มีสารสนเทศ ซึ่งนักวิจัย นักศึกษา ผู้บริหาร และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ต้องการใช้ในการทำงาน

การบริการสืบค้นฐานข้อมูลในเชิงพาณิชย์ที่ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยีเสนอมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้บุคลากร สวทช. นักวิจัยของหน่วยงานราชการ และนักศึกษา รวมทั้งภาคเอกชนมีโอกาสสืบค้นสารสนเทศจาก แหล่งสารสนเทศที่กว้างขวาง และทันสมัย

บริการฐานข้อมูลออนไลน์ Dialog และ BRS จากต่างประเทศ

หลังจากที่ดำเนินการก่อตั้งศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี และกำหนดนโยบายบริหารจัดการเป็นเวลา 2 ปี ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (Science and Technology Development Board-STDB) ศูนย์ฯ พร้อมให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ Dialog และ BRS จากต่างประเทศ  บริการฝึกอบรม บริการที่ปรึกษากลยุทธ์การสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ การสืบค้นฐานข้อมูลและการจัดบริการเอกสารเรื่องเต็ม ระยะแรกบริการฟรี ต่อมาคิดค่าบริการแบบไม่มีกำไร โดยสำนักงานตั้งอยู่ที่ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว

ผู้ใช้วันเปิดบริการวันแรก คือ ศาสตราจารย์ ดร.กำจร มนุญปิจุ ท่านแรกที่มาติดต่อด้วยตัวเอง และอาจารย์ดรุณา สมบูรณกุล (AIT) ที่มาใช้บริการผ่านทางโทรสาร