ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ และ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2565 ให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิในทางศิลปวิทยา จำนวน 9 ราย ใน 5 สาขา โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) สวทช. ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2565 ในสาขาวิทยาศาสตร์ และ สาขานิติศาสตร์ ตามลำดับ

Read more

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้รับรางวัลเกียรติยศนักเคมีอาวุโส

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลทางการแพทย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พ.ศ.2534–2541) ได้รับรางวัลเกียรติยศนักเคมีอาวุโส จากสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ปี 2564

Read more

มติคณะรัฐมนตรี รับทราบ การจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีวาระเรื่องสำคัญของรัฐบาลเกี่ยวกับการเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคในปี 2546 (กิจกรรมของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอวาระเพื่อทราบสำหรับการจัดประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคในปี 2546 ดังนี้ สืบเนื่องจากการประสานงานกับ ดร.วัชระ พรรณเชษฐ์ ประธานคณะกรรมการจัดประชุม APEC CEO Summit ได้มีการปรับเปลี่ยนครั้งล่าสุดเพื่อความเหมาะสม โดยจะมีการบรรยายในหัวข้อ “The Next Revolution : How will the Coming Convergence of Information, Life Science and Business Change Our Business and Economy?” ในวันที่ 21 ตุลาคม 2546 ระหว่างเวลา 10.00-11.15 น. ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) จะเป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์เปิดงาน ต่อด้วยการบรรยายของ Mr.Christopher Meyer ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “It’s Alive : The Coming Convergence of Information, Biology and Business” หลังจากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค (APEC Center for Technology Foresight) จะเป็นผู้แสดงข้อคิดเห็นในหัวข้อการบรรยายดังกล่าวและให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Life Science และ Foresight

Link : https://resolution.soc.go.th/?prep_id=194797

มติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ แต่งตั้ง นายไพรัช ธัชยพงษ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ

เห็นชอบแต่งตั้ง นายไพรัช ธัชยพงษ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป โดยมีวาระอยู่ในตำแหน่ง 3 ปี และให้นายยงยุทธ ยุทธ
วงศ์ นักวิจัย 4 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทค
โนโลยีแห่งชาติ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เสนอ

Link : https://resolution.soc.go.th/?prep_id=128215

มติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบการแต่งตั้ง นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. ต่อไปอีกเป็นวาระที่ 2

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต่อไปอีกเป็นวาระที่สอง มีกำหนด 3 ปี ตั้งแต่วัน
ที่ 30 กันยายน 2540 เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ

Link : https://resolution.soc.go.th/?prep_id=44180

มติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติคนแรก

ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (นายยงยุทธ ยุทธวงศ์)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการแต่งตั้ง นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2534 เป็นต้นไป ตามที่กระ
ทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานเสนอ

Link : https://resolution.soc.go.th/?prep_id=74861

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช.คนแรก

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์

อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 1 ตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2538 [มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง]

ดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 30 มิถุนายน พ.ศ.2541 [มติคณะรัฐมนตรี]

ประวัติการทำงาน

ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2512) จนได้รับโปรดเกล้าฯเป็นศาสตราจารย์ (2526) และศาสตราจารย์ระดับ 11 (2532) ตามลำดับ ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (2516-8) กับ ศาสตราจารย์พอล บอเยอร์ (ผู้ได้รับรางวัลโนเบล) ได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์เยี่ยม ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก (2533) และ Distinguished Scholar-in-Residence ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (2551) งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานด้านการพัฒนายาต้านมาลาเรีย โดยเฉพาะกลุ่มของยาที่เรียกว่า แอนติโฟเลต และชีวเคมีพื้นฐานของมาลาเรีย

นอกจากนั้นแล้วยังเป็นนักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และที่ปรึกษาอาวุโสของผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผลงานที่สำคัญ คือการค้นพบกลไกของการดื้อยาแอนติโฟเลตของเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของเอ็นไซม์ในเชื้อที่เป็นเป้าหมายของยา ได้ค้นพบโครงสร้างของเอ็นไซม์นี้ ทำให้สามารถออกแบบและสังเคราะห์ยาใหม่ที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อที่ดื้อยาเก่าได้ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 112 เรื่อง เขียนหนังสือและตำรา 11 เรื่อง สิทธิบัตร 3 เรื่อง เป็นผู้มีผลงานเด่นในเรื่องเกี่ยวกับมาลาเรียและนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาชีวเคมี เมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของโลกที่ค้นพบโครงสร้าง 3 มิติของโปรตีนของเชื้อมาลาเรีย ที่มีความสำคัญโดยเป็นเป้าหมายของยาต้านมาลาเรีย[3] และค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและคุณสมบัติหลายประการของเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย และความเกี่ยวโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กับอาการของโรคนี้ทางโลหิตวิทยา ค้นพบเอนไซม์ใหม่และวิถีปฏิกิริยาใหม่ของเชื้อมาลาเรีย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์และใช้สารโฟเลต อันเป็นแนวทางในการพัฒนายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่

Read more