ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. คนที่ 6

ชื่อ-นามสกุล  ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์

ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน [มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง] สำเนาหนังสือแต่งตั้ง

สถานที่ทำงาน  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

การทำงาน

  • ปี 2565 – ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • ปี 2561 – 2565 ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
  • ปี 2556 – 2561 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ปี 2552 – 2556 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ปี 2552 – 2556 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางฟิสิกส์คำนวณและทฤษฎี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์
  • ปี 2549 – 2561 ศาสตราจารย์ประจำสาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ปี 2564 – ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคณะกรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
  • ปี 2559 – ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • ปี 2563 – 2565 กรรมการ ในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.)
  • ปี 2562 – 2565 Vice Chair of PISA Governing Board, OECD
  • ปี 2556 – 2560 นายกสมาคมฟิสิกส์ไทย
  • ปี 2555 – 2559 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • ปี 2555 – 2559 กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
  • ปี 2554 Research Associate ณ Oak Ridge National Laboratory สหรัฐอเมริกา
  • ปี 2549 ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ณ University of California, Santa Barbara สหรัฐอเมริกา
  • ปี 2546 – 2550 Research Associate ณ National Renewable Energy Laboratory สหรัฐอเมริกา
  • ปี 2543 – 2545 Postdoctoral Fellow ณ Xerox Palo Alto Research Center สหรัฐอเมริกา

Read more

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. คนที่ 5

ชื่อ-นามสกุล   ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล

ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 25ุ62 [มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง]

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 [มติคณะรัฐมนตรี]

สถานที่ทำงาน  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

การทำงาน

  • 27 สิงหาคม 2559 – ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ [1], [2]
  • พ.ศ. 2559 – 2560 โฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[2]
  • พ.ศ. 2556 – 26 สิงหาคม 2559 ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
  • พ.ศ. 2546 – 26 สิงหาคม 2559 รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2543 – 2546 ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2540 – 2543 ผู้อำนวยการโครงการระบบคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2536 – 2540 นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

Read more

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. คนที่ 4

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 [มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง]

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 [มติคณะรัฐมนตรี]

ประวัติการทำงาน

รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประมาณ ปี 2526 ได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำสาขาบริหารอุตสาหการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควบกับการดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2537 ได้เข้ารับตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดูแลในส่วนงานพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2539 จนครบวาระ 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2547 และได้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในช่วงต่อมาจนถึง พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ให้ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป โดยได้รับการต่อวาระในปี พ.ศ. 2556 ดร.ทวีศักดิ์ พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Read more

รศ. ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. คนที่ 3

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน

อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 [มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง]

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553 [มติคณะรัฐมนตรี]

ประวัติการทำงาน

รับราชการในตำแหน่งต่างๆ จากหลายหน่วยงาน เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2519 และปี พ.ศ. 2522 ได้รับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และได้รับตำแหน่งบริหาร คือ รองคณบดี (ฝ่ายวิชาการ) ของคณะพลังงานและวัสดุ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อนมารับตำแหน่งที่ สวทช. รศ.ดร.ศักรินทร์ ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Read more

ศ. ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. คนที่ 2

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2544 [มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง]

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 [มติคณะรัฐมนตรี]

ประวัติการทำงาน

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย ผู้บุกเบิกการจัดตั้งสถาบันวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับผู้บุกเบิกท่านอื่นๆ และทำให้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีแบบแผน เป็นระบบ เริ่มรับราชการในปี 2518 เป็นอาจารย์สอนหนังสือและทำวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากลกว่า 30 เรื่องใน Proceedings of the IEEE และ IEEE Transactions/Journals

Read more

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช.คนแรก

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์

อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 1 ตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2538 [มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง]

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 30 มิถุนายน พ.ศ.2541 [มติคณะรัฐมนตรี]

ประวัติการทำงาน

ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2512) จนได้รับโปรดเกล้าฯเป็นศาสตราจารย์ (2526) และศาสตราจารย์ระดับ 11 (2532) ตามลำดับ ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (2516-8) กับ ศาสตราจารย์พอล บอเยอร์ (ผู้ได้รับรางวัลโนเบล) ได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์เยี่ยม ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก (2533) และ Distinguished Scholar-in-Residence ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (2551) งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานด้านการพัฒนายาต้านมาลาเรีย โดยเฉพาะกลุ่มของยาที่เรียกว่า แอนติโฟเลต และชีวเคมีพื้นฐานของมาลาเรีย

นอกจากนั้นแล้วยังเป็นนักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และที่ปรึกษาอาวุโสของผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผลงานที่สำคัญ คือการค้นพบกลไกของการดื้อยาแอนติโฟเลตของเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของเอ็นไซม์ในเชื้อที่เป็นเป้าหมายของยา ได้ค้นพบโครงสร้างของเอ็นไซม์นี้ ทำให้สามารถออกแบบและสังเคราะห์ยาใหม่ที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อที่ดื้อยาเก่าได้ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 112 เรื่อง เขียนหนังสือและตำรา 11 เรื่อง สิทธิบัตร 3 เรื่อง เป็นผู้มีผลงานเด่นในเรื่องเกี่ยวกับมาลาเรียและนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาชีวเคมี เมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของโลกที่ค้นพบโครงสร้าง 3 มิติของโปรตีนของเชื้อมาลาเรีย ที่มีความสำคัญโดยเป็นเป้าหมายของยาต้านมาลาเรีย[3] และค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและคุณสมบัติหลายประการของเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย และความเกี่ยวโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กับอาการของโรคนี้ทางโลหิตวิทยา ค้นพบเอนไซม์ใหม่และวิถีปฏิกิริยาใหม่ของเชื้อมาลาเรีย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์และใช้สารโฟเลต อันเป็นแนวทางในการพัฒนายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่

Read more