สวทช. ดำเนินงานวิจัยเพื่อสู้ภัยโควิด-19

สวทช. รวบรวมงานวิจัยเพื่อต่อสู้ภัยโรคโควิด (Covid-19)

                  

https://www.nstda.or.th/home/news_post/research-innovation-fight-covid19/

ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว

เทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) คือ เทคนิคที่สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมทั้ง DNA และ RNA ที่อุณหภูมิในช่วง 60-65 องศาเซลเซียส สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมได้ถึง 1000 ล้าน (10 ยกกำลัง 9) เท่า ภายในเวลา 1 ชั่วโมง เทคนิคแลมป์เป็นเทคนิคตรวจหาสารพันธุกรรมของตัวเชื้อ เช่นเดียวกับ เทคนิค PCR และ Realtime-PCR โดย LAMP มีความไวในการตรวจวัด (sensitivity) สูงกว่า PCR และอาจเทียบเท่า Realtime-PCR และเนื่องจาก LAMP มีความจำเพาะ (specificity) กับตัวเชื้อสูง มีขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย และใช้เครื่องมือราคาไม่แพง เทคนิค LAMP จึงถูกนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการตรวจหาเชื้อในผู้ป่วย หรือผู้ที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียอย่างต่อเนื่อง

Read more

จัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC)

ประกาศปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของ สวทช. มีผลบังคับใช้ 1 ตุลาคม 2563 เพิ่ม ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ศล.) เป็นศูนย์แห่งชาติลำดับที่ 5 ตามมติ ครม. และมีคำสั่ง

  • ยุบ กลุ่มวิจัยวัสดุสำหรับพลังงาน ด้านวิจัยและพัฒนาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม ไปสังกัดภายใต้ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
  • โอนย้าย กลุ่มวิจัยวัสดุสำหรับพลังงาน (ตามข้างต้น) จาก ศว. มาสังกัด ศล. ปรับภารกิจและเปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน

ชุดสกัด RNA ของเชื้อไวรัส โดยใช้ Magnetic Bead

16 ก.ค.63 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว  “ความสำเร็จการพัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอของเชื้อโควิด-19 และชุดตรวจโควิด-19 แบบรวดเร็ว ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว (COVID-19 XO-AMP colorimetric detection kit) ” เพื่อประหยัดงบประมาณและลดการนำเข้าชุดสกัดอาร์เอ็นเอ และชุดตรวจจากต่างประเทศ พร้อมด้วยการลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพและการแพทย์ ระหว่าง คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สวทช.

Read more

ระบบบริหารความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์

12 พฤษภาคม 2563 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) เครือข่ายโรงพยาบาล กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดแถลงข่าว “ระบบบริหารความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์สู้ภัยโควิด–19 (Medical Devices Demand-Supply Matching for COVID-19)” แพลตฟอร์มเพื่อการบริจาค การจับคู่ ความต้องการและการบริหารจัดการอุปกรณ์ทางการแพทย์ในภาวะวิกฤตโควิด–19

โดยมี ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คุณพิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมงานแถลงข่าว

Read more

หน้ากากอนามัย Safie Plus

จากปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มุ่งพัฒนาหน้ากากอนามัยที่ป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก สารพิษ และเชื้อโรค ซึ่งเมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ยังสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยเฉพาะในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้ได้พัฒนาหน้ากากอนามัยโดยใช้ 2 เทคโนโลยี ดังนี้

Read more

แอปพลิเคชัน DDC-Care ติดตามประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฯ

สวทช. ร่วมกับ กรมควบคุมโรค สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน DDC-Care โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินสุขภาพผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด -19 ซึ่งจะต้องกักตัวเองอยู่ภายในที่พักอาศัยเป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งกรมควบคุมโรคจะประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลสุขภาพที่ได้จากระบบ เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อมีอาการ ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

Read more

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (EECi-ARIPOLIS for BCG) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 – 2568 (มติ ครม. 21 มกราคม พ.ศ. 2563)

ต้นแบบเปลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบความดันลบ

PETE​ (พีท)​ เปลปกป้อง​ : เปลความดันลบ​ ที่เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด​ ตั้งแต่จุดเคลื่อนย้ายไปจนถึ​งนำเข้าเครื่องเอกซเรย์และซีที​ สแกน​ ได้ทันที​ เพื่อ​ประเมินความเสียหายปอดของผู้ติดเชื้อโควิด​ โดยไม่ต้องนำผู้ป่วยออกจากเปล ช่วยลดการแพร่เชื้อแบบเบ็ดเสร็จ

Read more

Girm Zaber UVC Sterilizer (Station & Robot)

ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) หน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาและทดสอบ นวัตกรรมหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวี หรือ “Germ Saber Robot” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี (UV) สามารถเข้าถึงการฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เฉพาะและจุดเสี่ยงโรคต่างๆ ได้ดี เนื่องจากระหว่างการฆ่าเชื้อโรค พื้นที่เหล่านั้นจะต้องปลอดคน เพราะการใช้แสงยูวีแม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ต้องระมัดระวังหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้

Read more